5 มิ.ย. 2020 เวลา 12:19
#ครบเครื่องเรื่อง PE
วันนี้ผมจะพาท่านนักลงทุนมาลงลึกถึง PE ตัวช่วยในการประเมินมูลค่าหุ้น ให้มากขึ้นกันนะครับ
(จะมือใหม่ หรือมือเก๋าก็นำไปใช้ได้จ้า)
PE เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและมีประโยชน์ในการคิดหามูลค่าหุ้น ( valuation )
วิธีคำนวณ ก็ เอาราคาหุ้น (price) หารด้วย กำไรต่อหุ้น(earning per share) ค่าที่ได้ก็จะออกมาว่าเป็นจำนวนกี่เท่า ซึ่งค่านี้บอกว่าต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะคุ้มทุน
กำไรต่อหุ้น คำนวณจาก กำไรหลังหักภาษี หารด้วย จำนวนหุ้น
แม้ว่าค่านี้จะอาศัยข้อมูลในอดีตมาคิด แต่ PE ก็สามารถใช้ forecast EPS มาคิดได้ ซึงก็มีประโยชน์อย่างมากในการคำนวณ valuation
เวลาดู PE ต้องดู 2 อย่างควบคู่กันไป
1. Growth of Earning
2. Quality of Earning
การที่ดูอะไรอย่างเดียว อาจทำให้คำนวณผิดได้ ต้องดูด้วยว่า growth ที่ได้มา มาจากอะไร ไม่ได้มาจากกำไรพิเศษ ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
ปกติ PE ต่ำๆ จะน่าสนใจกว่า PE สูงๆ แต่ก็ไม่เสมอไป มีหลายสถานะการณ์ที่ PE ต่ำๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า หุ้นน่าสนใจหรือหุ้นถูก
สถานะการณ์ที่ทำให้ PE ต่ำ แต่ไม่น่าสนใจ เช่น
1. Uncertainly over a company's prospects for earning
อย่างจะเห็นได้ว่าช่วงนี้หุ้น bank หรือ finance จะมี P/E ต่ำเพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องแผนแม่บท และการควบรวมกิจการ รวมถึงปัญหา NPL ที่อาจจะต้องทำให้บางธนาคารต้องตั้งสำรองเพิ่ม หรือหุ้นประเภทที่ต้องขึ้นกับโชคชะตา ดินฟ้าอากาศ โรคระบาด เช่นหุ้นกลุ่มเกษตรก็เข้าข่ายครับ
2. A highly cyclical sector
อย่างกลุ่มปิโตรเคมีหรือ cyclical อื่นๆ ก็ไม่ควรจะได้ P/E ที่สูงครับ
3. Company serving volatile markets
กลุ่มอิเลคทรอนิกส์และหุ้นส่งออกครับ
4. A sector with overcapacity and weak pricing power
หุ้นประเภทรับจ้างผลิตก็มักจะมี pricing power ต่ำครับ เช่น อิเลคทรอนิกส์ หรือหุ้นที่มีหน้าตาสินค้า
เหมือนๆ กันหมด เช่น พวกหุ้น commodity ทั้งหลาย
5. A sector or company with consistently low returns and not adding economic value
จะเกิดขึ้นเมื่อ ROE มากกว่า cost of equity หรือ ROCE สูงกว่า cost of capital ( WACC ) ดังนั้น sector ไหนที่ ROE ต่ำทั้ง sector ก็จะเข้าข่ายนี้
หากให้ cost of equity ตอนนี้ซัก 10-12% หากหุ้นตัวไหน roe ต่ำกว่านี้ติดต่อกันนานๆ ก็เข้าข่าย หุ้นหลายตัวที่ bv สูงเพราะเก็บเงินสดไว้เยอะๆ ไม่ปันผลมักจะมี ROE ต่ำครับ
6. A mature sector, with little prospect of growth
น่าจะเป็นสิ่งทอนะครับ
7. A company which is ex growth
บริษัทที่เคยเติบโตแบบก้าวกระโดดในอดีต แต่อาจะไม่ได้รับประกันว่าจะเติบโตเช่นเคยอีกในอนาคต
8. Poor management
มีอยู่ให้เห็นเยอะครับ อันนี้คงต้องอาศัยประสบการณ์ในการลงทุนไปเรื่อยๆ ประเภทที่กู้เงินธนาคารหรือเอาเงินที่ควรจะจ่ายปันผลออกไปมาให้บริษัทในเครือกู้ อันนี้ก็ชัดเจน หรือประเภทชอบลงทุนในธุรกิจที่ตนเองไม่ถนัดหรือ diversification ครับ
9. Poor cash generation
อันนี้คงโทษผู้บริหารไม่ได้ทั้งหมดบางที่เป็นธรรมชาติธุรกิจ หุ้นประเภทนี้ก็มักจะ p/E ต่ำ เช่น หุ้นประเภทที่ a/r (account receivable) day สูงกว่า a/p (account payable) day มากๆ หรืออธิบายง่ายๆ คือ ต้องจ่ายเงินค่าวัตถุดิบไปเร็วกว่าที่จะเก็บเงินได้ หุ้นพวกนี้เวลาจะเพิ่มยอดขายทีจะต้องใช้ working capital สูงมากครับ
10. Week balance sheet
เป็นหุ้นที่หนี้มากครับ และอาจจะมีการวางแผนทางการเงินไม่เหมาะสมทำให้เสี่ยงกับการขาดสภาพคล่องทางการเงินครับ
ในทางกลับกัน หุ้นที่มี PE สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นมีราคาแพงเสมอไป
สถานการณ์ที่ทำให้ PE สูง แต่ไมได้หมายความว่าหุ้นแพง เช่น
1. Companies with an excellent growth record and prospects for growth
2. A high-growth sector
3. High confidence in the company's forecasts
เป็นหุ้นที่ขายสินค้าที่ทุกคนต้องใช้และต้องกลับมาซื้อใหม่เรื่อยๆ ทำให้ความผันผวนของกำไรต่ำครับ อย่างหุ้นส่งออกจะไม่เข้าข่ายนี้แน่นอน เพราะว่านักลงทุนอย่างเราคาดการณ์อะไรยาก เพราะเราไม่มีโอกาสเห็นการผลิตและ order ของเค้าครับ
4. Predictable/stable revenues
5. Strong market shares
ก็มักจะเป็นหุ้น blue chip หลายตัวที่มี mkt share อันดับ 1,2 แต่หุ้น small cap หลายตัวก็มี market share อันดับ 1 ใน segment หรือ industry ของตัวเองได้ครับ
6. High barriers to entry
อย่างหุ้นเครือข่ายมือถือหลายตัวก็เข้าข่าย เช่น ais dtac true เพราะการเข้ามาทำได้ยาก เพราะหากจะมีใครเข้ามาใหม่ต้องลงทุนสูงหลายหมื่นล้าน หุ้นพลังงานหลายตัวก็ใช่ เพราะคงไม่มีใครมาแข่งกับ ptt ในธุรกิจท่อก๊าซได้
7. Companies that have strong pricing power
เมืองไทยไม่ค่อยมีหุ้นที่เป็น monopoly โดยธรรมชาติธุรกิจ ถ้านึกออกน่าจะเป็นพวก aot มั้งครับ บางอย่างต้นทุนก็ไม่น่าแพง แต่ก็ขายแพงจังแต่เราก็ยอมกิน อ้อ cpn ก็อาจจะมองว่ามี pricing power ค่อนข้างสูงได้ เพราะทำเลที่ตั้งดีและห้างดีๆ ก็มีไม่มากครับ หรือ LH ก็อาจจะมี pricing power บ้างเพราะสามารถขายบ้านได้แพงกว่าชาวบ้านทั้งๆ ที่ทำเลเดียวกันและเนื้อที่เท่ากันครับ
8. Companies that have high margins and produce excellent ROCE and add value
มีหลายตัวครับ ก็ได้แก่หุ้นที่ ROE สูงทั้งหลาย อันนี้หมายถึงจะต้องมี ROE สูงเฉลี่ยติดกันหลายๆ ปี เพราะหุ้น cyclical จะมี ROE สูงตอนที่ cycle ดีและจะขาดทุนตอน cycle แย่ หากดู ROE ปีเดียวจะได้หุ้น cyclical เข้ามาครับ
9. Strong cash generation
ก็ตรงข้ามกับเมื่อกี้ หุ้นพวกนี้คือหุ้นที่ขายเป็นเงินสดและซื้อสินค้าเป็น credit term ข้อดี คือยิ่งยอดขายเพิ่ม cash flow ยิ่งเพิ่มคือ ไม่ใช้ working capital เลย หุ้นประเภทนี้ได้แก่หุ้นค้าปลีก อย่าง makro, bigc, se-ed, hmpro, 7-11 และหุ้นบางตัวที่มีลูกค้าเป็นคนทั่วๆ ไปอย่างเราๆ และต้องจ่ายเงินสดทันที่ที่ซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น major, egv ครับ
Re-ratings and de-ratings
เมื่อคุณหาหุ้นที่มี PE ต่ำๆได้ ถ้าบริษัทนี้ดูแล้วน่าจะดีกว่า rating ที่มีอยู่ตอนนี้ คุณก็อาจจะปรับ rating ใหม่ขึ้นไปได้เรียกว่า re-ratings เช่น บริษัทตอนนี้มี PE อยู่ เท่ากับ 8 แต่คุณคิดว่าบริษัทนี้ PE น่าจะอยู่ ที่ 10 ก็แสดงว่าราคาหุ้นยังสามารถ upside ได้อีก 25%
แต่คุณก็ต้องมั่นใจในการประเมินของคุณนะครับ
ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิด re-ratings ก็คือผลการดำเนินงานเป็นไปตามที่คาดหวังหรือมากกว่าที่คาดหวัง
เช่นเดียวกัน de-ratings ก็คือการปรับ rating ให้ต่ำลงมาเนื่องจากคิดว่า PE ของบริษัทน่าจะต่ำกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
ข้อดี ของการใช้ PE
1. ง่ายต่อการคำนวณ
2. ใช้กันอย่างแพร่หลาย
3. สามารถใช้ forecast มาคำนวณได้
4. earning เป็นค่าที่วัดในส่วนของผู้ถือหุ้น
ข้อเสียหรือข้อควรระวัง ของการใช้ PE
1. ไม่ได้นำ หนี้มาคำนวณ
2. gearing up/ หรือการซื้อหุ้นคืน ทำให้ earning สูง ทำให้ ตกแต่งค่า PE ได้
3. การนำมาเปรียบเทียบต้องระวัง นโยบายทางบัญชีของบริษัทหรือประเทศที่ต่างกัน
4. ไม่สามารถนำมาใช้ในพวก loss-making early-stage growth หรือ cyclical business
5. ไม่ได้นำ cash generation มาคำนวณ
6. ไมได้นำ investment returns มาคำนวณ
PE relative
คือนำค่า PE ของบริษัทมาเที่ยบกับ PE ของตลาด
เช่น PE ตลาดเท่ากับ 20 PE บริษัทเท่ากับ 15 ก็แสดงว่ามี relative = 75%
แต่ถ้า PE บริษัท เท่ากับ 30 แสดงว่ามี relative = 150%
บริษัทที่มี relative มากกว่า 100 มักจะเป็นบริษัทที่ถูกคิดว่าน่าจะมี growth และ quality ที่ดีกว่า ตลาดโดยรวม
ข้อดีข้อเสีย ของ PE relative ก็เหมือนกับ PE
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ยาวหน่อยแต่คิดว่ามีประโยชน์แน่นอน สุดท้ายหากชอบ ขอให้กด Like,Share และติดตามกันด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดความรู้ใหม่ๆ สำหรับวันนี้ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ :)
อ้างอิง
Analyzing Companies and Valuing Shares
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า ประเทศไทย http://www.thaivi.org
โฆษณา