6 มิ.ย. 2020 เวลา 09:06 • บันเทิง
รีวิวหนังสือ FEVRE DREAM ผู้แต่ง GEORGE R.R. MARTIN
ปก
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกัปตันแอ็บเนอร์ มาร์ช ที่เป็นชายร่างอ้วน รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ เป็นชาวแม่น้ำในสายเลือด นิสัยหยาบกระด้าง ซึ่งพี่แกเนี่ยกำลังตกที่นั่งลำบาก เพราะเรือกลไฟของพี่แกส่วนใหญ่ถูกฤดูหนาวบดขยี้ไปหลายลำ งงล่ะสิว่าบดได้ไง? มันก็แค่อากาศธรรมดาที่หนาวและหิมะตก แต่เฮ้ ลองจินตนาการถึงเวลาที่เวลาเราแช่น้ำใส่แก้วไว้ในช่องฟรีซ บางครั้งพอมาเปิดอีกทีกลับพบว่าแก้วมันแตก เรือก็เช่นกัน ฤดูหนาวไม่เคยปรานีใคร ทำให้กัปตันแอบเนอร์เรียกได้ว่าแทบสิ้นเนื้อประดาตัว วันดีคืนดี ก็มีชายหนุ่มหน้ามนที่ชื่อว่าโจชัวร์ ยอร์ก เขาเป็นบุรุษปริศนาที่สัญญาว่าจะสร้างเรือที่เร็วที่สุดในแม่น้ำให้แอ็บเนอร์ มาร์ช แลกกับการที่เขาต้องเป็นหุ้นส่วนและห้ามตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมอันแปลกประหลาดของเขา ซึ่งนิสัยของพ่อหนุ่มหน้ามนนี้คือจะออกมาเฉพาะในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะอยู่แต่ในเคบินเท่านั้น ซึ่งกัปตันแอบเนอร์ก็ตอบรับกับข้อเสนอประหลาดๆ ใครจะปฏิเสธเวลาหลังชนฝาได้หล่ะถูกมั้ย?
กัปตันแอ็บเนอร์ พี่แกเนี่ยหายใจเข้าหายใจออกเป็นเรือ พี่แกไม่สนสิ่งอื่นใดเลยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงเอย การพนันเอย รักแท้ของพี่แกก็คือเรือกลไฟฟีเวอร์ดรีมเท่านั้น ซึ่งพี่แกมีความฝันว่าวันหนึ่งจะแข่งเรือเอาชนะเรือเอคลิปส์ที่เป็นเหมือนขาใหญ่ของลุ่มแม่น้ำ ที่ไม่มีเรือกลไฟที่ไหนจะสู้พี่แกได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็ว ความโอ่อ่าอลังการดาวล้านดวง และอัตราการส่งสินค้าที่ทุบสถิติมานักต่อนัก
ฟีเวอร์ดรีมเป็นชื่อของเรือที่สร้างจากเงินของยอร์ก เธอเป็นเรือที่สวยที่สุดในย่านน้ำโอไฮโอ ตามที่กัปตันแอ็บเนอร์คิด ทุกอย่างในเรือมาจากส่วนผสมที่ดีที่สุด คนต่อเรือก็ล้วนเป็นตัวท็อปของวงการที่แอ็บเนอร์ เอาเงินฟาดหัวหามา ถึงแม้ชื่อฟีเวอร์ดรีมจะเป็นชื่อที่คนภายนอกมองว่าเป็นลางร้าย เพราะชื่อดันไปพ้องกับคำว่า Fever Dream ที่เป็นอาการฝันละเมอไข้ ซึ่งชื่อฟีเวอร์ดรีมพี่กัปตันของเราเนี่ยตั้งตามชื่อแม่น้ำของบ้านเกิดพี่แกต่างหาก ที่ตอนปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อไปเป็นแม่น้ำกาลีน่าและมีอยู่จริง ที่พี่กัปตันคิดว่าชื่อมันไม่สวยเลย ถึงกับต้องสบถและด่ากราดหน่วยงานรัฐที่ริอาจมาเปลี่ยนชื่อ
การเดินทางของฟีเวอร์ดรีมมีจุดหมายปลายทางที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ซึ่งเป็นกำหนดเดินทางของยอร์ก การเดินทางในแม่น้ำซึ่งเอาจริงๆเราบอกว่าลุงมาร์ตินหาข้อมูลดีมาก แบบมากๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของกัปตันบนเรือ ต้นเรือ วิศวกร คำนำร่อง ซึ่งเกร็ดเล็ดเกร็ดน้อยที่เรารู้แล้วก็ถึงบางอ้อ แบบเหย คนนำร่องคือคนควบคุมเรือไม่ให้เรือล่ม ไม่ใช่แค่กัปตันที่เป็นบอสสุด ซึ่งหมายความว่าตำแหน่งนี้ไม่รับคำสั่งจากกัปตันถ้าเป็นเรื่องของความปลอดภัยของเรือ คนนำร่องจะบังคับเรือจากประสบการณ์ล้วนๆ ถ้าตรงไหนที่คนนำร่องเห็นว่าไม่สมควรว่าจะไป กัปตันก็ไม่มีสิทธิ์มาสั่งได้ เรียกได้ว่า คำนำร่องต้องเปรียบเสมือนคู่บุญของกัปตัน ที่ต้องอาศัยคนมากประสบการณ์ ที่รู้เรื่องแม่น้ำเป็นอย่างดี แต่เอ๊ะ เดี๋ยวก่อน แม่น้ำก็มีแต่น้ำหนิ ไม่เห็นต้องคำนวณอะไร ซึ่งไม่จริงจ๊ะ! แม่น้ำไม่เคยเหมือนเดิม แม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี น้ำขึ้นน้ำลงในแต่ละวันก็แตกต่างกัน บางจุดมีสันทราย เรือล่ม หินโสโครกนู่นนี่นั่น ที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา และนี่มันยุค 1800 นะ มันไม่มีเครื่องมือทางดิจิตลอดใดๆที่เอามาวัดได้ มันต้องอาศัยประสบการณ์ ความเป็นคนลุ่มแม่น้ำนั้นๆ เท่ากับว่าถ้าล่องเรือไปเจอกับแม่น้ำสายอื่น ก็ต้องเปลี่ยนคนนำร่อง เพราะคนนำร่องเขามีความเชี่ยวชาญเฉพาะสายน้ำและก็ต้องมีใบประกอบอนุญาตด้วยนะเธอ ซึ่งคุณไม่อาจเอาคนนำร่องของแม่น้ำโขงมาเป็นคนนำร่องที่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ ประมาณนี้
ถ้าใครอยากรู้เรื่องต่อจากนี้สามารถเข้าไปอ่านรีวิวฉบับเต็มได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
สรุปคะแนนโดยรวม
ความสนุก 4/5
ภาษา 5/5
ความน่าติดตาม 4/5
ภาพประกอบโดยผู้เขียน
สามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มและบทความอื่นๆได้ที่
โฆษณา