7 มิ.ย. 2020 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
[CHAPTER 16] – PART 3
Perfect design By Early Management
กลับมาเจอกันกับ Part ที่ 3 หลังจากผ่านไป 2 Part หวังว่าทุกท่านจะพอเข้าใจรายละเอียดของเสา EM มากขึ้น และสามารถที่จะเริ่มต้นได้ถูกทาง ตรงเป้าหมายที่ทางเสา EM คาดหวังเอาไว้ จาก Part ที่ 2 หลังจากกลับไปอ่านย้อนไปย้อนมาผมว่าผมน่าจะใส่เนื้อหารายละเอียดเยอะไปจนคนที่เริ่มต้นอ่านจะสับสนกับการเดินกิจกรรม เอาเป็นว่าใน Part ที่ 3 และ Part อื่น ๆ จะพยายามลดเรื่องทฤษฎีที่เป็นทางการแต่จะพยายามอธิบายในเชิงปฏิบัติจริงให้มากที่สุดตามรูปแบบการเขียนแบบผมเนียแหละ นั้นเรามาต่อใน Part ที่ 3 เลยละกัน
กระบวนการที่ [2] การจัดการเครื่องจักรก่อนการผลิต (Early Equipment Management) ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลัก ๆ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเริ่มต้นพัฒนาเครื่องจักรและการออกแบบ (Initial Machine Development & Design)
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดภารกิจการออกแบบเครื่องจักร (Design Mission)
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการทีละขั้นตอน (Step-by-Step Management)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินในขั้นต้น (Preliminary Evaluation)
ขั้นตอนที่ 5 การเก็บรวบรวมและใช้งานข้อมูลการป้องกันการบำรุงรักษา (Collecting and Using Maintenance Prevention (MP) Data)
จาก 5 ขั้นที่กล่าวมา เป็นเพียง Step หยาบ ๆของการจัดการเครื่องจักรก่อนการผลิตเท่านั้น เรามาดูกันว่าแต่ละขั้นตอนของกระบวนการที่ [2] การจัดการเครื่องจักรก่อนการผลิตมีรายละเอียดอะไรบ้าง มาดูกัน
ขั้นตอนที่ 1 การเริ่มต้นพัฒนาเครื่องจักรและการออกแบบ (Initial Machine Development & Design) เพื่อให้ได้ประโยขน์มากที่สุด เราต้องเข้าใจสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาต่าง ๆที่เกิดกับเครื่องจักรเก่า ที่มีใช้ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Breakdown ,Quality, Accident รวมถึงสิ่งที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปในอดีตทั้งได้ผลสำเร็จ และเสียเปล่า เพื่อนำมาเป็นข้อมูลตั้งต้นในการเริ่ม Review และมากำหนดเป้ากับ New machine ใหม่
ตัวอย่างแบบฟอร์ม MP Information sheet
อีก 1 ตัวอย่างการเขียน MP Information sheet
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดภารกิจการออกแบบเครื่องจักร (Design Mission) ก่อนที่จะมีการออกแบบ ทีมออกแบบจะต้องกำหนดเป้าหมายแนวทางคร่าว ๆ และมี Action Plan สำหรับที่จะสามารถเดินตามแผนได้อย่างมีเป้าหมาย และเพื่อจะให้แผนบรรลุผลสิ่งที่ต้อง Focus คือกระบวนการหรือแนวทางที่จะพัฒนาคุณภาพจากเครื่องจักรที่ออกแบบ รวมถึงควบคุมต้นทุนการออกแบบก่อนการผลิต และต้นทุนที่จะส่งผลหลังจากการผลิต (LCC) หลังจากเราได้ตั้งเป้าหมายและต้นทุนแล้ว แนวทางต่อไปคือกำหนดวิธีที่จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้สำเร็จ หลักสำคัญคือ แนวคิด วิธีการ กลยุทธ ที่ชัดเจนรวมถึงเทคนิคสำคัญที่จะนำมาใช้ เป้าหมายต่าง ๆ จะไร้ค่าถ้าแผนต่าง ๆ ที่วางไว้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานที่เป็นจริงที่จะนำมาปฏิบัติได้
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการทีละขั้นตอน (Step-by-Step Management) เมื่อวิธีการประกอบและแบบเครื่องจักรได้ข้อสรุปชัดเจน การออกแบบของจริง เราจะต้องควบคุมกระบวนการจัดการเครื่องจักรก่อนการผลิตอย่างรัดกุม ทำการค้นหาจุดบกพร่อง (Debugging) ในทุกขั้นตอน จากการทบทวนวิธีการประกอบและข้อกำหนดเครื่องจักร จนกระทั่งเริ่มใช้งานเครื่องจักร กระบวนการนี้เรียกว่า การดำเนินงานทีละขั้นตอนส่วนใหญ่ในกระบวนการนี้จะต้องผ่านกระบวนการ Design Review แต่จะมีการ Design review กี่ครั้งก็ตาม ขึ้นอยู่ว่าการ Design แต่ละครั้งเราจะออกแบบเครื่องจักรใหม่ ๆ ได้ครอบคลุมสิ่งที่เราตั้งเป้าไว้มากแค่ไหน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินในขั้นต้น (Preliminary Evaluation) ในขั้นนี้เป็นการเริ่มศึกษาทางเทคนิคของวิธีการประกอบและข้อกำหนดเครื่องจักรที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุผลตามภาระกิจ การเกิดข้อผิดพลาดและศึกษาไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อเครื่องจักรอย่างมาก ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนตลอดการใช้งานจะประเมินได้ในขั้นตอนนี้
เพื่อบรรลุภาระกิจการออกแบบ ควรจะประเมินอย่างรอบคอบ (Design Review) สำหรับวิธีการประกอบและแบบเครื่องจักรที่ต้องการในระยะยาว ระบุปัญหาที่พบเห็นและแก้ไขวิธีการประกอบและแบบเครื่องจักรเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือการแตกรายละเอียดกระบวนการประเมินขั้นต้น ออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของวิธีการประกอบเครื่องจักร (Fabrication Method) และอีกส่วนคือ แบบเครื่องจักร (Equipment Specification)
ขั้นตอนที่ 5 การเก็บรวบรวมและใช้งานข้อมูลการป้องกันการบำรุงรักษา (Collecting and Using Maintenance Prevention (MP) Data) ขณะกำลังพัฒนาและออกแบบเครื่องจักรใหม่ ไม่ควรมองข้ามความจำเป็นในการรวบรวมและใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องจักรที่มีแต่ก่อน ศึกษาข้อแนะนำในการปรับปรุงสำหรับเครื่องจักรและลองพยายามดู ถ้าทำได้เพื่อใส่หัวข้อปรับปรุงที่สำคัญลงไปในการออกแบบครั้งใหม่นี้ กระบวนการป้อนกลับข้อมูลจะทำได้ยากถ้าโอเปอเรเตอร์และช่างซ่อมบำรุงไม่ค่อยได้ทำงานร่วมกับผู้ออกแบบเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรจัดให้มีการร่วมมือระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่ม และจัดระบบการรวบรวมและใช้งานข้อมูลการป้องกันการบำรุงรักษา (MP Data) แล้วใช้ในการออกแบบเครื่องจักรใหม่
นี้คือ 5 ขั้นตอนหลัก ๆของกระบวนการที่ [2] Early Equipment Management แต่ใน 5 ขั้นตอนหลักๆ ถ้ามองในแง่กระบวนการของการออกแบบจริง ๆ ยังมีกระบวนการและเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบยิบย่อยเอามาก ๆ ผมจะยกตัวอย่างคร่าว ๆให้ดูกันครับ
ขั้นตอนการออกแบบ หรือ Flowchart design ประกอบด้วย
1 ขั้นวางแผน
-นโยบาย
-แผนเครื่องจักร
-วิเคราะห์พิจารณาแผนเครื่องจักร
-Design review ครั้งที่1
2 แผนการดำเนินการ
-ตัดสินแผน
-แผนงบประมาณของเครื่องจักร
-สั่งซื้อ
-ตัดสินใจ
-กำหนด Specification ของเครื่องจักร
-Design review ครั้งที่ 2
3 การออกแบบ
-เสนอราคา
-เสนอขอสั่งซื้อ
-ออกแบบพื้นฐาน
-Design review ครั้งที่ 3
-ออกแบบรายละเอียด
-Design review ครั้งที่ 4
4 การสร้างเครื่องจักร
-Machine drawing
-ใบเสนอราคา
-เสนอข้อสั่งซื้อ
5 การทดลองเดินเครื่องจากทีมสร้างเครื่องจักร
6 การติดตั้งเครื่องจักร
-การติดตั้ง
-การปรับแต่งในขณะทดลองเดินเครื่อง
7 การผลิตขั้นต้น
-กำหนดการผลิตขั้นต้น
-การเตรียมการผลิตจริง
-การผลิตจริง
-ยกเลิกการผลิตขั้นต้น
-ส่งมอบ
เป้าหมายคือการ Run vertical startup ได้ 100%
ทั้ง 7 หัวข้อคือ Flowchart การออกแบบหลักๆ ที่จำเป็นในการออกแบบ แต่จริง ๆแล้วแต่ละขั้นตอน Flow ต่าง ๆ อาจจะเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย เช่น วิศวกรรม ผลิต ซ่อมบำรุง คุณภาพเป็นต้น รวมถึงจุด Check point ต่าง ๆที่ต้องกำหนดในกระบวนการการออกแบบเพื่อเป็นเกณฑ์การควบคุม รวมถึงมาตรฐานและเอกสารต่าง ๆ เช่นตัวอย่างการทำ FMEA ,MP sheet ,Improvement sheet ,Process QA matrix , Check sheet เป็นต้น
จากที่อธิบายมาทั้ง นี่คือภาพกิจกรรมเบื้องต้นของกระบวนการที่ [2] หวังว่าทุกท่านจะสามารถนำไปใช้ในการทำงานภาคอุตสาหกรรม หรือกิจกรรม TPM ในบริษัทที่ทุกท่านได้ทำงานอยู่ สำหรับ Part นี้คงขอจบไว้เท่านี้ และมาเจอกันที่ กระบวนการที่ [3] ใน Part หน้า สวัสดีครับ
#นักอุตสาหกรรม #The Syndicate
** ถ้าเห็นว่าบทความมีประโยชน์ ยังไงก็ช่วยแชร์และกดติดตามให้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
บทความ TPM ที่น่าสนใจ
1. [CHAPTER 15] — PART 4 Education and Training Pillar (ET Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5ed4a3163a5fd60c3137f40c
2. [CHAPTER 15] — PART 5
Education and Training Pillar (ET Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5ed4c4a91b0ded0b9c0f5e17
3. [CHAPTER 16]
KAIZEN ให้ได้ผล...ด้วยหลัก 5 GENS https://www.blockdit.com/articles/5ed3c608dc07380ca7b88697
4.[Chapter 16] - PART 1
5.[Chapter 16] - PART 2
โฆษณา