Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก้าวตามตถาคต
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2020 เวลา 02:42 • ปรัชญา
EP95 : อย่าเป็นแค่คนธรรมดา
๑_ม นุ ษ ย์ เ ป็ น สิ่ ง ม หั ศ จ ร ร ย์
…ตถาคตบอกว่าครั้นเทวดาเมื่อใกล้สิ้น เพื่อนๆเทวดาจะมาเยี่ยมหาและอวยพรให้ไปสู่สุขคติ ซึ่งหมายถึงให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์มีอายุอยู่ประมาณร้อยปี สั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของเทวดา แต่เทวดาก็อยากเกิดเป็นมนุษย์เพราะสามคุณลักษณะคือ มีสติ กล้าหาญ และสามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้…
1
๒_น้ อ ย ม า ก จ ะ ไ ด้ เ ป็ น ม นุ ษ ย์
…การได้เกิดเป็นมนุษย์ยากมาก แม้แต่เทวดา แม้ได้ตายไปเกิดใหม่ส่วนมากๆๆจะลงนรกหมด(มนุษย์เราก็เหมือนกัน หากเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดา) พระพุทธองค์ได้เปรียบความยากหรือความน่าจะเป็นในการเกิดเป็นมนุษย์อุปมาเหมือน เต่าตาบอดร้อยปีจะโผล่มาเหนือน้ำ แต่กลางทะเลกว้างใหญ่ไม่เห็นฝั่งโผล่มาแล้วเจอรูแอกไม้ไผ่ที่คอจะเสียบเข้าไปพอดี และยิ่งยากกว่านั้นคือเกิดเป็นมนุษย์ในยุคที่ได้พบพระพุทธเจ้า หรือได้อยู่ในยุคที่ศาสนาพุทธ คำสอนของตถาคตถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก
๓_อ ะ ไ ร ต้ อ ง รู้ ก่ อ น ต า ย จ า ก ม นุ ษ ย์ อี ก ค รั้ ง
…สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์คือ หากท่านกำลังประสพภัย ไฟไหม้เรือนผม หรือโพรงเสื้อผ้า ต้องรู้ อริยสัจสี่ก่อน ไม่ไช่ไปดับไฟก่อน… ท่านไม่ให้ประมาทที่จะไม่เรียนรู้ทางพ้นทุกข์ เราจะตายเมื่อไรไม่มีทางรู้ ตายแล้วหากไม่รู้ทางพ้นทุกข์น้อยมากที่จะกลับมา และหากอยู่ในการเป็นเปรตวิสัย เดรัจฉาน นรก แล้วจะเรียนรู้จะฟังคำพระองค์ จะฝึกเพียรทางพ้นทุกข์ไม่ได้ เราทุกคนสามารถเข้าถึงสัทธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองได้ เมื่อได้ยิน จะเข้ามานั่งใกล้ จะเงี่ยหูฟัง จะสดับในคำพระองค์ จำคำพระองค์ในใจ ธรรมเป็นปัจจตังหมายถึงพิสูจน์เข้าใจได้ด้วยตนเอง ธรรมที่ถูกปิดจะไหลลงสู่ใจ ธรรมจะทนต่อการเพ่งพิสูจน์ เมื่อลองปฎิบัติ ยิ่งใคร่ครวญคำของพระองค์ ยิ่งเห็นธรรมก็ยิ่งเห็นพระองค์ผู้ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรต่อเรา การเดินมรรคหนทางเพื่อความพ้นทุกข์มีอยู่แปดทาง ทุกเส้นทางเป็นทางสายกลางในความเชื่อ การนึกคิด การพูดแสดงออก การกระทำ อาชีพ ความเพียรในกุศล สติ สมาธิ การบรรลุธรรมเป็นเรื่องที่เราเข้าถึงได้ด้วยตนเอง
๔_ม นุ ษ ย์ ส มั ย นี้ ศึ ก ษ า ธ ร ร ม อ ย่ า ง ไ ร
…อย่างแรกเลยต้องเชื่อและศรัทธาต่อตถาคต แม้ท่านจะปรินิพานไปกว่า2500ปี แต่สัทธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นสิ่งไร้กาลเวลา คำสอนต่างๆครบถ้วนไม่ต้องหาใหม่แต่งใหม่ พระธรรมถ้าเป็นคำเดิมของพระองค์จะสอดรับกันไม่ขัดกันเลย เราสามารถโหลดแอปพุทธวจนมาอ่านมาค้นคว้าพิสูจน์ข้อสงสัยได้เลย ถ้าไม่มีในพุทธวจนะ ข้อความนั้น ความเชื่อนั้นอาจเป็นการแต่งเติมจะสร้างความสับสนในการบรรลุธรรมได้เลย สาระที่เราสนใจอาจไม่ไช่เรื่องปาฏิหาริย์อะไรมากไปกว่า สาระที่พระองค์เน้นคือมรรคแปด หรือหนทางที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่าเราควรใคร่ครวญอะไรคือทุกข์ เหตุปัจจัยของทุกข์ การดับทุกข์ และหนทางที่จะดับทุกข์
๕_สิ่ ง ที่ ไ ม่ เ ค ย ล้ า ส มั ย แ ล ะ ทุ ก ค น ทํ า ไ ด้
…ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของตถาคต หรือที่เรียกว่า”ตถาคตวิหาร” หรือเรียกว่าพฤติกรรมหลักของพระพุทธเจ้าคือ ”อานาปานสติ” การมีสติอยู่กับลมหายใจ การเจริญสติ การนั่งสมาธิ เพียงการปฏิบัติเป็นประจำแม้ครั้งละไม่ถึงชั่วเวลารัดนิ้วมือ(ช่วงมือกำ) วันละสามเวลา ท่านจะไม่เหินห่างจากฌาน ต่อไปจะบรรลุอรหันต์หรือนิพพาน พระตถาคตตรัสไว้
อย่าเพิ่งคิดว่าการศึกษาพระธรรมให้บรรลุธรรมคือการไปวัด ไปนั่งสมาธิที่วัด ไปทำบุญทำทานด้วยทรัพย์ด้วยใจมากน้อยเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น แต่อยากให้เชื่อว่าอยู่นอกวัดก็เดินมรรคได้ เพราะสิ่งที่สำคัญคือต้องน้อมจิตใจ มีสติที่จะทำ หัวใจหลักอยู่ที่ใจ มนุษย์ทั่วโลกนี้นอกจากเมืองไทยเราแล้วอาจกำลังทำสมาธิอยู่ได้ทั่วโลกเลยก็ได้ สำคัญอยู่ที่ว่าตำราที่ใช้ฝึกนั้นเป็นการบริกรรมตามความเชื่อแบบไหน หากเป็นการนั่งหรือเดินสมาธิเพื่อสามารถควบคุมจิต มีสติสัมปชัญญะมองเห็น รูปกาย ความรู้สึก ความคิด ความจริงที่เป็นอยู่ และสามารถละความเพลินติดยึดในสิ่งที่เห็นนั้นได้ นำไปสู่การปล่อยวางในระดับที่เหนือกว่าปุถุชนธรรมดาขึ้นไปเป็นระดับอริยชนเช่น โสดาบัน อนาคามี สกทาคามี อรหันต์ และนิพพานขึ้นไป สุดท้ายนี้ในเรื่องการบำเพ็ญบุญที่ได้อานิสงส์สูงสุด ตถาคตตรัสไว้ว่าคือการเจริญ “อานาปานสติ” เป็นความเพียรที่เดินมรรคแปดไปพร้อมๆกัน ที่อยากจะบอกอีกอย่างหนึ่ง ในนิยามสังสารวัฏนี้การเกิดเป็นทุกข์ เสื่อมเป็นทุกข์ การแตกสลายเป็นทุกข์นี้ ทุกข์ที่แสนสาหัสในการเป็นมนุษย์ว่าหนักหนาแล้ว ต่ำกว่านี้จะยิ่งหนักและยาวนานกว่ามาก อย่างน้อยต้องโสดาปฏิผลขึ้นไปคือก้าวข้ามสู่อริยบุคคลเท่านั้นจึงรอดจากอุบายภูมิ อย่าได้ล้อเล่นเชียวนะ
11 บันทึก
78
38
21
11
78
38
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย