6 มิ.ย. 2020 เวลา 21:58 • ประวัติศาสตร์
ประวัติฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนาม ที่ จังหวัด อุดรธานี
ฐานทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาที่จังหวัดอุดรธานี เป็นที่ตั้งของหน่วย 432nd Tactical Fighter/Reconnaissance Wing และนับเป็นที่ตั้งแห่งเดียวในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของหน่วยนี้ของสหรัฐอเมริกา
หน่วยปฎิบัติการนี้ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยหลายหน่วยคือ หน่วย RF-4C tactical reconnaissance squadron (14th TRS) และหน่วย F-4D tactical fighter squadrons (13th and 555th TFS) 2 หน่วย หน่วยปฎิบัติการ 432nd squadrons ปฎิบัติภาระกิจในการค้นหาและทำลาย หน่วยนี้มีภาระกิจในการถ่ายรูปเป้าหมายทางทหารเพื่อการปฎิบัติการโจมตี
ที่ฐานทัพอุดรธานียังเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการการรบทางอากาศที่ 7 และ 13 ทั้งนี้หน่วยบัญชาการทางอากาศที่ 7 ทำหน้าที่ควบคุมฐานปฎิบัติการทางอากาศของกองกำลังสหรัฐอเมริกา สำหรับหน่วยบัญชาการที่ 13 มีหน้าที่ควบคุมงานด้านการกระจายยุทธปัจจัยและงานบริหารกองทัพ
กองกำลังของสหรัฐอเมริกาในจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ที่ กองบิน 223 ของกองทัพอากาศไทย (The Royal Thai Air Force's 223d Tactical Fighter Squadron ) หน่วย The squadron's T-28 "Trojan" มีส่วนร่วมในการโจมตีสกัดกั้นข้าศึก
หน่วยปฎิบัติการที่สำคัญ
Det 1, 39th ARRS
Det 5, 38th ARRS
Deputy Chief, JUSMAG
10th Weather Squadron
1974th Communications Group
621st Tactical Control Squadron
Det 1, 56th Special Operations Wing
432nd Tactical Reconnaissance Wing
50th Tactical Control Maintenance Squadron
AIRCRAFT ASSIGNED: F-102, RF-4C, F-4D, HC-130, C-130E, C-130B, C-47, HH-43, C-54 and T-28.
RUNWAY LENGTH: 10,000-feet
HOSPITAL FACILITIES: 50-bed modular type hospital.
MILES FROM BANGKOK. 248 air miles northeast
WING MOTTO: "Victory through science"
ประวัติของการปฎิบัติการของกองกำลังสหรัฐอเมริกา จากฐานทัพอากาศ อุดรธานี
หน่วยปฎิบัติการทางอากาศหน่วยแรกของสหรัฐอเมริกาที่เข้าประจำการที่ฐานทัพอากาศ อุดรธานี คือหน่วยปฎิบัติการ 333rd Air Base Squadron ซึ่งเข้ามาประจำการเมื่อเดือน ตุลาคม 1964 โดยรายงานตรงต่อหน่วย 35th Tactical Group ซึ่งตั้งอยู่ที่ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ... ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดการปฎิบัติการอย่างเป็นทางการที่อุดรธานี ได้มีกำลังพลจากหน่วยปฎิบัติการ 35th Tactical Group ถูกส่งเข้าประจำการเป็นการชั่วคราวอยู่ก่อนแล้ว
ต่อมาในวันที่ 18 กรกฎาคม 1965 หน่วยปฎิบัติการ 333rd Air Base Squadron ได้เปลี่ยนเป็นหน่วยปฎิบัติการ 6232nd Combat Support Group (CSG). หน่วยปฎิบัติการนี้รายงานโดยตรงต่อผู้บัญชาการของหน่วย 13th Air Force และหน่วย 6234th Tactical Fighter Wing (TFW) ที่อยู่ที่โคราชซึ่งตอนนั้นเป็นหน่วยปฎิบัติการรบทางอากาศหน่วยเดียวในประเทศไทย
เป้าหมายในการจัดตั้งหน่วยปฎิบัติการทางอากาศที่อุดรธานีก็เพื่อที่จะขยายขอบเขตการปฎิบัติการทางอากาศให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการเพิ่มกำลังพลและเพิ่มโปรแกรมการสนับสนุนการปฎิบัติการของฐานทัพต่างๆในประเทศไทย เดิมการเข้าประจำการที่อุดรธานีของกำลังพลสหรัฐอเมริกาจะเป็นการปฎิบัติการชั่วคราว แต่เมื่อหน่วยนี้ถูกจัดตั้งขึ้นก็ได้มีการจัดกำลังพลประจำเข้าไปทดแทน
ในปี 1965 ได้เริ่มมีโปรแกรมการก่อสร้างค่ายทหารสำหรับกองกำลังสหรัฐอเมริกาในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยอาคารสำนักงาน อาคารกระจายยุทโธปกรณ์ และที่พักของเหล่าทหาร ซึ่งเดิมก่อนที่จะมีการสร้างอาคารที่พักทหารอเมริกันเป็นสัดส่วนอย่างถาวร ทหารอเมริกันที่มาที่นี่จะเข้าพักในส่วนที่เป็นค่ายของทหารไทย
ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1965 หน่วยปฎิบัติการ 6232nd CSG ได้รับมอบหมายให้รายงานโดยตรงต่อผู้ช่วยผู้บัญชาการของหน่วยปฎิบัติการ 2nd Air Division/13th Air และในวันที่ 8 เมษายน 1966 หน่วยนี้ได้เปลี่ยนเป็นหน่วยปฎิบัติการ 630th CSG ซึ่งรายงานโดยตรงต่อผู้ช่วยผู้บัญชาการของหน่วย 7th Air Force/13th Air Force (7/13AF), ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ที่อุดรธานี
ในวันที่ 18 กันยายน 1966 หน่วยปฎิบัติการ 432nd Tactical Reconnaissance Wing (TRW) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยย่อยคือ หน่วย 630th CSG ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหน่วย 432nd CSG หน่วยงานนี้เดิมมีหน่วยรบอยู่ 2 หน่วยคือ the 11th และ 20th, :ซึ่งใช้เครื่องบิน RF-4C and RF-101
ในวันที่ 30 ตุลาคม 1967 หน่วย RF-101 ได้ยุติบทบาทลง แต่มีหน่วยปฎิบัติการ RF-4C squadron, the 14th TRS ขึ้นมาแทน กว่า80 เปอร์เซนต์ของงานสอดแนมข้าศึกในเวียดนามดำเนินการโดยหน่วยปฎิบัติการนี้
นอกจาก 2 หน่วยงานดังกล่าวมาแล้ว ยังมีกองบินรบที่ใช้เครื่องบิน F-4D fighter-bomber aircraft ในการโจมตีกองกำลังเวียดนามเหนือ และหน่วยปฎิบัติการ 13th TFS สามารถทำลายเครื่องบินมิกซ์ของข้าศึกลงได้ 2 ลำ
ในวันที่ 25 เมษายน 1968 Lieutenant General Benjamin O. Davis Jr. ผู้บัญชาการหน่วยปฎิบัติการ 13th Air Force ได้รับการยกย่องและได้รับรับรางวัล the 432nd TRW the Air Force Outstanding Unit Award เนื่องในการปฎิบัติการเยี่ยมยอดในระหว่าง วันที่ 18 กันยายน 1966 ถึง 18 กันยายน 1967 และในวันที่ 28 พฤษภาคม 1968 หน่วยปฎิบัติการ 555th TFS จากอุบลราชธานีได้เข้ามาประจำการที่อุดรธานี จึงทำให้หน่วยปฎิบัติการ 432nd TRW's เป็นหน่วยพิเศษที่ทำหน้าที่ทั้งการสอดแนมข้าศึกและการโจมตีในเวลาเดียวกัน
หน่วยปฎิบัติการ 555th หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Triple Nickel มีสถิติในการทำลายเครื่องบินมิกซ์ได้ถึง 27 ลำและ 7 ลำสุดท้ายของเครื่องมิกซ์ที่ถูกทำลายเป็นการปฎิบัติการจากฐานบินอุดรธานี
ในวันที่ 31 ตุลาคม 1968 หน่วยปฎิบัติการ 7th Airborne Command และ Control Squadron ซึ่งตอนนั้นยังเป็นหน่วยปฎิบัติการชั่วคราว ได้ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของกองบินที่ 432nd และจากการที่มีกองกำลัง C-130 ทำให้หน่วยปฎิบัติการ 432nd TRW ได้ชื่อว่าเป็นกองกำลังที่มีความหลากหลายที่สุดในกองกำลังขนาดเดียวกันในกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา
ในปลายปี 1968 อุดรธานีได้เป็นฐานกำลังของกองกำลังรบทางอากาศถึง 14 หน่วยปฎิบัติการ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1970 Major General Robert L. Petit, ผู้ช่วยผู้บัญชาการหน่วย 7/13 Air Force, ได้รับรางวัล the 432nd TRW the Presidential Unit Citation สำหรับผลงานยอดเยี่ยมและความกล้าหาญในการปฎิบัติงานระหว่างวันที่ 19 กันยายน 1967 ถึง 1 พฤศจิกายน 1968
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 1970 หน่วยปฎิบัติการ 11th TRS ได้กลับไปประจำการที่ฐานทัพอากาศ Shaw AFB, S.C และสิ้นสุดการปฎิบัติการกับหน่วย 432nd TRW ทำให้ที่นี่เหลือแค่ 2 หน่วยปฎิบัติการ คือหน่วย สอดแนม และ the 7th Airborne Command and control squadron
เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 1972 หน่วย Control Squadron ได้กลับไปประจำการที่โคราช หน้าที่หลักของหน่วยงานนี้คือการให้ข้อมูลลับหรือข่าวกรองที่ได้จากการสอดแนมข้าศึกเพื่อให้หน่วยเครื่องบินรบดำเนินการโจมตีและทำลายกองกำลังของฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้หน่วยงานนี้ยังทำหน้าที่สนับสนุนทางการทหารที่สำคัญอีกหลายเรื่อง
หน่วยบัญชาการที่ 7/13AF ของสหรัฐอเมริกาที่จังหวัดอุดรธานี นับได้ว่าได้ทำหน้าที่หลักที่สำคัญในการสนับสนุนสหรัฐอเมริกาให้บรรลุและประสบความสำเร็จตามนโยบายทางทหารที่ตั้งไว้ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
โฆษณา