9 มิ.ย. 2020 เวลา 07:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ความรู้คอมพิวเตอร์ ตอน: คุณปู่ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive) VS หนุ่มโซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive) หนึ่งหน้าที่ ต่างวัย]
หัวข้อที่ 2 วันนี้เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเก็บข้อมูลที่นิยมใช้ในคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ สำหรับตัวเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์นั้นมีหน้าที่หลักตามชื่อเลยครับ คือเก็บบันข้อมูลทุกอย่างของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ระบบ (Windows, Mac OS, Linux, etc.) , ไฟล์ส่วนตัว, หรือเกมส์ เป็นต้น
มาเริ่มกันที่เทคโนโลยีเก่าเเล้ว แต่ไฟยังไม่หมดสักทีกันอย่างคุณปู่ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive) ผมขอเรียกสั้นๆว่า HDD
HDD ต้นแบบเริ่มเเรกถูกสร้างขึ้นโดย บริษัท IBM ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) หรือกว่า 64 ปีมาเเล้ว ในสมัยนั้นมีขนาดพอๆกับตู้เย็นเลยทีเดียว และมีความจุแค่ 5 เมกกะไบต์ (Megabytes) ในหลายๆปีต่อมามีการพัฒนาให้อยู่ในเครื่องคอมส่วนบุคคล PC (Personal Computer) ทำให้มีขนาดเล็กลงแบบที่เราเห็นได้ทั่วไปครับ
ต้นแบบ HDD ที่ถูกสร้างขึ้นโดย บริษัท IBM ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499)
HDD ในปัจจุบัน รูปแบบ SATA III
ถึงแม้ HDD มีการอ่านเขียนข้อมูลที่ช้ามากในปัจจุบันด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นมานานมาก หลักการทำงานที่ต้องใช้หัวเข็มในการอ่าน - เขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็กที่หมุนอยูตลอดเวลา การจัดเก็บและเรียกค้น
จะต้องไล่ไปทีละส่วนๆบนเเผ่นจาน ฉนะนั้นเเล้วหากเก็บไฟล์ใหญ่ๆ ขบวนการทำงานจะช้ามากจึงมีข้อจำกัดหลายๆอย่างย่อมธรรมดา
ภายในของ HDD วงกลมแผ่นจานแม่เหล็กที่ใช้บันทึกข้อมูล และหัวเข็มที่ใช้ในการอ่าน - เขียน
หากเทียบราคาต่อจิกกะไบต์ (Gigabytes) นั้นถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก หลายๆคนจึงเอามาใช้เก็บสำรองข้อมูลที่ไม่ได้เรียกใช้บ่อยๆเช่น ไฟล์ภาพ,หนัง,การสำเนาต่างๆ หรือใช้ในเครื่องเซิฟเวอร์ (Sever) แทนที่จะเอาไปติดตั้งไฟล์ระบบ หรือโปรแกรมใหญ่ๆ เพราะเห็นทีว่า HDD จะทำงานหนักซึ่งส่งผลให้ทั้งระบบโดยรวมช้าลงไปด้วย อย่างไรก็ตามมีข้อดีตรงที่มีโอกาสที่จะกู้ข้อมูลของเรากลับคืนมาได้ในกรณีที่ลบออกไปหรือ HDD เกิดเสียหายขึ้นมา
2
อีกมุมนึง หนุ่มเจนใหม่ ไฟแรง อย่าง โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive) หรือ SSD
SSD รูปแบบ SATA III ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
กิดขึ้นเมื่อ ดร. ฟูจิโอะ มาซูโอกะ จากบริษัทโตชิบา (Toshiba) ได้คิดค้นหน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory) สำเร็จ ในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) ซึ่งหน่วยความจำนี้ได้ถูกพัฒนาต่อยอดมาใช้กับ เเฟลชไดร์ (Flash Drive) จนต่อมามีการนำมาต่อๆกันกับแผงวงจรประกอบกันเป็น SSD ซึ่งจะไม่มีจานแม่เหล็กแบบ HDD ทำให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งหลักการทำงานจะเป็นแบบเดียวกับแฟลชไดรว์ (Flash Drive) นั้นเองแต่จะมีขนาดและความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้รองรับกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ จนต่อมาเราก็เห็นการนำหน่วยความจำแบบเเฟลช (Flash Memory) ไปอยู่ในหลายๆอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Laptop, Tablet, เป็นต้น
1
ลักษณะหน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory) ที่ถูกใช้บน SSD แบบ NVMe M.2 ที่มีความเร็วสูงมากในปัจจุบัน
ในหลายปีต่อมาค่ายต่างๆ พากันนำเสนอ SSD ให้ผู้ใช้ทั่วไปได้จับต้องกันด้วยคุณสมบัติของหน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory) คือการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนไหนก็ได้ ถ่ายโอนข้อมูลใหญ่ๆได้ไม่มีปัญหา อัตราการตอบสนองที่เร็วมาก แรงกว่าคุณปู่ HDD หลายเท่าตัว ทำให้การทำงานโดยรวมของระบบดีขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงไม่มีปัญหาข้อมูลเสียหายหากตกกระแทก
ถึงแม้จะมีข้อดีมากมายการใช้งานหน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory) อายุการใช้งานย่อมสั้นกว่า HDD ครับ เพราะการอ่านเขียนลงบนหน่วยเก็บข้อมูล (Cell) ยังมีข้อจำกัดอยู่ หากอ่าน-เขียนบ่อยๆ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่น,ราคา, และการใช้งานอีกด้วย อีกทั้งถ้าหากเราลบข้อมูลไปแล้วหล่ะก็ไม่สามารถที่จะกู้คืนได้แบบ HDD ก็หวังว่าในอนาตจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมาแก้ไขข้อบกพร่อง
ยังไงก็ตามถึงแม้ราคาต่อจิกกะไบต์ (Gigabytes) นั้นถูกลงกว่าเมื่อก่อน แต่ก็ถือว่าราคาค่อนข้างสูง หากซื้อ SSD ขนาด 1 เทระไบต์ TB (Terabyte) 1 ลูก เราก็สามารถซื้อ HDD ได้ 5 ลูก ในขนาดที่เท่ากัน
ทั้งสองถึงแม้จะต่างกันหลายปีในเรื่องของเทคโนโลยี ก็ยังมีข้อดีข้อเสียกันไม่เหมือนกัน ถ้าหากไม่มีข้อบกพร่องจนเกิดการพัฒนา เราคงไม่ได้เห็น SSD ในปัจจุบัน เชื่อเหลือเกินว่าการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตย่อมเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นเสมอครับ
ขอบคุณที่อ่านครับหวังว่าข้อมูลค้นหาและเรียบเรียงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจครับ...
Khon 1995
โฆษณา