9 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • สุขภาพ
สุดอันตราย! ทำความรู้จักกับ 'อีโบลา' โรคมรณะที่ยังไม่มียารักษา
ทำความรู้จักกับกับ ‘อีโบลา’ ไวรัสร้ายที่มีต้นกำเนิดจากทวีปแอฟริกา
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอีโบลาเริ่มต้นจากสัตว์และแพร่กระจายสู่มนุษย์ แม้ไม่ทราบที่มาแน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าค้างคาวเป็นพาหะของเชื้อไวรัสอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเชื้อไวรัสอีโบลาสามารถติดต่อผ่านมนุษย์ด้วยการสัมผัสร่างกายหรือสารคัดหลั่ง หรือจากการที่มนุษย์กินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลาเข้าไป การมีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้เข็มร่วมกัน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยความเสี่ยงในการแพร่เชื้อทั้งสิ้น
WIKIPEDIA PD
2. การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นระหว่างปี 2014 -2016 ในแอฟริกาตะวันตก โดยมีผู้ติดเชื้อกว่า 28,600 ราย และเสียชีวิต 11,325 ราย นักวิจัยลงความเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้การแพร่ระบาดรุนแรงเกิดจากความขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และขาดการเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือการแพร่ระบาดของโรค เนื่องจากในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกกำลังฟื้นตัวจากสงครามกลางเมืองที่กินระยะเวลามานานหลายปี
1
WIKIPEDIA PD
3. จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่าไวรัสอีโบลาเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และได้รายงานว่าอัตราเฉลี่ยของผู้ที่เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลาอยู่ที่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่จำนวนตัวเลขดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของโรค นักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ทำไมบางคนถึงรอดชีวิต แต่บางคนถึงไม่รอดชีวิต แต่เชื่อว่าการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้
WIKIPEDIA PD
4. หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าในตอนนี้ได้มีการทดลองวัคซีน ‘rVSV-ZEBOV’ ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อใช้ป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา โดยได้ทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 5,837 ราย โดยเจ้าวัคซีนตัวนี้จะเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสอีโบลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มีผลข้างเคียงก็คือ ผู้ที่ฉีดวัคซีนเข้าไปมักมีอาการป่วยเป็นไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ
5. แม้จะเริ่มคิดค้นวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา แต่ยังไม่มีตัวยาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่ยังมีการทดลองทางการแพทย์ ที่ได้มีการใช้วิธีการรักษาหลากหลายรูปแบบเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำเกลือ ให้ออกซิเจนพิเศษ การรักษาระดับความดันโลหิต และการเปลี่ยนถ่ายเลือด รวมไปถึงให้ยารักษาโรคในช่องปากเพื่อลดอาการสูญเสียน้ำจากอาการอาเจียนและท้องเสีย และในตอนนี้ได้มีการทดลองใช้ตัวยาทดลอง 3 ตัว ได้แก่ ZMapp, mAb 113, GS-5734 และ REGN-EB3 ให้กับผู้ป่วยในกลุ่มประเทศเสี่ยงของทวีปแอฟริกาไปบ้างแล้ว
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา