5 มิ.ย. 2020 เวลา 03:34
ไม่ใช่แค่มนุษย์ที่ชอบฟังเพลง ผลวิจัยพบว่า พืชก็รักในเสียงดนตรีเช่นกัน
พ.ศ. 2516 โดโรธี รีแทลเแลค ได้พิมพ์หนังสือชื่อ The Sound of Music and Plant (เสียงดนตรีและพืช) โดยเล่ารายละเอียดในการทดลองของเธอซึ่งทำที่วิทยาลัย Woman’s College ในเดนเวอร์
เธอได้นำพืชไปไว้ในห้องทำการทดลอง โดยวางพืชแยกไว้ในห้องต่างๆกันซึ่งทุกห้องมีลำโพงสำหรับให้เธอปล่อยเสียงเข้าไปได้ ต้นไม้ในแต่ละห้องจะได้เสียงเพลงต่างกัน เธอเฝ้าดูการทดลองและจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน โดโรธีได้พบผลการทดลองอันน่าทึ่งดังนี้
การทดลองที่หนึ่ง เธอเปิดเพลงที่มีจังหวะคงที่ให้ต้นไม้ในห้องทดลองทั้งสามฟัง ห้องแรกเธอเปิดเพลงให้ฟังติดต่อกัน 8 ชั่วโมง ห้องที่สองเปิดให้ฟัง 3 ชั่วโมง ห้องที่สามไม่เปิดเสียงใดๆเลย
ผลการทดลองปรากฏว่า ต้นไม้ทุกต้นที่อยู่กับเพลงนานติดต่อกัน 8 ชั่วโมง โทรม และตายภายใน 14 วัน ส่วนต้นไม้ทกต้นที่อยู่กับเพลงเพียงวันละ 3 ชั่วโมง เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี ยิ่งกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับเสียงอะไรเลย
ผลการทดลองนี้ไปพ้องกับการทดลองของ Muzak Corporation ในต้นทศวรรษ 1940 (พ.ศ. 2483) เพื่อทำการศึกษาถึงการเปิดเพลงให้คนงานในโรงงานฟัง ผลการทดลองออกมาว่า ถ้าเปิดเพลงให้พนักงานฟังต่อเนื่องกันนานๆ คนงานจะเหนื่อย อ่อนเพลีย ให้ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าเปิดเพียงสองสามชั่วโมง วันละสองสามครั้ง คนงานจะกระปรี้กระเปร่าและมีอัตราการผลิตดีกว่า และทำงานได้ดีกว่าคนงานที่ไม่ได้ฟังเพลงเลย
การทดลองครั้งที่สอง โดโรธีใช้ห้องทดลองสองห้องและเปลี่ยนพืชใหม่เธอเปิดวิทยุทั้งสองห้อง ห้องแรกเปิดสถานีเพลงร็อค ห้องที่สองเปิดเพลงอ่อนหวาน ผลการทดลองปรากฏว่า หลังจาก 5 วัน ต้นไม้ที่ได้ฟังเพลงอ่อนหวานมีความสมบูรณ์ดี และโน้มกิ่งเข้าหาวิทยุ ส่วนต้นไม้ที่ฟังเพลงร็อคนั้น ครึ่งหนึ่งใบเริ่มลีบ ต้นที่เหลือหยุดการเจริญเติบโต
2
สองสัปดาห์ถัดมา ต้นไม้ที่ฟังเพลงอ่อนหวานมีขนาดเหมาะสม เขียวขจีและโน้มเข้าหาเสียงเพลงประมาณ 15-20 องศา ส่วนต้นไม้ที่ฟังเพลงร็อคสูงชะลูดและห้อยลง ปลายยอดเบนออกจากทิศทางเสียงเพลง
วันที่ 16 ของการทดลองพืชในห้องที่มีเพลงนิ่มนวลเจริญเติบโตดี มีชีวิตชีวาสวยงาม ส่วนพืชที่อยู่ในห้องร็อคใกล้ตายเกือบหมด
การทดลองต่อมา โดโรธีวางต้นไม้ในห้องทดลอง 3 ห้องเหมือนเดิม ห้องแรกเปิดเพลงแนว North Indian Classical Music ห้องที่สองเปิดเพลงของ Bach บรรเลงด้วยออร์แกน และห้องที่สามไม่เปิดเพลงใดๆ
ผลการทดลองที่ได้คือ ต้นไม้ชอบเพลง North Indian Classical Music มากที่สุด และโน้มกิ่งเข้าหาเสียงมากที่สุด เธอทำการทดลองต่อกับเพลงประเภทอื่น ผลคือ ต้นไม้ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ กับเพลงแนวคันทรี่และแนวเวสเทิร์น ผลที่ได้ไม่ต่างกับต้นไม้ที่ไม่ได้ฟังเสียงใดๆ อย่างไรก็ตามต้นไม้กลับชอบเพลงแจ๊สมาก
และจากการทดลองอื่นๆยังพบอีกว่า การสัมผัสและพูดคุยกับต้นไม้ก็ให้ผลดีเช่นเดียวกัน
คัดลอกเนื้อหาจากบทความของคุณ กานดา พุฒตาล นิตยสารคู่สร้างคู่สมค่ะ http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=637
1
ร้อยแปดพันเก้า บอกเล่าสารพัน.
โฆษณา