5 มิ.ย. 2020 เวลา 05:00 • การศึกษา
สวัสดีค่ะทุกคนวันนี้บัสจะพาทุกคนไปทำความรู้จักอาชีพเภสัชกร หรือ “หมอยา” ในมุมมองของบัสกันค่ะ
บทที่ 1 หมอยา(เภสัชกร) หรือหมอ(แพทย์) ต่างกันอย่างไร?
http://thaitribune.org/contents/detail/318?content_id=32666&rand=1529744935
ขอเท้าความก่อนนะคะว่าในประวิติศาตร์ของมนุษย์ ยาเป็นปัจจัยสี่ และเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาทางการแพทย์
ในสมัยก่อน "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น
ดังนั้นในสมัยก่อนแพทย์และเภสัชจึงเป็นคนคนเดียวกัน
ทำไมแพทย์จึงเรียกว่าหมอ และเภสัชจึงเรียกว่าหมอยา?
ตามจริงแล้วเมื่อก่อนเราเรียกหมอว่าหมอแพทย์ค่ะ
“หมอ” แปลว่า ผู้ชำนาญ
“แพทย์” แปลว่า ผู้ตรวจค้นโรคและความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ
“เภสัชกร” แปลว่า แพทย์ปรุงยา หรือผู้ที่มีความเชียวชาญเรื่องยา
ดังนั้น หมอแพทย์ = ผู้ชำนาญด้านการตรวจค้นโรคและความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ
หมอยา(เภสัชกร) = ผู้ชำนาญด้ายยา ทั้งการเตรียมยา การผลิตยา การเลือกสรรยา การจ่ายยา เป็นต้น
ในต่างประเทศหมอและเภสัชต่างคนก็ต่างมีบทบาทหน้าที่ของตัวเอง แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
หมอทำหน้าที่เพียงแค่ตรวจวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยา แต่ไม่มีสิทธิจ่ายยา ส่วนเภสัชทำหน้าที่รับใบสั่งยาจากหมอ ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และจ่ายยาให้กับผู้ป่วย
แต่ในประเทศไทยหมอและเภสัชยังมีความเหลื่อมล้ำกันเล็กน้อยในด้านหน้าที่ คือหมอสามารถจ่ายยาให้กับคนไข้ตามความดูแลของตนได้ กรณีเป็นคลินิกภายนอกโรงพยาบาล และเภสัชสามารถวินิจฉัยโรคเบื้อนต้น และสามารถจ่ายยาได้ตามความเหมาะสม กรณีเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน
ถึงจะมีความเหลื่อมล้ำกันบ้างแต่บัสก็คิดว่ามีข้อดีอยู่นะคะ
เพราะทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการรักษาพยายาลได้ง่ายขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของทางโรงพยาบาลได้ค่ะ
วันนี้พอแค่นี้ก่อน เดี๋ยวจะยาวเกินไป ฮ่าๆๆๆ
ยังไงบัสฝากติดตามด้วยนะคะ ตอนหน้าจะมาพูดถึงบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ค่ะ ☺️
โฆษณา