4 มิ.ย. 2020 เวลา 14:04 • การศึกษา
อิทธิพลภาษาไทย ในภาษามลายูถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สวัสดีครับเพื่อนๆชาว Blockdit ที่น่ารักทุกคน
วันนี้ผมมีความรู้แปลกใหม่ที่เพื่อนๆอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งมันเกี่ยวโยงกับภาษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลของภาษาไทย แทรกซึมเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ภาษามลายูในประเทศไทย.
เนื่องจากสามจังหวัดชายแดนใต้มีภาษามลายูเป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ชาวมลายูกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนคาบสมุทรมลายู รวมถึงในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างที่ติดกับประเทศมาเลเซีย
ภาษามลายูในประเทศมาเลเซีย รับอิทธิพลภาษาอังกฤษที่แทรกอยู่ในคำศัพท์ต่างๆ
ภาษาอินโดนีเซีย รับอิทธิพลภาษาดัตท์ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของประเทศเนเธอแลนด์ ภาษาชวาเป็นภาษาส่วนใหญ่บนเกาะชวา ภาษาซุนดา และภาษาชนเผ่าต่างๆ บนหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย
ภาษามลายูถิ่นในประเทศไทย สำเนียงหลักๆจะมี 2 สำเนียง คือ สำเนียงที่เหมือนกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตันของมาเลเซียเป็นสำเนียงที่ใช้ส่วนใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา และ ภาษามลายูถิ่นที่เหมือนกับรัฐเคดะห์ ใช้ส่วนใหญ่ในเขตจังหวัดสตูล.
ภาษามลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากอยู่ภายใต้อาณาจักรไทย ทำให้ภาษาไทยมีอิทธิพลในคำศัพท์บางคำ
#คนสามจังหวัดพูดภาษามลายูถิ่น ไม่ใช่ภาษายาวี เนื่องจาก ยาวี ชื่อตัวอักษรที่เขียนภาษามลายูที่มีรูปแบบคล้ายภาษาอาหรับ
1
วันนี้ผมจะมาแชร์คำศัพท์บางคำที่เคยได้ยินจากเพื่อนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยืมคำศัพท์ภาษาไทย และมีการดัดแปลงเสียงตามการออกเสียงของชาวมลายู.
1. โทรทัศน์ : โทรอทะ, ทีวี
2. โทรศัพท์ : โทรอซะ, เตเลป็อง มาจากภาษาอังกฤษคือ Telephone
3. แบบนี้/อย่างนี้ : แบะนิง
4. ตู้เย็น : ตูเย็ง
5. แอร์/เครื่องปรับอากาศ : แอ
6. ธนาคาร : ทานาคัง
7. โลชั่น : โลชัง, โลชัน
8. รายการ : รายกาง, รายกัง, แรกัง
9. ช่อง : ช็อง
10. ละคร : ละค็อง
11. พระเอก : พระเอะ
12. นางเอก : นางเอะ, นางเอก
ยังมีหลายคำที่ชาวมลายูบางคนใช้ภาษาไทยในแบบฉบับภาษามลายู แต่ไม่ใช่ทุกคนจะใช่คำเหล่านี้ ภาษาทางราชการ คำศัพท์ทางการ ส่วนใหญ่ก็จะใช้ทับศัพท์.
หวังว่าจะเป็นความรู้ใหม่ๆสำหรับผู้อ่านนะครับ ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Thank you so much for your support

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา