13 มิ.ย. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
🚩 เรื่องราวของสุนัขยอดกตัญญู ตัวนี้ ได้ถูกนำไปทำเป็นหนังด้วย ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสดู บอกเลยว่าน้ำตาผมนี้คลอเบ้าเลยครับ ผมจึงอยากนำเรื่องนี้มาแชร์ ให้ทุกคนได้รับรู้กันครับ 🚩
🚩 สุนัขยอด "กตัญญู" 🐕 ‘ฮาชิโกะ’ 🐕 🚩
👉 ฮาชิโกะ แต่เดิมชื่อ ฮาชิ ลืมตาดูโลกไล่เลี่ยกับพี่น้องอีกสามตัวในเดือนพฤศจิกายน 1923 ที่โรงนาแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของราชอาณาจักรญี่ปุ่น พี่ฮาชินั้นเป็นสุนัข สายพันธุ์อากิตะ (Akita) ซึ่งเป็นพันธุ์สุนัขดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่น 🐕
👉 วันนั้นเป็นวันฟ้าครึ้ม อากาศขมุกขมัว พี่ฮาชิ ที่ขณะนั้นมีอายุได้ 18 เดือน ได้เฝ้ารอการกลับมาของ อุเอโนะ ผู้เป็นนาย ด้วยใจที่จดจ่อ แต่ทว่าในเย็นวันนั้น ศาสตราจารย์อุเอโนะ ก็ไม่ได้ขึ้นรถไฟกลับบ้านมา🐕
👉 พี่ฮาชิซึ่งเป็นสุนัขที่ตัวโตสูงใหญ่มานั่งรอคอยอยู่ที่บริเวณประตูทางเข้าชานชาลาในทุก ๆ เย็นของทุก ๆ วัน พี่ฮาชินั้น นั่งเพียงลำพัง สงบนิ่ง และ ไม่ยอมลุกเดินจากไปไหน เพื่อรอคอยชายผู้เป็นนายที่ไม่มีวันกลับมา 🐕
👉 ในวันที่ 21 เมษายน 1934 ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล ผู้อำนวยการการรถไฟกรุงโตเกียว และนายกเทศมนตรีเขตเมือง
ชิบุยะพร้อมชาวเมืองนับพันคนก็ได้มารวมตัวกันที่สถานีรถไฟชิบุยะ 🐕
👉 เพื่อร่วมกันสดุดีสุนัขยอดกตัญญูอย่าง พี่ฮาชิ หรือฮาชิโกะ (Hachiko) นั้นเอง มีการถ่ายทอดสดพิธีการทางวิทยุ ภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์และสดุดีเสร็จสิ้น ประธานในพิธีได้พาเด็กหญิงวัย 10 ขวบคนหนึ่งเดินผ่านฝูงชนไปยังฐานหินแกรนิตที่มีผ้าคลุมอยู่ 🐕
👉 และเมื่อไปถึง เด็กหญิงตัวน้อย ๆ ก็ค่อย ๆ ดึงผืนผ้าลงมา มีเสียงไชโยโห่ร้องของฝูงชนดังขึ้น เมื่อได้เห็นรูปปั้นของพี่ฮาชิ ซึ่งออกแบบปั้นโดย
เทรุ อันโดะ (Teru Ando) ซึ่งมีขนาดเท่ากับตัวจริง ตั้งเด่นสง่าอยู่บนฐานที่ตั้ง ในขณะที่พี่ฮาชิตัวจริงยังนั่งนัยน์ตาเศร้าสร้อยอยู่ในบริเวณงาน 🐕
👉 พี่ฮาชิ ไม่ได้แสดงความประทับใจอะไรกับภาพงานพิธีที่ถูกจัดขึ้น เมื่อสิ้นสุดพิธีการ แขกที่ได้มาร่วมงานสามารถซื้อของที่ระลึกมากมายภายในร้านค้าบริเวณใกล้เคียงได้ 🐕
👉 ซึ่งได้แก่ แสตมป์ของพี่ฮาชิ ขนมพี่ฮาชิ และอาหารหลากชนิดที่มีชื่อตามสุนัขผู้จงรักและภักดี อย่างน้อยที่สุด พี่ฮาชิ ก็เป็นสุนัขที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นสุนัขที่มีทั้งความเหงาและเศร้าที่สุดด้วยเช่นกัน 🐕
👉 ในเดือนมกราคม 1924 พี่ฮาชิ ของเรานั้นได้ถูกจับใส่ลังขนส่งขึ้นรถไฟเพื่อที่จะได้มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ ทุกอย่างถูกจัดการอย่างเร่งรีบ เนื่องจากสุนัขพันธุ์อากิตะ ปกติแล้วจะต้องทำความรู้จักและคุ้นเคยกับเจ้าของใหม่ให้ได้ภายในระยะเวลาสองเดือน เพื่อความผูกพันจะได้กระชับแน่นยิ่งขึ้น 🐕
👉 เจ้าของคนใหม่ชื่อ ฮิเดะซะบุโระ อุเอโนะ (Hidesaburo Ueno) เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาการเกษตรกรรมของ มหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล ซึ่งศาสตราจารย์อุเอโนะนั้น ไม่มีลูก จึงได้มีเวลาเลี้ยงดู พี่ฮาชิ ได้พูดคุยกันกับพี่ฮาชิ
ได้เล่นกับพี่ฮาชิ และได้คอยป้อนอาหารให้กับ
พี่ฮาชิ อยู่เสมอ ๆ 🐕
👉 พี่ฮาชินั้นได้เติบโตเป็น อากิตะตัวล่ำสัน ความสูงราว ๆ 60 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวกว่า 40 กิโลกรัม ขนดกสีขาวครีมแซมสีเหลืองอ่อน หางห้อย และหูตั้ง 🐕
👉 ทุก ๆ เช้าพี่ฮาชิ มักจะเดินตาม ศาสตราจารย์ เพื่อที่จะส่งเขาไปทำงาน จากบ้านซึ่งไม่ไกลจากสถานีชิบุยะมากนัก และในทุก ๆ เย็นพี่ฮาชิก็จะมานั่งรอคอยเพื่อที่จะรับศาสตราจารย์ กลับบ้านด้วยกันในทุก ๆ วันด้วย ไม่ว่าวันนั้นจะมีพายุฝนหรือแดดออกก็ตาม 🐕
👉 รวมถึงในวันที่ 21 พฤษภาคม 1925 ด้วย ในวันนั้นเป็นวันที่มีฟ้าครึ้ม อากาศขมุกขมัว พี่ฮาชิ ที่ในขณะนั่นมีอายุได้ 18 เดือนแล้ว ก็ได้นั่งคอยเพื่อเฝ้ารอการกลับมาของศาสตราจารย์ อย่างใจจดใจจ่อเหมือนอย่างทุก ๆ วัน 🐕
👉 แต่ทว่าในเย็นวันนั้นศาสตราจารย์ไม่ได้ขึ้นรถไฟกลับมาที่บ้าน เพราะศาสตราจารย์ได้มี ภาวะเส้นเลือดในสมองแตกทำให้เขาเสียชีวิตไปเสียก่อน จึงไม่ได้กลับมาหาพี่ฮาชิแบบในทุก ๆ วันที่ผ่านมา 🐕
👉 และในไม่ช้าบรรดาผู้โดยสารประจำสถานี
ชิบุยะก็มักจะคุ้นเคยกับภาพที่ไม่ชินตา พี่ฮาชิซึ่งเป็นสุนัขตัวสูงใหญ่มานั่งรอคอย ผู้เป็นนาย อยู่ที่บริเวณประตูทางเข้าชานชาลาในทุก ๆ เย็น
พี่ฮาชิ นั่งตามลำพัง สงบนิ่ง ไม่ยอมที่จะลุกเดินไปไหนเลย เพื่อรอคอยชายผู้เป็นนาย ที่ไม่มีวันที่จะได้กลับมาหา พี่ฮาขิ อีกแล้ว 🐕
👉 ช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากศาสตราจารย์อุเอโนะได้เสียชีวิตไปแล้ว พี่ฮาชิ ได้ตกไปอยู่ในความดูแลของญาติฝ่ายภรรยาของศาสตราจารย์ แต่ทว่า พอตกเย็นทีไร พี่ฮาชินั้นก็มักจะวิ่งหนีกลับมาเฝ้ารอผู้เป็นนาย ผู้ที่คุ้นเคยอยู่ในทุก ๆ วัน 🐕
👉 สุดท้าย พี่ฮาชิ ต้องถูกนำไปฝากไว้กับคนสวนของครอบครัวศาสตราจารย์อุเอโนะ ซึ่งพักอาศัยอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟชิบุยะ 🐕
👉 ความจริงแล้ว พี่ฮาชิ นั้นก็ไม่ได้เป็นที่รักใคร่ของทุกคนในสถานีรถไฟหรอกนะครับ บ่อยครั้งเลยล่ะที่ ผู้โดยสารมักจะบ่นเรื่องนี้กับเจ้าหน้าที่ แม้แต่พนักงานสถานีรถไฟเองก็ไม่ได้ปฏิบัติต่อ
พี่ฮาชิดีนักสักเท่าไหร่ 🐕
👉 บางครั้ง พี่ฮาชิ ก็จะโดนเตะ โดนตี บ้าง
บางครั้งก็จะมีคนเอาสีไปป้ายทาตามตัว ของ
พี่ฮาชิ ด้วย แต่ทว่า พี่ฮาชิ ขอวเรานั่นก็ไม่เคยจะแสดงท่าทีที่ดู ดุดันแข็งขืนเลยแม้แต่น้อย มีเพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้นเองที่ดีกับ พี่ฮาชิ และคอยจัดหาอาหารให้บ้าง 🐕
👉 ในปี 1932 ผู้คนก็เริ่มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และหันมาปฏิบัติดีต่อ พี่ฮาชิ และเมื่อหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง โตเกียว อะซะฮิ-ชิมบุน ลงบทความ ‘เรื่องราวของสุนัขที่เศร้าสร้อย’ 🐕
👉 เพียงแค่ชั่วข้ามคืน พี่ฮาชินั้น ก็ได้กลายเป็นสุนัขที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ซาอิโตะ ฮิโรกิชิ (Saito Hirokichi) คือชายคนที่ทำให้สื่อมวลชนหันมาสนใจชะตากรรมที่น่าเศร้าของ พี่ฮาชิ 🐕
👉 ฮิโรกิชิพบเห็นสุนัขตัวนี้บนท้องถนนมาโดยตลอดสามปีหลังจากศาสตราจารย์อุเอโนะเสียชีวิต เขามีความสนใจฮาชิเป็นพิเศษ เนื่องจากเขานั้นก็เพิ่งก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์พื้นเมืองญี่ปุ่น ขึ้นมาด้วย🐕
👉 ซึ่งสุนัขอากิตะเป็นหนึ่งในจำนวนพันธุ์สุนัขที่หายากในช่วงเวลานั้น เขาจึงสืบจากการถามไถ่จนได้รับรู้เรื่องราวอันน่าเศร้าเกี่ยวกับ พี่ฮาชิและศาสตราจารย์ 🐕
👉 นับตั้งแต่นั้นมา มีคนจำนวนนับพันนับหมื่นคน ได้พากันเดินมายังสถานีชิบุยะ เพื่อที่จะมาดูสุนัขยอดกตัญญูที่สุดของโลกด้วยตาตนเอง
เด็กนักเรียนลูบหัวฮาชิอย่างรักใคร่ สัตวแพทย์อาสามาช่วยตรวจสุขภาพให้กับ พี่ฮาชิด้วย🐕
👉 ส่วนคนทั่วไปนั้นก็มีดอกไม้และอาหารติดไม้ติดมือมาฝากด้วย แม้กระทั่งจักรพรรดินีเองท่านยังทรงตรัสเสียพระทัยกับชะตากรรมอันน่าเศร้าใจของ พี่ฮาชิ ด้วย 🐕
👉 และนับตั้งแต่นั้นมา พี่ฮาชิ ของเราก็ได้รับอนุญาตให้เดินเข้าออกภายในสถานีได้อย่างอิสระ มีพนักงานสถานีอาสาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล และมีการจัดที่หลับที่นอนให้กับคนสวนของศาสตราจารย์ที่ป่วยออดๆ แอดๆ และ พี่ฮาชิภายในห้องเก็บพัสดุอีกด้วย 🐕
👉 ชื่อของพี่ฮาชิได้รับการเรียกขานใหม่เป็น ‘ฮาชิ-โกะ’ นับแต่นั้นเช่นกัน ซึ่งคำว่า ‘โกะ’ ในภาษาญี่ปุ่นนั่นมีความหมายว่า ‘เจ้าชาย’ หรือ ‘นายน้อย’ นั่นเอง ตั้งแต่นั้นก็เริ่มมีเพลงฮาชิโกะด้วย🐕
👉 มีบทกวีที่เขียนถึงสุนัขยอดกตัญญูตัวนี้ ที่ร้านค้าบริเวณรอบสถานีด้วย และเริ่มมีสินค้าเกี่ยวกับสุนัขวางขาย ไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลตฮาชิโกะ เค้กฮาชิโกะ หรือตุ๊กตาสำหรับสุนัขล้วนมียอดขายเป็นลำดับต้น ๆ เลยทีเดียว 🐕
👉 ความโด่งดังของพี่ฮาชิ ได้มาถึงจุดสูงสุดครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1934 เมื่อได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการอนุสรณ์สถานฮาชิโกะขึ้น มีการระดมเงินบริจาค ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากเด็กนักเรียนจนถึงคนสูงวัย และชาวญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ 🐕
👉 หลาย ๆ คนมีเจตจำนงที่จะให้แบ่งเงินบริจาคส่วนหนึ่งไว้ซื้ออาหารที่พี่ฮาชิชอบ และในอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสร้างรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ 🐕
👉 พี่ฮาชิเองไม่ได้รู้สึกรู้สมอะไรกับสังคมที่กำลังแตกตื่น และยังคงเฝ้ารอการกลับมาของผู้เป็นนายต่อไปเรื่อย ๆ วันแล้ววันเล่า ผ่านวันเวลาไปเกือบสิบปี สุขภาพร่างกายของพี่ฮาชิก็เริ่มจะเริ่มถดถอย 🐕
👉 หลังจากป่วยหนักในปี 1929 อาการหูข้างซ้ายของพี่ฮาชิก็ไม่ค่อยสู้ดีนัก
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม 1935 ก็ได้มีคนพบศพของพี่ฮาชิ นอนตายอยู่บนถนนแคบ ๆ สายหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครเคยเห็นเลยว่าพี่ฮาชิเคยไปสัญจร เรื่องเล่าขานต่าง ๆ นา ๆ จึงปรากฏขึ้น…🐕
👉 เจ้าของร้านเหล้าคนหนึ่งบอกว่า พี่ฮาชิน่าจะอยากเดินไปยังสุสานที่ฝังศพของศาสตราจารย์
อุเอโนะ ผู้เป็นนาย ส่วนคนอื่น ๆ คิดว่าพี่ฮาชิคงอยากจะสิ้นใจตายแต่ตามลำพัง 🐕
👉 ในวันที่ 9 มีนาคม 1935 ผู้คนจำนวนนับพัน ได้แห่แหนกันมายังสถานีชิบุยะอีกครั้ง เพื่อนำดอกไม้มาวางประดับ มีพระมาสวดส่งวิญญาณให้กับพี่ฮาชิ 🐕
👉 ร่างของพี่ฮาชิ ได้รับการถนอมไว้ด้วยวิธีการสตัฟฟ์ ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว มีป้ายอนุสรณ์ของพี่ฮาชิ ตั้งอยู่ในสุสานอะโอะยะมะ🐕
👉 ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพเดียวกันกับศาสตราจารย์อุเอโนะ ผู้เป็นนาย และยังมีอนุสาวรีย์ซึ่งเป็นรูปปั้นทองสัมฤทธิ์อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟชิบุยะ บริเวณที่พี่ฮาชินั่นได้เคยนั่งรอผู้เป็นนายด้วย 🐕
👉👉 ตราบถึงทุกวันนี้ พี่ฮาชิยังถือเป็นตัวอย่างของความกตัญญูและจงรักภักดีที่สังคมชาวญี่ปุ่นให้การยกย่อง 🐕🐕
🙏 ขอขอบพระคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับ 🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา