Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2020 เวลา 02:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[Chapter 16] - PART 2
Perfect Design by Early Management
จาก Part 1 ผมได้อธิบายเป้าหมายวัตถุประสงค์ของเสา EM ไปแล้วว่าการเกิดและมีตัวตนขึ้นมาของเสา EM มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่ออะไร หลายๆ ท่านคงพอจะเข้าใจไปบ้างแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้อ่าน Part ที่ 1 สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ก่อนที่ Link ด้านล่างครับ
[Early Management Pillar –Part 1:
https://www.blockdit.com/articles/5ed5eff95b04330ca7bdced9
]
สำหรับ Part ที่ 2 นี้เรามาดูกันว่าแนวทาง และทิศทางการดำเนินกิจกรรมของเสา EM มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมอะไรบ้าง มั้วววว...มาดูกัน
เริ่มจาก 5 กระบวนการจัดการหลักของเสา EM ที่เราจะต้องเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะก้าวขาเข้าไปใน 1 กระบวนการที่เรียกได้ว่าเทพเจ้าแห่งการจัดการก่อนการผลิตที่ดีที่สุด 1 ระบบ คือ
1. ภาพรวมการจัดการก่อนการผลิต (Overview of Early Equipment Management)
2. การจัดการเครื่องจักรก่อนการผลิต (Early Equipment Management)
3. การจัดการเพื่อพัฒนาผลิตภันฑ์ใหม่ (Early Product Management)
4. การเก็บข้อมูลการป้องกันการซ่อมบำรุง (MP Information)
5. ขั้นตอนดำเนินการจัดการก่อนการผลิต (Early Management Implementation Step)
จากกระบวนการทั้ง 5 เราจะพบว่าการทำงานของเสา EM ส่วนใหญ่คือการนำข้อมูลทางสถิติที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต ข้อมูลการปรับปรุง การแก้ไขต่าง ๆ และปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมา หรือยังคงเกิดปัญหานั้นอยู่ EM ได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาเข้าระบบเพื่อที่จะกำหนดขั้นตอนกระบวนการจัดการต่าง ๆให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร ให้มีประสิทธิภาพที่สุดก่อนที่จะเริ่มการผลิต เดี๋ยวเรามาดูกันกิจกรรมต่าง ๆในแต่ละกระบวนการมีอะไรบ้าง เริ่มจาก
กระบวนการ ที่ [1] ภาพรวมการจัดการก่อนการผลิต (Overview of Early Equipment Management) ประกอบด้วย สิ่งแรกที่เราต้องกำหนดให้ชัดเจนในแง่ของการจัดการคือ
1.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Objective and Target ) ของสิ่งที่เราคาดหวังคืออะไร ภาพรวมการจัดการก่อนการผลิตก็มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ 3 ข้อคือ
(1) เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงสุด ตามความคาดหวังของผู้ออกแบบ
(2) เพื่อให้มั่นใจว่า ต้นทุนการผลิตเป็นไปตามเป้าหมาย
(3) เพื่อให้ได้เครื่องจักรที่มีความน่าเชื่อถือ
1.2 ความสัมพันธ์ของการจัดการ ก่อนการผลิต ที่เกี่ยวข้องกับเสา TPM อื่น ๆ (Early Management and TPM Pillars Relationship) คือ ภาพรวมความเชื่อมโยงจากสิ่งที่เสา EM ต้องการจากเสา TPM อื่น ๆและสิ่งที่เสาอื่น ๆ ต้องการจากเสา EM เช่น ข้อมูลต่าง ๆที่มีการเกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Breakdown ,Accident , Productivity loss , หรือปัญหาที่มีการปรับปรุงต่าง ๆ โดยข้อมูลต่าง ๆอาจจะถูกส่งผ่านมาในรูปเอกสารข้อมูล หรือ MP Information sheet เป็นต้น และยังรวมถึงการวางความสัมพันธ์ของระบบที่แต่ละเสาจะต้องนำไปปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินกิจจกรรมได้อย่างราบลื่น ๆ
(Early Management and TPM Pillars Relationship)
1.3 การจัดการผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรก่อนการผลิต (Early Management of product and Equipment) เราสามารถแบ่งการจัดการก่อนการผลิตออกได้เป็น 2 ส่วนคือ
(1) การจัดการเครื่องจักรก่อนการผลิต ( Early Equipment Management)
(2) การจัดการผลิตภัณฑ์ก่อนการผลิต (Early Product Management)
การจัดการผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรก่อนการผลิต
1.4 รอบอายุการใช้งานเครื่องจักร (Equipment life cycle) จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
(1) การจัดการเครื่องจักรก่อนการติดตั้ง
(2) การจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งาน
(3) การจัดการเครื่องจักรหลังเลิกการใช้งาน
การจัดการเครื่องจักรก่อนการติดตั้ง และการจัดการเครื่องจักร
1.5 เทคนิคการออกแบบ เพื่อป้องกันการบำรุงรักษา (MP Design) โดยมีเป้าหมายคือสร้างสัมพันธภาพระหว่างคนกับเครื่องจักร “ Human-Machine Relationship ” การประกันคุณภาพที่สูงกว่า ต้นทุนตลอดอายุการใช้งานที่ต่ำ ความปลอดภัย ซึ่งเราสามารถแจกแจงออกมาในแง่ของการออกแบบได้ 5 อย่าง คือ
(1) ออกแบบเพื่อประกันคุณภาพ (Design for Quality Assurance: DQA) คือ เมื่อมีการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ มักจะประสบปัญหาทำให้มีการปรับแต่งแก้ไขจนกว่าจะได้ผลที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้และสูญเสียเวลาในขั้นตอนนี้นานมาก ๆ ดังนั้นการออกแบบเพื่อประกันคุณภาพต้องการให้เครื่องจักรปราศจากของเสีย หรือ “Zero defect” หรือ “Defect free” ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งการออกแบบเครื่องจักรเพื่อประกันคุณภาพ มีเป้าหมาย 2 อย่างคือ
หนึ่ง - ออกแบบเครื่องจักรที่ประกันได้ว่า จะไม่เกิดของเสียขณะเดินเครื่องจักรตั้งแต่เริ่ม
สอง - เครื่องจักรที่ออกแบบเพื่อประกันคุณภาพตลอดไป โดยมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และไม่ผลิตของเสีย แม้ว่าจะเกิดการรบกวนจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
(2) ออกแบบเพื่อลดต้นทุนตลอดการใช้งาน (Design to Life Cycle Cost: DLC) ปัจจุบันวิศวกรรออกแบบเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็น Design Engineering หรือ Value Engineering จะให้ความสำคัญกับเรื่องต้นทุนการออกแบบขั้นต้น Initial Cost ของเครื่องจักร ที่ผมพูดแบบนี้เพราะว่า ในแง่ของต้นทุน จะแยกเป็น 2
[ส่วน ที่ 1] คือ Initial Cost: ต้นทุนขั้นต้น ในที่นี้ก็คือต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาวิจัย การทดสอบ การทดลอง Model จำลองต่าง ๆ ยังรวมถึงค่าแรงงาน Direct, Indirect cost และต้นทุนอื่น ๆอีกมากมายที่เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบ
[ส่วนที่ 2] คือ Running Cost: ต้นทุนการเดินเครื่อง ซึ่งวิศวกร มองว่าต้นทุนการเดินเครื่องเป็นต้นทุนที่เป็น Variable cost ที่สามารถเพิ่มลดเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงอายุการใช้งานตาม Condition ที่เปลี่ยนแปลงของเครื่องจักรนั้น ๆเช่น Service Cost, Repair & Maintenance Cost เป็นต้น
จากทั้งสองส่วนจะเห็นว่า การออกแบบเครื่องจักรในอดีต ที่ผ่านมา ถ้ามองในแง่ของต้นทุนการออกแบบที่มุ่งเน้นเรื่องการลดต้นทุน ทำให้ต้นทุนหลัก ๆที่ถูกตัดทอนออกไป คือต้นทุนในการออกแบบ หรือการ Cost down ต่าง ๆ ทำให้เมื่อมีการนำผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องจักรใหม่มาใช้งานปัญหาต่าง ๆที่ไม่ได้แก้ไขหรือออกแบบเพื่อป้องกันปัญหาไว้จากต้นทุนที่หายไป ได้ส่งผลกับต้นทุนฝั่ง Running Cost ตามที่ได้อธิบายไว้ใน [ส่วนที่ 2]
จากปัญหาที่เกิดขึ้นหน้าที่หลักของเสา EM คือ มุ้งเน้นการออกแบบ และการแก้ปัญหาในส่วนของ Initial Cost หรือการให้ความสำคัญกับต้นทุนการออกแบบขั้นต้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา ต่าง ๆไม่ให้ส่งผลกระทบไปถึงช่วง Running Cost หรือช่วงที่ผลิตจริงเพื่อที่จะลดปัญหาต่าง ๆในการผลิตโดยปราศจากปัญหาจากเครื่องจักร หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เป้าหมายคือลดต้นทุน Running Cost นั้นเอง เมื่อ Running Cost ลดลงก็จะส่งผลให้ต้นทุนรวมตลอดอายุการใช้งานลดลงไปด้วย หรือ (LCC) ของเครื่องจักรหรือผลิตภันฑ์ โดยการออกแบบเพื่อลดต้นทุนยังสามารถแยกได้อีกดังนี้
- ออกแบบเพื่อค่า IC ที่ต่ำสุด (Minimum Initial Cost) คือการออกแบบโดยมุ่งให้ค่าต้นทุนขั้นต้นมีค่าต่ำสุด
- ออกแบบเพื่อค่า RC ที่ต่ำสุด (Minimum Running Cost) ในทางตรงกันข้ามการออกแบบเพื่อค่า RC ที่ต่ำสุด จะให้ความสำคัญกับต้นทุนการเดินเครื่อง (Running cost) มากกว่าต้นทุนการออกแบบขั้นต้น (IC)
- ออกแบบเพื่อลดค่า IC-RC (IC-RC Reduction Design) เป็นการออกแบบที่ให้ความสำคัญทั้ง IC และ RC เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง
* [หมายเหตุ] Life Cycle Cost หมายถึง ต้นทุนตลอดการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เครื่อง จักรหรือระบบ คือ ต้นทุนทั้งหมดตลอดการใช้งานของสิ่งนั้น สถาบันการจัดการและงบประมาณของสหรัฐได้ นิยามว่า “ผลรวมต้นทุนทางตรง ทางอ้อมเกิดขึ้นหลายครั้ง ครั้งเดียว และต้นทุนอื่นที่สัมพันธ์กันโดยช่วงเวลาของการใช้งานระบบ มันคือผลรวมของต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง เวลาของการออกแบบ พัฒนา ผลิต เดินเครื่อง ซ่อมบำรุง และสนับสนุนกระบวนการผลิต”
กระบวนการขั้นตอนการออกแบบที่มีผลต่อ LCC
ตัวอย่างการคำนวณค่า LCC
(3) ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง (Design for Flexibility) คือ การออกแบบเครื่องจักรที่เหมาะสำหรับการผลิตที่มีความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำเครื่องจักรใหม่เพิ่มทุกครั้งที่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์
ค่า Yields การผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ (Variable Production Yields) คือ ภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนคาดการณ์ได้ยาก การเพิ่ม-ลดการผลิตเกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นการออกแบบเพื่อไม่ได้เกิดต้นทุน การสูญเสียที่เพิ่มขึ้นมาก เมื่อมีการปรับปริมาณการผลิต ตามความต้องการของตลาด
รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย (Diverse Product Models) คือ เป็นการออกแบบเครื่องจักรที่สามารถผลิตสินค้าได้หลายแบบ เพื่อให้การลงทุนในเครื่องจักรคืนทุนได้เร็วขึ้น ซึ่งมีความสำคัญสำหรับระบบการผลิตสมัยใหม่ (Flexible Manufacturing System)
รูปแบบที่ประสบผลสำเร็จ (Successive Models) คือ เป็นการออกแบบที่เน้นสนองตอบความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปรุ่นใหม่ต้องมาแทนที่รุ่นเก่า มีการ ปรับปรุงเล็กน้อย (Minor change) อยู่เป็นระยะจนในที่สุดนำไปสู่รูปแบบใหม่ (Major Change) จนสามารถแทนที่รุ่นเก่าได้
(4) การออกแบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (Low-Cost Automation Design) คือ แนวโน้มระบบอัตโนมัติและโรงงานที่ไม่ใช้แรงงานคนมีสูงขึ้น โดยเฉพาะในงานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรืองานที่เครื่องจักรทำได้ดีกว่าคน แต่ก็มีบางงานที่คนทำได้ดีกว่าเครื่องจักร เพื่อให้เกิดคุณภาพและราคาผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่า จึงต้องพัฒนาเครื่องจักร ที่เชื่อถือได้และเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติราคาต่ำ (Low Cost Automated Equipment) โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องใช้เครื่องจักรมาก ขั้นตอนการตรวจสอบการประกอบเครื่อง การประกันคุณภาพและต้นทุนขั้นต้นต่ำ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการทำการออกแบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (Low-cost Automation Design)
(5) การออกแบบเครื่องจักรที่ปลอดภัย (Intrinsic Safety Design) คือ ในโรงงานที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติมากขึ้น การป้องกันอันตรายก็ต้องดูแลให้มากขึ้น การออกแบบเครื่องจักรให้ปลอดภัย มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดจากเครื่องจักร อีกเป้าหมายหนึ่งในการสร้างเครื่องจักรที่ปลอดภัย คือ ให้เครื่องจักรสามารถหยุดการทำงาน เมื่อมีการผลิตปกติของเครื่องจักร และเพื่อประกันได้ว่าเครื่องจักรจะหยุดโดยอัตโนมัติก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุกับคนได้
จากที่อธิบายมาทั้งหมดยังวนเวียนอยู่ในกระบวนการที่ [1] อยู่เลยครับ แต่คงต้องจบไว้เท่านี้ก่อน ในกระบวนการที่ [2- 5] ไว้มาต่อใน Part ต่อ ๆ ไปครับ วันนี้ลาไปก่อนสวัสดีครับ
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 14 ] PART 5: PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
https://www.blockdit.com/articles/5ece2b08c7238d0c776ee9d2
2. [CHAPTER 15] — PART 2
Education and Training Pillar (ET Pillar)
https://www.blockdit.com/articles/5ecf648d36ef9147b1f47949
3. [CHAPTER 15] — PART 1
Education and Training Pillar (ET Pillar)
https://www.blockdit.com/articles/5ecf1dd289ee720cc3e87f7e
4. [CHAPTER 15] — PART 3 Education and Training Pillar (ET Pillar)
https://www.blockdit.com/articles/5ecf86f6907bc754079ebc4e
5. KAIZEN ให้ได้ผล...ด้วยหลัก 5 GENS
https://www.blockdit.com/articles/5ed3c608dc07380ca7b88697
6. [CHAPTER 15] — PART 4 Education and Training Pillar (ET Pillar)
https://www.blockdit.com/articles/5ed4a3163a5fd60c3137f40c
7. [CHAPTER 15] — PART 5 Education and Training Pillar (ET Pillar)
https://www.blockdit.com/articles/5ed4c4a91b0ded0b9c0f5e17
8. [Chapter 16] - PART 1 Perfect Design by Early Management
https://www.blockdit.com/articles/5ed5eff95b04330ca7bdced9
#นักอุตสาหกรรม
4 บันทึก
9
11
4
9
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย