9 มิ.ย. 2020 เวลา 10:30 • การศึกษา
เรารู้จักดีไหม
การ ประกันชีวิต
Life Insurance
มีประโยชน์ อย่างไร
เครดิตภาพ https://www.hdfclife.com/insurance-knowledge-centre/about-life-insurance/why-term-insurance-is-important
**การประกันชีวิต คือ **
สินค้า ทางการเงิน ที่ให้ความคุ้มครองชีวิต การออม ทันที ในเวลาที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน โดย วิธีการที่ บุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมกัน เฉลี่ยภัย อันเนื่องจาก การตาย การสูญเสีย เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ต้องประสบภัย โดยจะได้รับเงินเฉลี่ย ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ ตนเองและครอบครัว
นัยของกฎหมาย หมายถึง สัญญาต่างตอบแทน "ผู้เอาประกัน" มีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับผู้รับประกัน และเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรืออยู่ครบตามสัญญา "ผู้รับประกัน" มีหน้าที่ต้องจ่ายผลตอบแทน เรียกว่า สินไหม ให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์
การประกันฯ ใช้วิธี บริหารความเสี่ยง โดยการ เฉลี่ยความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นจากคนหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ คน โดยมี ผู้รับประกัน ทำหน้าที่ กระจายความเสี่ยงระหว่างผู้เอาประกันทั้งหมด
ผู้เอาประกันต้องจ่าย "เบี้ยประกัน" ให้แก่ ผู้รับประกันไว้เป็น เงินกองกลาง เมื่อผู้เอาประกัน ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เอาประกัน ผู้รับประกันก็จะนำเงินกองกลางนั้นไปชดใช้
ผู้เกี่ยวข้องใน การประกันชีวิต
1 ผู้รับประกัน เป็นตัวกลางในการรับเบี้ยประกันจากคนหมู่มาก มา
เฉลี่ยให้ผู้เสียหาย
2 ผู้เอาประกัน ใช้ชีวิตและร่างกาย เป็น การประกัน โดยมี หน้าที่จ่าย
เบี้ยประกัน
3 ผู้รับประโยชน์ เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ เมื่อ ผู้เอาประกันถึง
แก่กรรมหรือทำนิติกรรมไม่ได้
ในความหมายของบทความนี้ ผู้รับประกัน ทำหน้าที่รับเงินเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันทั้งหลาย แล้วไปเฉลี่ยชดใช้ ตามสัญญา(กรมธรรม์) ที่ทำไว้
พูดกันให้ง่าย ก็คือ เป็นวงแชร์ชนิดหนึ่ง ที่มีการรับประกันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถูกต้องตามกฎหมาย
การประกันชีวิต คืออะไร
หลังจากที่เรา รับทราบ เกี่ยวกับ ข้อมูลพึงรู้ ของ การประกันชีวิต กันบ้างแล้ว ในบทความนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ การประกันชีวิต
และการทำธุรกิจด้านนี้กัน
ธุรกิจด้านนี้ มี ผู้เปิดบริษัทรับเป็นผู้รับประกัน จำนวนมาก มีการแข่งขันกันสูง ซึ่งจะมีการควบคุมโดยรัฐโดยหน่วยที่ควบคุมนี้เรียกว่า **สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย** โดยมี ชื่อย่อว่า **คปภ.** ซึ่งดูแลทั้ง ธุรกิจการประกันภัย และ ธุรกิจการประกันชีวิต
บริษัทรับประกันชีวิต นี้ จะทำหน้าที่เป็น ตัวกลาง ในการรวบรวมเบี้ยประกันของทุกกรมธรรม์ ในองค์กรเดียวกัน แยกประเภทหมวดหมู่ แล้วนำเงินมาเฉลี่ยให้กับ ผู้เอาประกัน ที่จ่ายเบี้ยประกัน และมีผลตามกฎหมาย โดยเบี้ยประกันที่รวบรวมได้นี้ บริษัทจะเป็นผู้รวบรวมรับผิดชอบ ซึ่งแต่ละบริษัทต้องมีเงินประกันไว้กับรัฐ โดยมีกฎระเบียบมากมาย รวมทั้งต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของ คปภ. ด้วย
ประโยชน์และประเภท ของ ประกันชีวิต
การจ่าย เบี้ยประกัน ไม่เป็นการน่ากลัว ในการ โกงเงินกองกลาง สำหรับ ผู้รับประกัน ในการรับผิดชอบเบี้ยประกันที่จ่ายกันนี้ แต่ที่เรารับทราบกันอยู่เนืองๆ ว่า บริษัทโน้นโกง บริษัทนี้โกง นั้นมันมาจากสาเหตุ
1 การปล่อยข่าว เพื่อ ดิสเครดิต ของคู่แข่งทางการค้า
ข้อนี้ ระหว่าง บริษัทแข่งขันกัน มีทั้งพนักงาน ตัวแทน หรือ องค์กรโดยหน่วยต่างๆ เอง แต่ จริงๆแล้ว มันเป็นเรื่องของ สาระการชดใช้ในกรมธรรม์มากกว่า ซึ่งส่งผลมาจาก ข้อที่ 2
2 การไม่จริงใจ ของ ตัวแทนประกันชีวิต
การไม่จริงใจ ของ ตัวแทนฯ นี้ มาจาก พื้นฐานของตัวแทนฯ เอง ซึ่ง เหมือนกับธุรกิจอื่นๆในโลกในสังคม เนื่องมาจาก ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่ง ก็คือ การเอาตัวรอดในชีวิตก่อน ซึ่ง นิสัยนี้ ติดตัวมนุษย์ มาตั้งแต่เป็นสัตว์เซลล์เดียวอาศัยอยู่ในน้ำ จวบจนพัฒนาการ ตัวเอง จนมาเป็นมนุษย์ทุกวันนี้ ต้องผ่าน การเอาตัวรอด จากธรรมชาติ สัตว์อื่น เผ่าพันธุ์เดียวกันเองฯลฯจึงรอดมาเป็นมนุษย์อย่างทุกวันนี้
2.1 การต้องการขาย กรมธรรม์ เพื่อเอาค่านายหน้า โดย ตัวแทนฯ บอกข้อมูลไม่ตรง
เช่น การบอกลูกค้าว่า จะได้รับโน่นรับนี้ แต่ กรมธรรม์ ที่ออกมา ไม่เป็นดั่งที่เขาว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่อ่านกรมธรรม์ที่ได้รับกันก่อน การเซ็นรับ กรมธรรม์
2.2 การต้องการขาย กรมธรรม์ เพื่อเอาค่านายหน้า โดย ตัวแทนฯ มีความรู้ไม่พอเพียง
เช่น การรวบรัดในการปิดการขาย โดยไม่แนะนำลูกค้า เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ควรทำอย่างไร ติดต่อใคร ซึ่งบางทีลูกค้าที่ไม่ค่อยสนใจ แต่จะให้
ตัวแทนฯบริการตนเอง บางทีตัวแทนฯนั้น ก็อาจจะติดต่อเรื่อง ให้ผิดได้ หรือแม้แต่สาระในกรมธรรม์ก็อาจจะดูผิดได้
2.3 การต้องการขาย กรมธรรม์ เพื่อเอาค่านายหน้า โดย ตัวแทนฯ ดูข้อมูลของลูกค้าไม่รอบคอบ ซึ่งลูกค้าอาจจะทำมาหากินไม่พอเก็บออม
เช่น บางทีไม่มีเคสอุบัติเหตุรวมอยู่ในสาเหตุที่ บริษัทฯไม่ได้รับประกันไว้ แต่ ตัวแทนฯ เคยขายอีก กรมธรรม์หนึ่ง คล้ายๆกัน ก็เลยนึกว่า เหมือนกัน เพราะราคาใกล้กัน ซึ่งจริงๆแล้ว อาจจะเป็นบริษัทฯอาจแถมอย่างอื่นให้ แต่ตัวแทนดูไม่รอบคอบ ก็เลยทำให้ลูกค้าเคลมกับบริษัทฯไม่ได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
2.4 การต้องการขาย กรมธรรม์ เพื่อเอาค่านายหน้า โดย ตัวแทนฯ บิดพริ้วสาระในกรมธรรม์ไม่ตรงกับการขยายให้ผู้เอาประกัน
เช่น ราคาที่แจ้งลูกค้า ว่า รวมทุกอย่างแล้ว ทั้งสุขภาพ และ กรมธรรม์หลัก ซึ่งในกรมธรรม์หลัก ก็อาจขาดบางตัว สุขภาพ ก็อาจขาดบางตัว เหมือนกันหรือ อาจเพราะการเคลมซึ่งอาจจะชดใช้ไม่ถึงที่ตัวแทนฯ ว่ามา แต่ ตัวแทนฯต้องการปิดการขายไว และ ต้องการค่าคอมฯรวมถึงยอดรวมค่าคอมฯ เลยปิดการขายที่ไม่ชัดเจนนี้ ทำให้ลูกค้าเมื่อเกิดเหตุและต้องการเคลมจากบริษัทฯ ได้ไม่ตรงกับการที่ตัวแทนฯ บอกมา
รูปแบบ , ระยะเวลา , หน้าที่ของผู้เอาประกัน , การหักลดหย่อนภาษี
นายหน้าที่ทำการแนะนำ กรมธรรม์ชีวิต นี้ เรียกว่า ตัวแทนประกันชีวิต หรือ ตัวแทนฯ มีหน้าที่แนะนำ รูปแบบและชนิดของกรมธรรม์ในแบบต่างๆ ที่
บริษัทฯได้ออกแบบมา เพื่อขายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่ง ตัวแทนฯนี้ ต้องได้รับใบอนุญาต จาก คปภ. และ มี บริษัทฯ ที่ทำการแนะนำสินค้าอยู่ เป็นผู้รับรองอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งการ ที่จะได้รับใบอนุญาตนี้ ตัวแทนฯ ต้องอบรม และ สอบ จาก คปภ.และ บริษัทฯที่ดูแลตัวแทนอยู่ และ ตัวแทนฯ ก็เปรียบเสมือนฝ่ายขายอิสระของบริษัทฯ ขึ้นตรงกับ แผนกการขายที่เป็นของบริษัทฯเอง ซึ่งแผนกการขายนี้ อาจจะเป็น แผนกอิสระ หรือ แผนกที่ขึ้นตรงกับ แผนกการตลาดของบริษัทฯ ก็อยู่ที่การจัดองค์กรของบริษัทเอง
 
การที่ บริษัทฯ มีหน่วยตัวแทนนี้ เพราะ
1 ไม่ต้องแบกภาระและรับผิดชอบสวัสดิการมาก เหมือนพนักงานทั่วไป
2 ค่าใช้จ่ายในการจ้าง คิดเหมารวมไปในค่าคอมมิสชั่นแล้ว
3 ต้องการ คอนเนคชั่น จาก ตัวแทนฯ โดยสร้างโบนัสล่อใจ ซักวันหนึ่ง ลูกค้าจะแนะนำกันเอง บริษัทฯก็ไม่ต้องเสียค่าคอมฯ
 
มีการ แบ่งสายงาน และ ลำดับการบังคับบัญชาในหมู่ตัวแทนฯ แต่ละบริษัทฯ ซึ่ง บริษัทฯ จะตั้งมาจากการหายอดขาย เป็นลำดับชั้นให้ และมีการช่วยเหลือ แต่ละทีมแต่ละสายงาน ในการพิจารณาจากยอดขาย ดังนั้น ผู้ซึ่งเป็นลูกค้าต้องดูให้รอบเสมอ ว่าใครเป็นใคร แต่โดยจรรยาบรรณ แล้ว จะไม่มีการลดค่านายหน้า ไปในเบี้ยประกัน แต่ละคนอาจมีลูกเล่นเป็นของพรีเมี่ยม หรือ การบริการหลังการขาย มาเป็นเทคนิคในการขายแทน
ความจริงของทุกชีวิต ที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยง
** การจะได้รับ กรมธรรม์ ที่ดี และ ถูกต้อง ตามความต้องการ หลังจาก การปรึกษาและวางแผนกันแล้ว **
1 ต้องทำสัญญาทำกรมธรรม์ กับตัวแทนฯ ที่มี บัตรประจำตัวของบริษัทฯ
โดย ลงวันที่และเนื้อหาสาระ จำนวนเงินที่จ่าย รวมถึง ระยะเวลาการแก้
ไขกรมธรรม์ ให้ตรงกับ ข้อเสนอ ของตัวแทนฯ ที่เสนอมา พร้อมทั้งมี
การเซ็นรับทราบทั้งผู้ซื้อและตัวแทนฯ กำกับ
2 ตรวจชนิดและรูปแบบ ของ กรมธรรม์ ว่าตรงกับที่เราต้องการหรือไม่
3 สาระในรายละเอียดของกรมธรรม์
4 เมื่อตรวจสอบดีแล้วถูกต้อง ก็ยืนยันกับบริษัทฯ แต่ถ้าไม่ถูกต้อง ก็ถก
ปัญหากับตัวแทนฯก่อน แต่ถ้าเขาไม่ทำให้ ก็ แจ้งเพื่อเปลี่ยนแปลงกับ
บริษัทเอง โดยใช้การยืนยันจาก "สัญญาทำกรมธรรม์กับตัวแทนฯ"
ถ้าหาก ทำครบทั้ง 4 ข้อ นี้แล้ว จะไม่มีการผิดพลาด ในการเคลมและรับผลประโยชน์จาก ผู้รับประกัน (จะทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่ตัวท่านเอง เพราะมันคือ ผลประโยชน์ของท่าน)
ซึ่ง การที่ ผู้เขียน เขียนเรื่องนี้ มา ก็เพราะเห็นว่า การประกันชีวิต มันเป็นการบังคับการออมให้กับประชาชน ผู้พอเพียงที่จะเก็บออม และเป็นการแก้ไขปัญหา อันอาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน ซึ่งการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน นั้น ต้องป้องกันตัวเอง เอง ในชีวิต และ จาก ขั้นตอน กลไก ของงานที่ทำอยู่ ว่ามีความปลอดภัยได้มาตรฐานเพียงใด
ดังนั้น ตัวแทนฯ ต้องมีความรู้รอบด้านให้พอเพียง เพื่อวางแผนการใช้เงินและอดออมที่ดี ให้กับลูกค้า โดยเสนอหลายๆแบบ เปรียบเทียบกับสินค้า
ที่มีอยู่ในตลาดแข่งขัน ไม่เฉพาะแต่ รู้จักในสินค้าและบริการที่ตนเองทำอยู่ กับของคู่แข่ง เท่านั้น
บทความ นี้ เมื่ออ่านจบแล้ว ท่านสามารถคิด ถึงการประกันชีวิต โดยป้อนคำถาม ให้เป็นประโยชน์ กับ ตัวเอง มากที่สุด กับ ตัวแทนฯ ได้ อย่างมีความรู้ สมเหตุ สมผล และ ได้สิ่งที่ต้องการอย่างมีคุณภาพ
โฆษณา