Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DIP TIME ZONE
•
ติดตาม
4 มิ.ย. 2020 เวลา 12:32 • ปรัชญา
❌อย่าทำตัวขาดเป้าหมายในชีวิต!
การขาดเป้าหมายในชีวิต มันเป็นเรื่องที่แย่มากๆ เพราะคุณเองจะไม่รู้เลยว่า วันต่อๆไปคุณจะทำอะไร ชีวิตเหมือนกับว่าไม่มีจุดหมาย ไม่ชัดเจน. ขนาดชีวิตคุณยังไม่ชัดเจนความรักจะชัดเจนได้อย่างไร
วันนี้ผมจะมาบอกคุณว่าสิ่งที่คุณต้องเริ่มคือ
#1 เลิกผลัดวันประกันพรุ่ง
คุณต้องเริ่ม “ลงมือทำ”การเริ่มต้นทำงานอาจจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับคนที่ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง แต่ถ้าเราสามารถฝืนตัวเองให้เริ่มทำงานได้แล้วล่ะก็ เราก็จะเหมือนถูกสะกดให้ทำงานนั้นต่อไปเรื่อยๆ จนจบ นั่นเพราะว่าสมองของเราจะถูกบังคับด้วยสิ่งที่เรียกว่า Zeigarnik effect (เซกานิกเอฟเฟค) ที่จะช่วยให้เราทำสิ่งที่ริเริ่มมาจนเสร็จสิ้นให้ได้ ดังนั้น วิธีที่จะจัดการกับนิสัยผลัดวันประกันพรุ่งได้ก็คือ ‘ททท.’ ที่ย่อมาจากคำว่า “ทำ ทัน ที” นั่นเอง
และต่อมาแบ่งงานใหญ่ ให้กลายเป็นงานเล็กๆ
บางงานอาจจะง่ายก็จริงแต่ปัญหากลับอยู่ที่การเริ่มต้นทำงาน ที่เรามักจะเลื่อนงานใหญ่ๆ ที่ใช้เวลานานออกไปก่อน เพราะกลัวว่างานนั้นจะแย่งเอาเวลาของเราไปเสียหมด และทำให้ห้องหรือโต๊ะทำงานนั้นรกจนอึดอัดวุ่นวาย อย่างไรก็ดี ยังมีอีกเคล็ดลับหนึ่งที่ได้รับการรับรองทางจิตวิทยาว่าสามารถทำให้เราเลิกกลัวการเริ่มต้นได้ นั่นก็คือ ‘การแบ่งงานใหญ่ๆ ให้กลายเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ หลายขั้นตอน’ ซึ่งการแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ จะสามารถทำให้งานเสร็จได้ง่ายกว่าการทำชิ้นใหญ่ให้เสร็จภายในทีเดียว ดังนั้นวิธีนี้จึงช่วยทำให้เริ่มต้นการทำงานของคุณง่ายมากยิ่งขึ้นไปอีก “ไม่มีปัญหาใหญ่ใดๆ ทั้งนั้น มีเพียงแต่ปัญหาเล็กๆ จำนวนมาก” — เฮนรี่ ฟอร์ด (HENRY FORD) ดังที่ได้กล่าวไปในข้อแรกว่า “การเริ่มต้นลงมือทำ” จะช่วยให้เรามีแรงผลักดันทำงานจนเสร็จได้ และต่อมาข้อสอง “การแบ่งงาน” ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้งานของคุณสำเร็จลุล่วงได้ไวยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายแล้ว เราก็จะมีเวลาว่างมากขึ้นเมื่อเราสามารถขจัดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งเหล่านี้ออกไปได้
#2 เลือกวิธีออมเงินที่เป็นภาคบังคับ
ซึ่งการออมเงินที่เป็นภาคบังคับมีหบายอย่างมาก เช่น ตัดเงินออมผ่านบัญชีธนาคารเป็นประจำ, สะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ในอัตราสูงสุด , หยุดความเสี่ยงด้วยประกันชีวิต, อย่าลืมนำส่งเงินประกันสังคม, คิดถึงอนาคตยามเกษียณบ้างซิ (โว้ย) ประมาณนี้ครับ. เลือกสักวิธีเถอะครับ! เพื่อเป้าหมายของคุณเอง
#3 อย่าลืมเงินออมฉุกเฉินด้วยน้ะ
เงินสำรองฉุกเฉิน ก็คือเงินออมนั่นแหละครับ แต่จุดประสงค์ของมัน ไม่ได้มีไว้เพื่อการลงทุนให้เงินก้อนนี้มีดอกผลงอกเงย แต่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเงินก้อนไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ตกงานไม่มีรายรับเข้ามา หรือเจ็บป่วยกะทันหันครับ ซึ่งเงินสำรองฉุกเฉินนี้ควรเป็น “เงินก้อนแรก” ที่เราควรมี ก่อนที่จะหันไปเริ่มต้นลงทุนอย่างอื่นเลยครับ เงินสำรองฉุกเฉินนั้นควรมีให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของเราต่อเดือนอย่างน้อย 6 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครับ ตัวอย่าง ผมมีค่าใช้จ่ายที่ตายตัวเดือนละ 17,500 บาท มาจาก...
☑ ค่าที่พักอาศัย 4,000 บาท
☑ ค่าน้ำ-ไฟ-อินเตอร์เน็ต 1,000 บาท
☑ ค่าเดินทางไปทำงาน 2,000 บาท
☑ ค่าโทรศัพท์ 500 บาท
☑ เงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 10,000 บาท
เพราะฉะนั้น ผมควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน : 17,500 x 6 = 105,000 บาท ครับ
ทั้งนี้ขอแนะนำนิดนึงนะครับ
แบบนี้ครับ ปกติเราจะแนะนำให้เก็บเงินอย่างน้อย 10% ของราย แต่ถ้าเรานำเงินก้อนนี้ไปเก็บไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน กว่าจะครบตามเป้าก็คงต้องใช้เวลานาน และอาจจะหมดกำลังใจกับการเก็บเงินก่อน ดั้งนั้นแนะนำว่าให้เราเริ่มเก็บเงินสำรองฉุกเฉินด้วยการ แบ่งเงินเก็บ 10% ออกเป็น 2 ก้อน
☑ ก้อนที่ 1 เก็บเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน 5%
☑ ก้อนที่ 2 นำไปลงทุน 5%
ที่นี้เราก็จะมีทั้งเงินสำรองฉุกเฉินและเงินออมเพื่อการลงทุนไปพร้อมๆ กันแล้วครับ หรือถ้าใครเก็บเงินมากกว่า 10% ก็ให้แบ่งเป็น 2 ก้อน เท่า ๆ กันได้ครับ
อธิบาย งงๆ แต่ก็พยามปรับอยู่นะครับ😁
👉 ถ้าคุณชอบบทความดีๆแบบนี้. อย่าลืมกด Like และ กด Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
ช่วงนี้ปรับเวลาอัพบทความ เป็นช่วงเย็นๆนะครับ😅
1 บันทึก
7
11
3
1
7
11
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย