4 มิ.ย. 2020 เวลา 13:06 • ธุรกิจ
ขอคุยเรื่องแม่น้ำโขงสักโพสต์หนึ่ง คือเมื่อวันอังคารนั้นทางกลุ่ม NGO และองค์กรอิสระที่ทำการศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการใช้แม่น้ำโขง และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้แม่น้ำโขง เช่น คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (Mekong River Commission) นั้น
1
ได้ออกมาแถลงการณ์เรียกร้องและคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนสานะคาม เพราะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างที่สูงถึง 2,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องใช้เวลาสร้างเกือบ 10 ปี แต่ขาดความจำเป็นในการใช้งาน (ผลิตไฟฟ้าได้แค่ 684 เมกะวัตต์) ถ้าเฉลี่ยตัวเลขของเวลาก่อสร้างเขื่อนแล้ว เขื่อนนี้จะติดตั้งพลังงานได้แค่ 90 เมกะวัตต์ต่อปีเท่านั้น
ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่ามากๆที่จะสร้างขึ้นมา (แผงโซลาร์เซลล์ที่เวียดนาม เดือนเมษายนถึงกรกภาคมนั้นสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 4,400 เมกะวัตต์ เทียบกับเขื่อนที่จะสร้างในลาวแล้วมากกว่ากันถึง 6 เท่า) ในภาพรวมแล้วการสร้างเขื่อนไฟฟ้าขนาดใหญ่จึมีแต่ความเสี่ยง ทั้งเสี่ยงในด้านการเงิน สร้างเสร็จแล้วก็จะกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าบำรุงรักษาสูง
ไหนจะความเสี่ยงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ระดับน้ำ และการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงไม่เป็นไปตามฤดูกาล ไม่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ดังที่เขื่อนต้นน้ำภายในจีนสร้างปัญหาให้แก่แม่น้ำโขงในทุกๆวันนี้ BBC ก็เพิ่งออกมาทำสกู๊ปแฉจีนไปเมื่อเดือนเมษายนนี้เอง
1
ทาง NGO และฝ่ายประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแม่น้ำโขงจึงออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนในลาว ซึ่งลาวจะร่วมทุนกับบริษัทจีนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าแล้วส่งมาขายให้ไทย ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องซื้อไฟฟ้าใช้งาน เพราะมันสร้างผลเสียและความเสียหายในระยะยาวมากกว่าผลดี ประเทศไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าอะไรมากมาย
2
เนื่องจากตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานไทย ปี 2020 นั้น ไทยมีพลังงานสำรองสูงถึง 40% หรือประมาณเกือบ 20,000 เมกะวัตต์ ถือว่ามากกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักทุกสายรวมกันอีก ในโอกาสนี้ไทยจึงควรลดการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนในแม่น้ำโขงบางส่วนลงได้แล้ว
แล้วหันหน้าไปหาแหล่งพลังงานทางเลือกประเภทอื่นๆแทน เพราะยิ่งเราต้องการไฟฟ้าที่ล้นเกินความจำเป็นมากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลกระทบทางตรงถึงวิถีชีวิตในแม่น้ำโขง และเศรษฐกิจในแม่น้ำโขงมากเท่านั้น การประมงในแม่น้ำโขงนี้เคยมีมูลค่าเกือบ 17,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐนะครับ
** ปีปีนึงชาวประมงตามแม่น้ำโขงนี้จับปลากันได้ไม่ต่ำกว่า 2,000,000 ตัน
ดังนั้นไทยควรพิจารณานโยบายด้านการพลังงาน การแลกเปลี่ยนซื้อขายพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงนโยบายการสนับสนุนเขื่อนในแม่น้ำโขงกันได้แล้ว เพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาวที่จะส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของคนอีสานในไทย และคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับลุ่มน้ำโขง
References
1. บทความจาก The Telegraph ชื่อ "environmentalists urge Laos to scrap 'destructive' Mekong dam plans"
2. บทความจาก Bangkok Post ชื่อ "New Mekong dam in Laos opens to protests, dried-out downstream"
3. บทความจาก Chiang Rai Times ชื่อ "Laos and China Push Ahead with Sixth Mekong River Dam Project"
Cr. Mekong River Commission
โฆษณา