4 มิ.ย. 2020 เวลา 23:23 • ประวัติศาสตร์
โฌแซ็ฟ-อีญัส กิยอแต็ง👨🏼‍⚕️ ชายผู้ให้กำเนิด กิโยตีนและเกือบตายเพราะมัน☠️😱
เครื่องมือประหารสุดคลาสสิคจากประเทศฝรั่งเศส เครื่องประหารที่เป็นที่รู้จักนี้ ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อใช้ตัดคอนักโทษประหาร เครื่องมือนี้ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ สำหรับแขวนใบมีดขนาดใหญ่ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่มีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัมที่มีน้ำหนักมากเพื่อให้สามารถบั่นคอนักโทษภายในครั้งเดียวโดยใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุดภายใต้ใบมีดนั้น นักโทษจะถูกวางศรีษะไว้ด้านล่าง เมื่อเชือกที่รั้งใบมีดถูกตัดหรือปล่อยลงมา ใบมีดจะตัดศรีษะนักโทษในฉับเดียว
เดิมชื่อ กิโยตีน ได้มาจากชื่อของ โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง ซึ่งเป็นผู้เสนอให้มีการประหารชีวิตด้วยอุปกรณ์ชนิดนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ทีการประหารด้วยเครื่องประหารนี้ ชายคนแรกที่โดนประหาร เป็นโจรปล้นตามทาง ชื่อ นายนีกอลา ฌัก แปลติแย เมื่อปี 1792 ณ เวลานั้นทาง สหราชอาณาจักร อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ ก็มีการประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับประหารขึ้นมาเช่นกัน
นายแพทย์ อ๊อง ตวน หลุยส์ สมาชิกสมาคมศัลยศาสตร์ เป็นผู้ประดิษฐ์กลไกการทำงานของเครื่อง กิโยตีน โดยเมื่อครั้งแรกใช้ชื่อว่า ลุยซง (Louison)หรือ ลุยแซ็ต (Louisette) แต่เนื่องจาก นายแพทย์ ดร. โฌแซ็น-อีญัส กียอแต็ง ได้เสนอเครื่องประหารชนิดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อตามนามสกุล
1
ก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศส นักโทษชั้นสูงมักถูกประหารด้วยดาบหรือขวาน โดยเพชฌฆาตส่วนนักโทษทั่วไปจะถูกประหารด้วยการแขวนคอหรือวิธีอื่นๆเนื่องจากหลายครั้งการตัดคอนั้นไม่ตายทันทีทำให้ผู้ถูกประหารทรมาน การถูกประหารด้วยกิโยตีน จึงเป็นการปรานีแก่นักโทษเพราะเกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุด
1
ว่ากันว่าในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสมีผู้ต้องสังเวยแก่เครื่องประหารนี้กว่า 20000คน
1
ในช่วงเวลานั้นการประหารที่ถูกกฎหมายต้องใช้ กิโยตีน เท่านั้นอย่างไรก็ตามการประหารด้วยเครื่องมือนี้ก็ถูกยกเลิกในปีค.ศ. 1881
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทหารนาซีเยอรมันได้นำเครื่องประหารนี้มาใช้อีกครั้งคนสุดท้ายที่ถูกประหารคือ ออยเกิน ไวด์มันน์ ฆาตกรห้าศพเขาถูกตัดศีรษะวันที่ 17 มิถุนาค.ศ. 1939
ตายในคุกแซ็ง-ปีแยร์ นับเป็นการปิดฉากเครื่องประหารชนิดนี้โดยสมบูรณ์
1
โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง (Joseph-Ignace Guillotin) นายแพทย์และนักการเมืองฟรีเมสัน ชาวฝรั่งเศสเขาเกิดวันที่ 28 พฤษภาคมค.ศ. 1738 เมืองแซ็งต์ ฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมค.ศ. 1789 เขาได้เสนอให้ใช้เครื่องปั่นคอแทนการตัดศีรษะนักโทษด้วยดาบหรือขวานในสภา กงว็องซียง แห่งชาติ ต่อมาจึงมีการผลิตเครื่องประหารกิโยตีนขึ้น โดยใช้นามสกุลของเขาแม้เค้าจะขอให้รัฐบาลเปลี่ยนชื่อแต่ก็ไม่เป็นผลเขาเลยต้องเปลี่ยนนามสกุลแทน
จริงๆแล้วกิยอแต็งเป็นแพทย์ และมีส่วนให้นายแพทย์เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ค้นพบวัคซีนอีกด้วยและในค.ศ. 1805 กียอแต็ง ได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการวัคซีนในกรุงปารีสด้วย
1
ครั้งหนึ่งเคานต์แห่งเมเร ซึ่งต้องโทษประหารได้เขียนจดหมายถึง กิยอแต็ง เพื่อฝากฝังลูกเมียต่อมาจดหมายดังกล่าวเกิดตกอยู่ในมืออัยการทำให้เกิดการนำตัว กิยอแต็ง มาสอบสวนถามหาที่อยู่ลูกเมียของเคานต์แห่งเมเร แต่กิยอแต็งไม่ยอมบอก จึงถูกจับไปเข้าคุก ต่อมา มักซี มีเลียง รอแช็สปีแยร์ สูญสิ้นอำนาจ กิยอแต็ง จึงได้รับการปล่อยตัว เขาได้กลับไปเป็นนายแพทย์ต่อจนสิ้นชีวิตด้วยโรคชราในปีค.ศ. 1814 ณ กรุงปารีส
โฆษณา