8 มิ.ย. 2020 เวลา 16:59
Book Review #6
Fool by Randomness by Nassim Nicholas Taleb (2001)
“ทุกวันนี้เราพึ่งโชคกันมากแค่ไหนครับ”
ในเดือนมีนาคมปีนี้เป็นเหมือนฝันร้ายที่หุ้นถล่มอย่างหนักและสร้างความเสียหายอย่างมาก แต่ว่ากองทุน Universa Tail Fund ที่มี Taleb เป็นที่ปรึกษากลับทำกำไรมหาศาลถึง 3,612% ในเดือนเดียวผ่านการลงทุนลักษณะป้องกันความเสี่ยงขาลงของตลาด โดยกองทุนนี้ออกแบบมาเพื่อเป็น “ส่วนหนึ่ง” ของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของนักลงทุนตามปรัชญาของ tailed risk หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้น้อยๆ แบบเดียวกับการซื้อประกัน สำหรับนักลงทุนที่มีพอร์ตในลักษณะนี้จะไม่ขาดทุนในเวลาที่ตลาดตกรุนแรง และยังทำกำไรได้อีกด้วยครับ
อะไรเป็นแนวความคิดเบื้องหลังพอร์ตของ Taleb และอะไรคือการไม่ยอมให้โชคชะตาที่ “คาดไม่ถึง” มาทำลายการลงทุนของเราวันนี้ของจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Nassim Nicholas Taleb เป็นชาวอเมริกันเชื่อสายเลบานอน ผู้เขียนหนังสือถึง 5 เล่มในซีรีย์ที่มีชื่อว่า Incerto แปลว่า ความไม่แน่นอน
ปรัชญาของเค้าทั้งจากประสบการณ์การทำงานใน Hedge fund, Derivatives trader และด้านการศึกษาเรื่องความเสี่ยง และการสุ่มทำให้ได้แนวคิดที่น่าสนใจมากๆโดย Fooled by Randomness ที่แต่งในปี 2001 เป็นหนังสือเล่มแรกที่สร้างชื่อให้ Taleb อย่างมากด้วยความโดดเด่นในเรื่องของการมองผลตอบแทน ความเสี่ยง และความบังเอิญที่น่าสนใจครับ สำหรับเล่มที่เหลือคือ The Black Swan(2007), The Bed of Procrustes(2010), Antifragile(2012), Skin in the Game(2018) หากมีโอกาสจะมาเล่าเล่มทีเหลือด้วยครับ
หนังสือเล่มนี้มีแปลไทยโดยคุณกิตติรัตน์ พรหมรัตน์ด้วยครับ แต่คิดว่าต้นฉบับน่าจะหาได้ยากมากแล้วครับ
ฉบับแปลไทยครับ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Keyword: Randomness, Skewness, Asymmetry, Probability, Expectation, Black swan, Sandpile effect
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
หนังสือแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 : พูดถึงการโดนความบังเอิญหลอก
- Fooled by Randomness
ยกตัวอย่างของการเล่นรัสเซียนรูเล็ตต์สมมุติว่าให้เรายิงปืนที่มีกระสุน 5 นัดจาก6 ช่องหากเราไม่โดนยิงตายจะได้เงิน 100 ล้าน เกิดมีคนไปเล่นเกมส์นี้และชนะได้จริงๆก็จะ “รวยในช่วงข้ามคืน” และก็อาจจะสามารถมาบอกวิธีที่เค้าทำได้สำเร็จ เช่น ให้ไปไหว้พระวัดนู้น ให้ปรบมือ 3 ครั้งก่อนยิง ซึ่งทำให้เขาสำเร็จได้ครับ
คำถามก็คือซึ่งเหล่านี้เป็นฝืมือหรือโชคครับ? Taleb เสนอให้มองเหตุการณ์เหล่านี้อย่างมีระบบมากขึ้นผ่านสิ่งที่เรียกว่า “กลไกมอนติคาร์โล” หรือก็คือ "ประวัติศาสตร์ทางเลือกที่นับไม่ถ้วน" ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆเลยต้องยกให้ Dr. Strange ที่มองไปในอนาคต 14,000,605 แบบและเห็นทางที่จะชนะได้เพียง 1 วิธีเท่านั้น
ในหนังสือ Taleb ยกตัวอย่างของนักลงทุน 2 คนที่ทำการลงทุนต่างกันในช่วงปีค.ศ. 1990 “เนโร” เป็นคนที่ลงทุนอย่างรอบคอบวิเคราะห์หลักทรัพย์อย่างรอบคอบไม่เคยเสี่ยงเกินไป ความพยายามควบคุมการลงทุนของเขาทำให้ได้ผลตอบแทนราว 7-10%ต่อปี จนทำให้เค้ามีเงินพอสมควร
กับอีกคนหนึ่ง “จอห์น” ที่เป็นนักลงทุนไฟแรงลงทุนกับความเสี่ยงที่สูงโดยลงทุนในพวกพันธบัตรขยะ หรือ "Junk bond" โดยในช่วงเวลาที่ดี จอห์นทำผลตอบแทนมหาศาล และคิดว่าตัวเองเก่งมาก ทั้งๆที่ จอห์นเองไม่ได้มีความรู้ในเรื่อง Junk Bond เหล่านั้นดีพอเลย สุดท้ายหลายปีผ่านไป เนโร ต้องอดทนเห็น จอห์นที่ดูแล้วไมได้ฉลาดกว่าเค้าหรือแม้แต่จะใกล้เคียงเค้าแม้แต่น้อยรวยเอารวยเอา แต่เนโรก็ยังยึดมั่นหลักการเดิม และไม่ไขว้เขว่
ไม่น่าแปลกใจใช่มั้ยครับ สุดท้ายในปี 1998 พันธบัตรหลายประเทศผิดนัดชำระหนี้ และทำให้จอห์นสูญเสียทุกอย่างทั้งบ้าน รถหรู และคอนเลคชันไวน์ของเค้าไปจอหฺ์นคิดว่าโชคชะตากลั่นแกล้งเขา
ส่วนเนโรยังคงลงทุนต่อไปอย่างมั่นคงและมีชีวิตที่ไม่กลัว "โชคชะตา"
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เห็นได้ทุกวันในชีวิตทุกคนครับ บางครั้งการที่มีคนรวยจากการลงทุน หรือการพนัน แม้แต่หวยเอง เป็นเรื่องที่เปรียบเทียบได้ยากมากกับความสามารถส่วนตัว ผิดกับอาชีพเช่น หมอฟัน
หากหมอคนนั้นจบจากโรงเรียนแพทย์มาได้ และทำร้านของตัวเองเราแทบจะสามารถคาดได้เลยว่าหมอคนนั้นจะมีผลลัพธ์ที่ค่อนข้างแน่นอน และต่อให้ทำซ้ำอีกกี่รอบผลก็จะไม่ต่างไปมาก กลับกันการลงทุน หรือการพนันหากเราให้คนคนเดิมทำซ้ำหลายๆรอบผลลัพธ์ที่จะเกิดมันจะหลายหลากมาก อันนี้คือสิ่งที่บอกว่าผลลัพธ์แต่ละวิธีไม่ได้เท่ากัน หรือ "เงินล้านของ 2 คนไม่เท่ากัน" ครับ
ขั่วตรงข้ามของความสามารถ และโชค
- การเบ้ของผลลัพธ์ หรือ Skewness issue และ Asymmetry
แล้วทำไมความบังเอิญจึงหลอกตาเราอยู่เสมอ ส่วนนึงเป็นผลจากการมองสถิติที่เรามักใช้กันก็คือ “ค่าเฉลี่ย” ครับ สมมุติว่าเราบอกว่าหากคนเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงหนึ่งจะมีชีวิตเฉลี่ยได้ราว 8 เดือน แปลว่าคนส่วนมากจะตายที่ 8 เดือนใช่มั้นครับ? คำตอบก็คือไม่ครับ เพราะจะมีคนจำนวนมากที่เสียชีวิตก่อน 8เดือนมากและบางคนก็มีชีวิตไปได้ 5-10ปี การใช้ค่าเฉลี่ยจึงบิดเบือนการมองภาพของเราไปมาก โดยเฉพาะกับ outlier หรือค่าที่เกินไปจากค่าเฉลี่ยอย่างมากที่ทางสถิติมักจะถือว่าเป็นค่าที่ผิดปกติจึงมักถูก “ตัดออกไป”
ประเด็นก็คือ ค่า Outlier เหล่านี้แหละครับ มักจะเกิดผลลัพธ์ที่มหาศาล ลองคิดถึงการเล่นพนันแบบนึงที่ มีโอกาส 999 ใน 1000 ที่จะใด้เงิน 100 บาท แต่มีโอกาสแค่ 1 ใน 1000 ที่จะเสียเงิน 1ล้านบาทมองเผินๆโอกาสที่จะขาดทุนจะเกิดน้อยมากๆ เรียกได้ว่าหากเราเล่นเกมนี้ทั้งปีอาจจะไม่เจอเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ ดังนั้นจะเล่นพนันนี้ก็คงเป็นทางที่ถูกใช่มั้ยครับ แต่นั่นเป็นเพราะเรามองเรื่องของโอกาสและผลลัพธ์แยกจากกันไม่ดีพอครับ
การคิดแบบแยก “โอกาส” กับ “ผลลัพธ์” จะทำให้เราเข้าใจประเด็นนี้ได้ดีขี้นครับ
โอกาสชนะ 999/1000 ได้เงิน 100 บาท
//ผลลัพธ์ 0.999*100 = 99บาท
โอกาสแพ้ 1/1000 เสียเงิน 1,000,000 บาท
//ผลลัพธ์ 0.001*1,000,000 = 10000
ดังนั้นผลลัพธ์คาดหวังจริงๆคือ ขาดทุน 9901บาทครับ
การบอกว่าตลาดจะบวกหรือลบไม่ได้สำคัญเท่ากับผลลัพธ์ที่คาดหวังจากโอกาสเหล่านั้นครับ
สิ่งนี้คือ การเบ้ของโอกาสและผลลัพธ์ที่ไม่เท่ากันครับ Taleb จึงบอกว่ามันไม่สำคัญเลยว่าเราจะมองตลาดเป็น "กระทิง" หรือ "หมี" เพราะการที่บอกว่าโอกาสที่ตลาดจะขึ้น 99% ไม่ได้ทำให้เรารู้ถึง "ผลลัพธ์คาดหวัง" เลยดังนั้นต่อให้เป็นตลาดขาขึ้น แต่โอกาสที่จะเกิดการถล่มเพียง 1 วันและเป็นจำนวนมหาศาลก็จะทำให้เราพังได้ครับ
- เรื่องที่เป็นไปได้แทบไม่ได้ หรือ “Black swan”
และ Problem of Induction
อีกหนึ่งความยุ่งยากของการคาดการณ์ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า
“Problem of induction” ตัวอย่างที่ชัดเจนในหนังสือคือ การที่คนสองคนให้ความเห็นเรื่องหงส์ดำ
ก. ไม่มีหงส์สีดำหรอก : เพราะในชีวิต และประวัติศาสตร์ไม่เคยมีหงส์ดำเลยสักตัว
ข. หงส์ทุกตัวไม่ได้เป็นสีขาวหรอก
เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าการคิดแบบ ก. จะไม่สามารถบอกได้เลยว่าเป็นจริงในตอนนี้เพราะการเจอหงส์ดำเพียงตัวเดียวจะทำให้ ก. ผิดไม่ว่าจะมีหงส์ขาวกี่ตัวบนโลก
แต่กลับกันเราจะบอกได้ว่า ข. อาจจะถูกในเวลานี้ เพราะการเจอหงส์ดำเพียงตัวเดียวก็ทำให้ ข. ถูกและเพราะเราอาจจะยังเห็นหงส์ไม่มากพอจะไปเจอสีดำดังนั้น ข. จึงยังถูกในเวลานี้
ประเด็นทางปรัชญานี้ร่วมกับเรื่องของการเบ้ในผลลัพธ์ และความไม่สมมาตรของการขาดทุน ทำให้เรามักจะเห็นการลงทุนแบบที่ว่า “เรื่องร้ายๆแบบนั้นไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์” ดังนั้นผมไม่มีทางขาดทุน คนเหล่านั้นจะชนะไปจนวันที่เขาแพ้ และสูญเสียทุกอย่าง
คนที่ตระหนักเรื่องเหล่านี้อย่างดีจะสามารถเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ดีขึ้นครับ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ส่วนที่ 2 : อคติที่ส่งผลให้เราไม่เห็นความบังเอิญในผลงาน
- คนตายพูดไม่ได้ หรือ “Survivorship bias”
เวลาเรามองผลงานในปัจจุบันจะมีแนวโน้นที่จะเห็นค่าเฉลี่ย หรือ ผลงานส่วนใหญ่ดีเกินจริงไปมาก เหตุผลสำคัญก็คือ ผู้แพ้จะไม่ได้เล่นเกมส์ต่อ เช่น ผลตอบแทนของ Hedge fund โดนเฉลี่ยจะสูงเพราะคนที่ขาดทุนจนต้องปิดกองทุนไปจะไม่ได้ถูกนำมาคิดค่าเฉลี่ย เช่นเดียวกันกับ Index อย่าง Set 50 หุ้นที่แย่จะถูกคัดออกจาก index ไปทำให้เราเห็นแต่ผู้ชนะครับ
อีกหนึ่งคำพูดที่น่าสนใจคือ “การลงทุนในหุ้นระยะยาวจะให้ผลตอบแทนสูงที่สุด” นับเป็นคำขวัญประจำตัวนักลงทุนเลยทีเดียว Taleb เปรียบเทียบได้อย่างน่าสนใจว่าในปี 1929-1982 หุ้น “โดยเฉลี่ย” ปรับตัวมากกว่า 20 เท่าและในระยะยาวหุ้นจะในผลตอบแทน 10% ต่อปี
สิ่งที่ Taleb พูดก็คือ ด้วยการมองภาพหลังแบบนั้น และพบว่าข้อมูลถูกต้องมาตลอด 50ปี หรือแม้แต่ 100 ปี นั้นจะ “ปลอดภัยหรือไม่” ที่จะนำเงินของกองทุนบำนาญ หรือ แม้แต่ประกันชีวิตมาลงทุนเพื่อ “ผลตอบแทนระยะยาว” นี่คือสิ่งที่เป็น Chronic Survivorship Bias ที่เกิดในสังคม หากลองถามคนที่ลงทุนผ่านช่วงเวลา50ปีนั้น เราจะ “ลืม” คนที่ลงทุนใน Xerox // คนที่ลงทุนในตราสารหนี้ของเลบานอน // คนที่ลงทุนใน Junk bond ทศวรรษ 1980 // คนที่ซื้อหุ้นของญี่ปุ่น/ หรือแม้แต่อนาคตอีกแบบที่หุ้นอาจไม่ได้เป็น “เครื่องมือหลักในการลงทุน” เพราะเรามักจะมองแต่ผู้ชนะ และคนที่ชนะมากที่สุดเท่านั้นจะเป็นที่รู้จักมากที่สุด
- ทำไมสิ่งที่ไม่ได้ดีที่สุดถึงยังอยู่รอดได้ถึงทุกวันนี้?
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในแวดวงการลงทุนผู้ชนะ หรือผู้อยู่รอดจะเป็นคนที่มีความสามารถเสมอไป ต่างกับวงการกีฬา หรือดนตรีที่
คน "ไม่เก่งจริง" ไม่มีทางได้อยู่รอด
ทั้งเรื่องของการสุ่มของผลตอบแทน และการเบ้ของผลตอบแทนทำให้เราอาจจะมองเรื่องนี้ผิดไป ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดคือ คุณคิดว่ามีคนทำผลตอบแทนใน 1 ปีได้มากกว่า warren Buffett หรือ Jim Simons เยอะมั้ยครับ? แน่นอนว่ามีเยอะครับ
การลงทุนไม่เหมือนกีฬาที่คนไม่เก่งจริงจะไม่สามารถวัดกับคนเก่งจริงได้เลยแม้แต่น้อย เพราะการลงทุนเป็นสิ่งที่เรื่องของโชคชะตา และความบังเอิญมีผลมากกว่ากีฬา สิ่งที่จะตัดสินได้ก็คือ "การทำซ้ำ" ครับ เมื่อการลงทุนถูกทำซ้ำเรื่อยๆเป็นเวลานานๆ ประวัติศาสตร์หลายแบบจะถูกฉายซ้ำเรื่อยๆและจะทำให้ผลงานที่แท้จริงปรากฎออกมาในที่สุด
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือสิ่งที่เรียกว่า Sandpile effect เวลาเราก่อปราสาททรายอย่างระมัดระวัง โดยเติมทรายทับทีละน้อยๆไม่ให้โครงสร้างพังลงมา แต่แล้วจะมีจังหวะนึงที่เม็ดทรายทีเกินไปอีกแค่ “เม็ดเดียว” ทำให้ปราสาททั้งหมดฟังลงมาก อันนี้เป็นตัวอย่างของผลลัพธ์ที่ไม่ได้คงเส้นคงวา คือมันจะมีจุดนึงที่ทุกอย่างที่เหมือนจะดีกลับพังทลายไปหมดสิ้น เหมือนที่คำกล่าวยอดฮิต “ธนาคารจะดีไปจนวันที่มันล้มละลาย” การลงทุนก็เช่นกันเราไม่มีทางรู้หรอกว่าเม็ดทรายเม็ดสุดท้ายของเราจะมาถึงเมื่อไหร่ ถ้าเราไม่ตระหนักปราสาททรายของเราจะพังลงมาอย่าง "คาดไม่ถึง"
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ส่วนที่ 3 : แล้วเราควรจะทำยังไงกันดี!?
การแกะเข้าไปในลึกถึงแก่นของโชค และอคติที่อยู่เบื่องหลังของผลลัพธ์ที่เราเห็นจะทำให้เรามองภาพของโลกไปได้กว้างขึ้นมากกว่าแค่มองเห็นผลลัพธ์ที่ปรากฎต่อหน้า การมองทั้งโอกาส และผลลัพธ์ที่ "อาจจะ" เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้จะทำให้เราเข้าใจโลก และการลงทุนมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าปรัชญาการลงทุนของ Taleb จึงเป็นไปในแนวทางของการเล่นกับผลลัพธ์มากกว่าโอกาส Taleb อาจจะขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู๋หลายปี แต่สุดท้ายเมื่อเหตุการณ์ที่ "คาดไม่ถึง" เกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่เค้าทำได้จะชดเชยทุกอย่างแบบที่เกิดในปี 1998 2008 และ 2020 ที่ผ่านมาครับ
- การไม่ยึดติด และการปรับตัว
การลงทุนกับเรื่องไม่คาดฝัน หรือ Tailed risk เป็นการสะท้อนแนวคิดของเค้าที่ชัดเจนทีสุด เหมือนเรื่อง problem of induction แต่เราเองไม่ได้จำเป็นที่จะต้องทำตามเค้าทุกอย่าง ประเด็นก็คือ ขอเสนอของ Taleb ควรจะทำให้เราเตือนตัวเองเสมอว่าเรากำลังหลงในความบังเอิญหรือไม่ เราพร้อมจะปรับตัวพร้อมจะยอมรับว่าตัวเองอาจจะไม่ได้รู้ทุกอย่างเพื่อจะได้ปรับตัว และมีคำตอบว่าเราจัดการรับมือเรื่องคาดไม่ถึงยังไง สิ่งเหล่านี้คือแก่นของหนังสือเล่มนี้ที่ผมคิดครับ
สุดท้ายแล้วเมื่อโลกเต็มไปด้วยโชคชะตา ความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ผมชอบที่สุดของหนังสือเล่มนื้คือ ส่วนสุดท้าย Taleb พูดถึงโดนสรุปคือ จงเป็นตัวคุณที่ดีที่สุดในแต่ละวัน ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคร้ายหรือจะขาดทุนมหาศาล จงอย่าโทษคนอื่นอย่าทำตัวให้ดูน่าสงสาร แม้คุณจะดูด้อยมากเมื่อเทียบกับคนที่สำเร็จคนอื่น เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งเดียวที่หมอดูดวงควบคุมไม่ได้หรือแม้แต่โชคชะตาก็ควบุมไม่ได้ก็คือการเลือกการกระทำของคุณเองครับ
โฆษณา