5 มิ.ย. 2020 เวลา 04:55 • ประวัติศาสตร์
งูมีขาแห่งโลกดึกดำบรรพ์
ในปีค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) ได้มีการขุดพบกะโหลกของงูอายุกว่า 95 ล้านปีในอาร์เจนตินา
กะโหลกที่พบนั้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์และทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาเรื่องของ “Najash rionegrina” ซึ่งเป็นสายพันธุ์งูในยุคโบราณ
ในช่วงต้นยุค 2000 (พ.ศ.2543-2552) ก็ได้มีการค้นพบกะโหลกและกระดูกส่วนอื่นของงูดึกดำบรรพ์ในอาร์เจนตินา ซึ่งกระดูกส่วนอื่นที่พบนั้น พบ “กระดูกขา” ด้วย ทำให้ทราบว่างูในสมัยดึกดำบรรพ์นั้นมีขา
แต่ด้วยความที่กะโหลกที่พบในช่วงแรกนั้น อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาถึงลักษณะการกินอาหารของมัน รวมทั้งวิวัฒนาการของมันได้
แต่จากกะโหลกที่พบในค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาถึงการกลายพันธุ์ของมันได้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่างูในตอนแรกนั้นมีสี่ขา ก่อนจะกลายพันธุ์เป็นสองขา และมีขาอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานับ 10 ล้านปี
การค้นพบเหล่านี้จะทำให้สามารถรู้ถึงเรื่องของสายพันธุ์และวิวัฒนาการของงูในสมัยโบราณได้ และเป็นการค้นพบที่น่าทึ่งอีกครั้ง
โฆษณา