9 มิ.ย. 2020 เวลา 09:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
'งูก้นขบ' ตำนานงูสองหัว ปากกัดหางต่อย แต่มันไม่พิษ
WIKIPEDIA CC BY W.A. DJATMIKO
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
งูก้นขบ สามารถพบได้ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน มันมักจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ชื้น หรือใกล้แหล่งน้ำ โดยรูปร่างภายนอกมีลักษณะคล้ายปลาไหล แต่จะมีลวดลายขาวดำสลับบริเวณท้อง และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในส่วนหางมีความเหมือนกับส่วนหัวเป็นอย่างมาก จนถูกเรียกว่าเป็น “งูสองหัว”
WIKIPEDIA PD
เหตุผลที่ทำให้เราคิดว่างูก้นขบเป็นงูที่อันตรายคือพฤติกรรมในการขู่ของมัน เมื่อถูกคุกคาม มันจะทำตัวแบนราบกับพื้นให้ดูตัวใหญ่ขึ้น ก่อนจะค่อยๆ
ชูหางขึ้นแผ่คล้ายกับการแผ่แม่เบี้ย แต่หางที่ว่านี้มันก็ดันไปคล้ายกับหัวเสียอีก จึงทำให้ดูเหมือนว่ามันกำลังขู่ศัตรูและพร้อมที่จะโจมตี หลายคนจึงคิดว่าเป็นงูที่มีพิษและนิสัยดุร้าย แต่ไม่ใช่เลย!
WIKIPEDIA CC BY W.A. DJATMIKO
เจ้างูก้นขบไม่ใช่งูที่มีพิษ การชูหางขึ้นเพื่อขู่ศัตรูเป็นหนึ่งในกลไกการป้องกันตัวซึ่งส่วนหางของมันก็ไม่ได้มีพิษอย่างที่หลายคนเข้าใจอีกด้วย งูชนิดนี้ถือเป็นงูทีมีชั้นเชิงการหลอกศัตรูในขั้นสูงด้วย “การแกล้งตาย” ซึ่งอาหารหลักของงูก้นขบคือ ไส้เดือน กบ เขียด ปลาไหล หรือสัตว์เล็กๆ เท่านั้น และเป็นงูที่ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ แต่ในทางกลับกันมันถูกมนุษย์ทำร้ายจนตายไป
เสียทุกครั้งเพราะความเข้าใจผิด
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC BY W.A. DJATMIKO

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา