7 มิ.ย. 2020 เวลา 00:21 • ข่าว
จากเคสของ AIS ผู้ใช้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง? และวิธีป้องกัน!
จากเคสของ AIS ผู้ใช้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง? และวิธีป้องกัน!
โอเค ข่าวนี้มันเก่าแล้ว แต่เราเอามาเล่าใหม่ละกัน
อย่างแรก อะไรหลุดมาบ้าง
หากทุกคนติดตามข่าว ก็อาจรู้กันแล้วครับ จากที่ผมค้นหาข้อมูลจาก
ในอินเตอร์เน็ต มีผู้ที่เข้าใจผิดกันเยอะเลยครับ ก่อนอื่น ผู้ใช้ AIS ใจเย็นก่อนครับ สิ่งที่เขาทำหลุดคือ DNS Query และ Traffic ของ IP Address ถึง
ประมาณ 8,300 ล้านรายการ อย่าเพิ่ง งง กันนะครับ มันบอกอะไรบ้าง มัน
บอกแค่ IP นี้ (ซึ่ง IP เนี่ย ระบุตัวตนได้ยากมาก ๆ เลยครับ) เรียกใช้เว็ปอะไรบ้าง เช่น มันบอกแค่ IP 123.456.789.101 เข้าสู่ www.blockdit.com เมื่อวันที่ 26 ตอน 9 โมง เป็นต้น
พวกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ สิ่งที่เรากรอก ไม่ได้หลุดออกมาครับ ให้พูดง่าย ๆ คือ มันบอกว่า IP เข้าสู่เว็ปไซต์อะไร เมื่อไหร่ แต่ไม่ได้บอกว่าเข้าไปทำอะไร ไปกรอกอะไร หรือไปโอนเงินให้ใคร เป็นต้นครับ ถึงมันจะไม่ได้เป็นอันตราย ตามที่เขารายงานแหละครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่เป็นเรื่องใหญ่ เช่นกัน
ครับ ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถนำ IP ไประบุตัวตนได้ (แต่ยากมากนะครับ) ซึ่ง
มันทำให้รู้ได้ว่าเราเป็นคนแบบไหน นิสัยอย่างไร
ตัวอย่างการเข้าถึงเว็ปไซต์
ผู้ใช้อย่างเรา ได้เรียนรู้อะไร?
แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเนี่ย ผู้ใช้ได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นี้บ้างล่ะ เราควรจะมาสนใจในเรื่องของ Privacy หรือความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น จากข้อมูลที่เราเห็น ถึงเราจะไม่สามารถระบุตัวตนได้ แต่ก็มีผู้ที่ระบุตัวตนได้ครับ นั่นคือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตนั่นแหละครับ ผู้ให้บริการรู้ทุกอย่างเลยว่าเราเบอร์มือ
ถือเรา ใน IP นี้ ชื่อจริงนามสกุลจริงอะไร และเราเข้าเว็ปไซต์อะไรบ้างในแต่ละวัน จากที่เราเห็น แสดงว่า เก็บข้อมูลไว้ทั้งหมดเลยครับ
ตัวอย่างการระบุตำแหน่งจาก IP
วิธีการป้องกัน
ผมหวังว่า ทุก ๆ คนคงจะมาสนใจในเรื่อง Privacy มากขึ้นครับ แล้ว
เรามีวิธีอะไรล่ะครับ ในการป้องกันเรื่องนี้ อย่างแรกเลย เรามาพูดถึงสิ่งที่
เรียกว่า VPN หรือ Virtual Private Network กันครับ ซึ่งในบางครั้ง ก็จะช้า
กว่า หรือเร็วกว่า แล้วแต่สถานการณ์ครับ และยังมีค่าใช้จ่ายด้วยนะ การใช้
VPN คือการเข้ารหัสข้อมูลต่าง ๆ ของเราครับ คือเป็นการใช้ Gateway ของ VPN แทนที่จะใช้ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งปลายทางข้อมูล หรือเซิฟ
เวอร์ ก็จะไม่รู้ว่าต้นทาง (เรา) เป็นใคร จะรู้แค่เราเข้าผ่าน VPN ดังนั้น เราก็
สามารถปลอมแปลงว่าเราอยู่ประเทศอื่นได้ครับ ถ้า Gateway ของ VPN แต่ละเจ้า ว่าอยู่ที่ไหนบ้าง
ตัวอย่างระบบ VPN
VPN ก็ไม่ได้ดีเสมอไปนะครับ มันก็กลายเป็นว่า เราไปเชื่อใจ VPN
แทนที่จะเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ก็ต้องเลือก VPN ดี ๆ แล้วครับ อาจเป็น VPN ที่มีชื่อเสียง ที่จะไม่เก็บข้อมูลเรา หรือไม่ทำข้อมูลเราหลุดครับ
สุดท้ายนี้ ถึงผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตนะครับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะไม่
สามารถเข้ามารู้ได้เกี่ยวกับการกรอกข้อมูล ต่าง ๆ ข้อมูลธนาคาร ในเว็ปไซต์ที่เป็น https โดยสังเกตได้โดยมีสัญลักษณ์ที่เป็นรูปกุญแจ หรือแสดงว่า
ปลอดภัยครับ ดังนั้น ก็สามารถวางใจกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตได้นะครับ
หรือถ้ายังไม่มั่นใจ ก็ใช้ VPN ได้ครับ
ตัวอย่างเว็ปไซต์ที่เข้ารหัส
ผมหวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากโพสต์นี้นะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา