6 มิ.ย. 2020 เวลา 14:26 • ธุรกิจ
4 mins Read - สรุป 10 บทเรียนธุรกิจจาก Covid กับ บริษัทสัญชาติจีน
บริษัทเหล่านี้รับมือ และ ปรับตัวกันอย่างไร ? (ตอน 1/2)
เราได้ไปอ่านบทความของ Harvard Business Review (แบบจ่ายตังค์) แล้วรู้สึกว่าอันนี้เราได้ความรู้ดี เลยจะขอเอามาย่อย เป็นอาหารสมองเหมือนเดิมให้กับเพื่อนๆอ่าน สนุกๆและเป็นเกร็ดความรู้กันน้าา :)
เกริ่นๆ .... จริงนี่ก็เป็นระยะเวลา 4 เดือนแล้วเนาะที่เจ้าโควิดหมุนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ และ พี่จีนก็เป็นที่แรกที่ได้รับผลกระทบก่อน เกือบ ครึ่งเดือนก่อนหน้าที่ประเทศอื่นๆจะเจอกัน
โดยในบทความที่เพื่อนๆจะได้อ่านนี้ เราจะได้ไปเรียนรู้ด้วยกันจากข้อมูลที่มาจากการสัมภาษณ์ของ 20 คน จาก 20 บริษัท ชั้นนำ ขนาดเล็ก กลาง และ ระหว่างประเทศของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ว่าเค้ารับมือกันอย่างไร และผ่านกันมาอย่างไร โดย HBR เองได้สรุปเอาไว้ที่ 10 ข้อ
แต่ก่อนที่จะไป 10 ข้อ เราขอสรุปสั้นๆ ถึง กลยุทธ์หัวใจหลักๆที่พวกเค้าเหล่านี้ใช้กันหลังเกิดเหตุการณ์ Covid
- การปรับตัวอย่างรวดเร็วสำหรับเทคโนโลยีของบริษัท ให้เข้ากับยุคสมัย
- เปลี่ยนแปลง Business Model ทั้งหมด
- ได้เวลาหันกลับมาทบทวน Feedback จากลูกค้า ที่บริษัทมองข้าม
- ปรับการทำงานในรุปแบบของ Teamwork ใหม่
ทีนี้เพื่อนๆก็จะเห็นภาพสรุปสั้นๆก่อนเนอะว่า จริงๆแล้วใจความของเค้ามุ่งไปที่เรื่องไหนกันเป็นหลัก อะถ้าพร้อมแล้ว ไปดู 10 บทเรียนเลยย (โดยแบ่งเป็น 2 ตอนน้าาาาา จะได้ไม่มึน 555)
1. Be Transparent โปร่งใส และเปิดใจ ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งกับพนักงานและลูกค้า
- โดยผู้นำเกือบ 20 กว่าบริษัทในประเทศจีนนี้ ได้พูดถึงบทเรียนข้อนี้กันแทบทุกคนเลย และได้มีการเน้นย้ำว่า ไม่เพียงแค่บอกหรือแถลงไตรมาสละครั้ง
แต่วิธีที่ดีคือ การที่สามารถสื่อสารออกไปได้ถี่ ตรง และ ไม่เป็นทางการมาก จะช่วยทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานนั้นดีขึ้น รวมถึงความเชื่อมั่นของลูกค้า เพราะว่าพวกเค้าจะได้อัพเดทอยู่ตลอดเวลาและรู้ด้วยว่าบริษัทไม่ได้ปิดบังความจริงอะไร
- ตัวอย่างที่ดีคือ CEO ควรออกมาพูดด้วยตัวเอง เช่น ถึงเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีการจ้างพนักงานในแผนก "A" ออก ? ทำไมตำแหน่ง (role) นี้ถึงได้อยู่กันเยอะ ? เพื่อที่พนักงานจะได้เข้าใจความสำคัญของหน้าที่ตัวเอง และในขณะเดียวกัน บริษัทก็ไม่ได้ปิดบังว่ามีการจ้างออกจริงๆ
อะไรคือ Challenge ของข้อนี้ ?
- ผู้บริการเกือบ 90% ของผู้สัมภาษณ์นี้บอกว่า การพูดเรื่องการ Transparent น่ะ มันดูเหมือนง้ายง่ายยย แต่ในมุมมองผู้บริหารแล้ว ทำยากมากเกือบที่สุด
เพราะเอาเข้าจริงๆ การจะตัดสินใจเรื่องการยุปตำแหน่ง ปิดแผนกเนี่ย ต้องอาศัยการบริหารที่เชื่อว่าไม่มีใครชอบ "Micro-manage" นั้นเองง (เราก็ไม่ชอบแงง) เพราะมันเหมือนมีคนมาจับผิดทุกขั้นตอนนี้เอง แต่เค้าก็ต้องทำเพราะไม่งั้นจะไม่สามารถเห็นคุณค่าได้เลยว่า แผนกไหนได้ไปต่อ แผนกไหนจำเป็นที่จะต้องปิด?
- 100% ของผู้บริหารที่สัมภาษณ์นี้รู้ตัวกันหมดว่า โดนกลุ่มลูกจ้างแสดงความไม่พอใจและต่อต้านอยู่ลับหลัง พวกเค้ารู้ทั้งหมดนี้ละ แต่ในเหตุการณ์สุดวิสัยแบบนี้ เค้าคงทำอะไรไม่ได้ดีไปกว่าการช่วยให้อีก 60-70% ของบริษัทที่ต้องเดินหน้าต่อ
2. ปรับวิธีการสื่อสารใหม่ ! เน้นความเป็นกันเอง และ ลดการส่งเมล์
- ผู้บริหารส่วนใหญ่จะเลือกวิธีการ ลดความเป็นทางการ และ ลดระยะห่างระหว่าง แผนกบริหาร และแผนกปฏิบัติการ
- โดยแทนที่จะใช้เมล์ในการสื่อสาร ผ่านตัวอักษรที่ยาววเป็น essay
พวกเค้ากลับเลือกใช้แอพ Chat อย่าง Wechat, Dingtalk แทน หรือการใช้ Video conference เพื่อให้พนักงานได้ถามคำถามแบบ Live เลยก็มีเยอะ
อะไรคือ Challenge ของข้อนี้ ?
- กรณีที่บริษัทนั้นๆมีผู้บริหารเป็นคนต่างประเทศ(นอกจีน) ละก็ การติดต่อก็จะลำบากขึ้น เพราะว่าในจีนแผ่นดินใหญ่เอง จำกัดให้ใช้ได้เพียงแค่ Chinese chat apps เท่านั้น
1
3. สนับสนุนการปรับองค์กรให้เค้ากับ Digital Era ! หรือ Digital Transformation
- ในสถานการณ์แบบนี้ จะมีอะไรที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ดีไปกว่า สื่อออนไลน์ หรือ แอพพลิเคชั่นละ ? !
- Speed ความรวดเร็วทั้งการใช้งาน และ การสื่อสาร ต้องถึงมือลูกค้าให้เร็วที่สุด. Speed ได้กลายเป็น 1 ใน competitive advantage แล้วนี่เอง
- และจุดประสงค์สำคัญต่อมาคือ การทำ Cost-saving จากการนำมาใช้ของ Technology หรือ innovation และเป็นที่มาของการลดจำนวนพนักงานด้วย
ตัวอย่าง
- บริษัท New Oriental Group ที่เกี่ยวกับการศึกษาได้บอกระหว่างสัมภาษณ์ว่า พวกเค้าใช้เวลามาเกือบ 2 ปี ในช่วงที่ผ่านมาเพื่อผลักดันให้กลุ่มผู้ปกคองเริ่มหันมาสมัคร Online course หรือ Live streaming platform ให้กับลูกๆ และด้วยประโยชน์ของการปรับตัวให้เข้ากับ Digital platform ก่อนนี่เอง เลยทำให้ New Oriental Group สามารถผ่านความยากลำบากตอนนี้ไปได้อย่างไม่ยาก
- New Oriental Group ได้เปิดการเรียนการสอนออนไลน์ Live streamingที่รองรับนักเรียนจำนวน 1 ล้านคนได้เรียบร้อยแล้ว
New Oriental Group Building
4. การเปลี่ยนรูปแบบการบริหาร การตัดสินใจ หรือ อำนาจ ขององค์กร
- อ้ะ ! อาจจะงงกันเล็กน้อย คือยั่งงี้ๆ ในประเทศจีนเนี่ย จริงๆเค้านิยมการบริการ และการกระจายอำนาจแบบ บนสู่ล่าง (Top-down manage) และแน่นอนว่า กว่าจะได้รับอนุมัติเนี่ย ต้องมีการส่งให้Asso. Mng >>Manager>> Director >> Vice President >> CEO ประมาณนี้ ทำอะไรก็จะช้าไปเสียหมด
- แต่ด้วยการทำ Digital Transformation นี้ละ ที่จะทำให้ระบบ automation เข้ามาช่วยทำงานและแทนที่ขั้นตอนการอนุมัติที่หลากหลายเหล่านี้ให้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง
- Ping An Bank
ได้ใช้วิธีการ "data-oriented operation" โดยการโฟกัสลงไปที่แผนก IT เพื่อที่จะปรับปรุงองค์กรให้ก้าวหน้าตามยุค Digital และผลคือ Ping An สามารถแก้ระบบของการบริหารด้วยการกระจายอำนาจแบบพีรามิดลงได้
และยังปรับให้ Middle management มีโครงสร้างเป็นลักษณะ Flat organisation chart (คล้าย U.S. company) และด้วยการปรับตัวอันนี้แหละ เลยทำให้ Ping An โดนกระทบจากโควิดแต่สามารถตั้งรับได้ดีมาก
1
Ping An Bank
- Yili Group
เป็นบริษัทผลิตนมเจ้าใหญ่ของจีนเลยละ ซึ่งในระหว่างช่วง Shutdown ที่ผ่านมา พวกเค้าประสบปัญหาในเรื่องของ Logistic และ Transportation มากๆเลย
ไหนจะต้องติดต่อไปยังฟาร์ม พ่อค้า หรือแม้กระทั่งส่งนมไปยังร้านค้าต่าง โดยที่ถนนต่างมีการปิดอย่างเข้มงวด
ซึ่ง Yili Group ได้ทำการให้อำนาจการตัดสินใจต่างๆ ขึ้นอยู่กับตัวพนักงานเองโดยตรง โดยเจ้าหน้าที่ประจำสาขาต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเพียงแค่ Front line manager สามารถมีอำนาจได้การตัดสินใจได้เอง โดยไม่ต้องขอ Middle management ถ้าเขาพบเจอเหตุการ์เกี่ยวกับ การปิดถนน การเลี่ยงเมือง หรือ Stock สินค้า หรือความเสี่ยงต่างๆ ในช่วง Lockdown นี้ ซึ่งนั้นทำให้พวกเค้าสามารถดำเนินธุรกิจไปต่อได้ในช่วงเวลาแบบนี้
Yili Diary Group
จากตัวอย่างของ Yili Group เพื่อนๆจะเห็นได้เลยว่า เราไม่จำเป็นต้องรอพึ้งเพียงแค่ Innovation อย่างเดียว แต่การที่ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้เข้ากับเหตุการณ์ก็ส่งผลสำคัญให้องค์กรเดินไปข้างหน้าต่อในวิกฤตแบบนี้ได้เน้อะ
PAUSE ก่อน ! เพื่อนๆอาจจะตาลายกันแล้ว
เอาเป็นว่า เดี๋ยวเรายกบทเรียนที่เหลือ ไปเขียนไว้ในตอน 2 ต่อละกัน
ตามอ่านกันต่อน้า ถ้าเพื่อนๆชอบ :)
โฆษณา