5 มิ.ย. 2020 เวลา 17:52 • สุขภาพ
Travel bubble คืออะไร
<a href='https://www.freepik.com/free-photos-vectors/travel'>Travel vector created by freepik - www.freepik.com</a>
Travel แปลว่าการเดินทาง การท่องเที่ยว
Bubble โดยปกติเราแปลว่าฟอง ฟองสบู่ ฟองอากาศ
เอ่อ... น่าจะ travel bubble คนละความหมายกันแล้วเนาะ.😆
.
.
.
นอกจากคำว่า New Normal ที่เราเริ่มได้ยินจนชินหู ช่วงพักหลังๆ เราก็มักจะได้ยินคำว่า travel bubble บ่อยขึ้นเช่นกัน ซึ่งบางคนอาจจะยังงงว่าคืออะไรน้อ มันจะเกี่ยวกับการท่องเที่ยวรึเปล่านะ
ตามมาค่ะ
travel bubble แปลเป็นภาษาไทยว่า "ระเบียงท่องเที่ยว" (อ้าว แล้วฟองสบู่ไปไหน 🤔)
ในยุค Covid-19 นี้ travel bubble แปลว่า ช่องทางการเดินทางกันเองระหว่างประเทศที่มีการจัดการโควิดได้เป็นอย่างดี โดยผู้้เดินทางไม่จำเป็นต้องกักกันระยะเวลา 14 วัน
แต่ทั้งนี้ การเดินทางระหว่่างประเทศที่ยังมีการระบาดรุนแรงก็ยังถูกจำกัดอยู่นะคะ
ทำไมถึงต้องมี travel bubble
เนื่องจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจจากพิษ covid ถ้าจะรอให้ทุกประเทศควบคุมการระบาดได้เศรษฐกิจทั่วโลกคงพังพินาศ travel bubble จะ อนุญาตให้ประชากรของประเทศที่มีการจัดการควบคุม covid อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเดินทางระหว่างกันทั้งเพื่อการเจรจาธุรกิจ การประชุม หรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยว โดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นๆ เพื่อฟื้นฟูธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวของประเทศ ทำให้ระบบเศรษฐกิจเริ่มมีการหมุนเวียน กลับมามีการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้น
The Economist บอกไว้ว่า travel bubbles ระหว่างประเทศที่มีการจัดการที่ดีเหล่านี้เทียบเท่ากับ 35% ของ GDP ทั่วโลกเลยทีเดียว และนับเป็น 42% ของค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวทั่วโลก
รู้รึเปล่าว่าประเทศไทยเราก็ใช้ travel bubble แล้วนะคะ🤔
หลังจากมาตรการผ่อนปรนการ lock down ระยะที่ 3 ที่ให้เราสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งก็คือการใช้ travel bubble ภายในประเทศนั่นเองค่ะ
ประเทศไทยจะทำ travel bubble กับประเทศอื่นหรือไม่
ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจาระหว่างรัฐบาลหลายประเทศ คาดว่าจะมีการเปิดใช้ travel bubble กับเวียดนามภายใน 2 เดือน และอาจจะเปิด bubble กับประเทศอื่นภายในปลายปี
ตัวอย่างประเทศที่มี travel bubble ค่ะ
ประเทศแรกๆ ที่มีการใช้ travel bubble คือประเทศกลุ่มคาบสมุทรบอลติกอันได้แก่ เอสโตเนีย แลตเวีย และลิทัวเนีย
✈️ ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศนี้สามารถเดินทางได้อย่างเสรีโดยไม่ได้จำกัดแค่วัตถุประสงค์เพื่อการเจรจาธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถเดินทางได้ทั้งทางรถ เรือ เครื่องบินเลยทีเดียวตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา
✈️ หากผู้เดินทางได้มีการเดินทางไปประเทศอื่นใดนอกจาก 3 ประเทศนี้ในช่วง 14 วันก่อนหน้าจะไม่สามารถเดินทางแบบ bubbleได้ค่ะ
3 ประเทศนี้เค้าอยู่ใกล้ๆรัสเซียค่ะ
ตามมาด้วยออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
✈️ ข้อตกลงนี้มีชื่อว่า trans-Tasman travel bubble ✈️ เพื่อให้ประชาชนของสองประเทศสามารถเดินทางได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องกักกันตนเอง 14 วัน
✈️ ผู้เดินทางจะต้องทำการตรวจหาเชื้อก่อนการเดินทาง และจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันของแต่ละประเทศ
✈️ รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ตระเตรียมความพร้อมไว้แล้ว รอแต่รัฐบาลออสเตรเลียที่ยังคงอยู่ระหว่างการจัดการภายใน กล่าวคือถึงแม้รัฐบาลกลางเป็นผู้ตัดสินใจอนุญาต แต่เมื่อเดินทางถึงออสเตรเลีย การจัดการคัดกรองผู้้เดินทางจะขึ้นกับมาตรการของแต่ละรัฐซึ่งมีความแตกต่างกัน
✈️ แต่ทั้งนี้ออสเตรเลียจะพยายามเปิด bubble กับนิวซีแลนด์ภายในเดือนนี้เพื่อให้ประชาชนเริ่มเดินทางในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นช่วงที่ รร. ปิดเทอม
นายกนิวซีแลนด์ไปหารือร่วมกับออสเตรเลียเกี่ยวกับ Trans-Tasman travel ค่ะ/ ที่มา AAP
ญี่ปุ่นกับออสเตรเลีย จีน นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ไทย อเมริกา (ห๊ะ) และเวียดนาม
✈️ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวลือแว่วๆ ว่าญี่ปุ่นมีแผนจะทำ travel bubble กับประเทศเหล่านี้ (ว่าแต่จะรวมอเมริกาด้วยนี่ คิดดีแล้วรึเปล่่าหว่า?)
✈️ มีดราม่าย่อยๆ จากทางฝั่งไต้หวันว่าทำไมถึงไม่มีไต้หวันอยู่ในรายชื่อ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่มีการจัดการดีเป็นอันดับต้นๆ
✈️ หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุนของญี่ปุ่นบอกว่าประเทศที่น่าจะอยู่ในกลุ่ม bubble แรกๆ ของญี่ปุ่นคือไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เนื่องจากเป็นคู่ค้าทางธุรกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญ
✈️ ทาง Japan Times กลับบอกว่าไม่จริ้ง รัฐบาลน่่าจะเปิดรับนักธุรกิจจากจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและอเมริกามากกว่า
✈️ ทั้งนี้ยังไงรอรายละเอียดเพิ่มเติมอีกสักหน่อยดีกว่านะคะ
จีนกับไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้
✈️ จีนกับเกาหลีใต้เริ่ม bubble เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม เพื่อให้นักเดินทางประเภทธุรกิจเดินทางระหว่างเกาหลีใต้กับ 10 ภูมิภาคของจีน
✈️ ผู้เดินทางจะต้องมีผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นลบทั้งก่อนและหลังจากเดินทาง
จีน(มณฑลกวางตุ้ง) กับ ฮ่องกง มาเก๊า (มีคำอธิบายเพิ่มเติมท้ายบทความว่าทำไมจีนต้องรีบทำ travel bubble กับฮ่องกง มาเก๊า)
✈️จีนกับมาเก๊า เนื่องจากทางฝั่งมาเก๊าเปิดคาสิโน ทางมณฑลกวางตุ้งกวางตุ้งก็เริ่มอนุญาตให้ชาวจีนเข้าไปในมาเก๊าเพื่อท่องเที่ยวได้แล้ว
✈️จีนกับฮ่องกงจะเริ่มจากการอนุญาตให้ผู้เดินทางเพื่อทำธุรกิจเดินทางก่อน และจะผ่อนปรนให้นักเรียนนักศึกษากลับไปเรียนได้เร็วๆนี้
✈️ ผู้เดินทางจะต้องมีผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นลบทั้งก่อนและหลังจากเดินทาง
สิงคโปร์กับจีน
✈️ จะเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายนภายใต้ข้อตกลง Fast Lane เพื่อการเดินทางติดต่อธุรกิจหรืิอการเดินทางแบบทางการระหว่างสิงคโปร์กับ 6 มณฑลของจีนคือ เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน ฉงชิ่ง กว่างตง เจียงซู และเจ้อเจียงเท่านั้น
✈️ ทั้งสิงคโปร์และจีนจะจำกัดจำนวนผู้เดินทางระหว่างกัน ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจน
✈️ ผู้เดินทางต้องมีผลตรวจโควิดก่อนเดินทาง และเมื่อเดินทางถึงยังประเทศปลายทางจะต้องได้รับการตรวจอีกครั้ง โดยที่ผู้เดินทางจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อการทดสอบ และหากติดเชื้อ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
✈️ สิงคโปร์กำลังหารือกับนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และมาเลเซียเพื่อข้อตกลง travel bubble ระหว่างกัน
ฟังดูแล้วเหมือนกับเป็นสัญญาณบวกที่ดีนะคะ
แต่ว่าการท่องเที่ยวแบบนี้ หากประเทศหนึ่งประเทศใดเกิดการระบาดในระลอกที่ 2 หรือ 3 ขึ้นมาแล้วล่ะก็ยิ่งจะทำให้สถานการณ์การระบาดแย่ลงไปอีกแน่ๆ เลยค่ะ
นอกจากนี้เราเองก็ทราบกันดีว่าในบางครั้งการตรวจหาเชื้ออาจจะไม่พบในครั้งแรก ซึ่งอาจจะเข้าข่ายกรณีที่ผู้้มีเชื่อ Covid. อาจจะตรวจไม่พบในประเทศต้นทาง แต่มาแสดงอาการหรือตรวจพบในประเทศปลายทาง ในกรณีแบบนี้ก็อาจสุ่มเสี่ยงต่อการระบาดอีกระลอกได้เช่นกัน ดังนั้น หากรัฐบาลแต่ละประเทศยังไม่มีมาตรการการควบคุมการระบาดที่รัดกุมดีพอ บางที Travel bubble อาจจะได้ไม่คุ้มเสียเพราะเศรษฐกิจอาจจะไม่ปังอย่างที่คิด แต่อาจจะปังปินาศไปอีกรอบแทนก็เป็นได้นะคะ
พอดีแอดสงสัยว่าทำไมจีนดูรีบร้อนจะเปิด bubble กับ ฮ่องกง มาเก๊า เลยไปหาข้อมูลมาเพิ่มค่ะ
ทำไมต้องกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า
🌉 เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของทั้ง 3 เมืองอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูไห่ และถูกเรียกขานว่า Greater Bay Area (GBA)
Greater Bay Area
🌉 บริเวณนี้คือ“ยุทธศาสตร์ใหม่” ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนเพื่อเชื่อมฮ่องกงกับแผ่นดินใหญ่ให้สอดคล้องกับนโยบาย“หนึ่งประเทศ สองระบบ"
🌉 จีนสร้างสะพานที่เชื่อมฮ่องกงกับจูไห่และมาเก๊ายาว 55 กิโลเมตร ซึ่งสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลกนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งแนวทางใหม่ของรัฐบาลจีนที่ต้องการบริหารจัดการศูนย์กลางธุรกิจอย่างฮ่องกงและศูนย์กลางบ่อนคาสิโนอย่างมาเก๊า
สะพานข้ามทะเลที่เชื่อม จีน ฮ่องกง มาเก๊า/ ที่มา Newsdesk
ดังนั้น ยิ่งสามารถทำ travel bubble ระหว่าง GBA ได้เร็ว บ่อนคาสิโนก็จะเปิดได้เร็วขึ้น การท่องเที่ยวก็จะฟื้นฟูขึ้นตามลำดับนั่นเองค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา