Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Namo Provision
•
ติดตาม
9 มิ.ย. 2020 เวลา 15:22 • การศึกษา
รีเลย์กับวงจรติดค้างตัวเอง EP.4
เนื้อหาในบทความนี้อาจมีศัพท์เทคนิค และมีความซับซ้อนสำหรับผู้อ่านที่ไม่ได้เรียนด้านไฟฟ้ามา แต่ผู้เขียนก็จะไม่ย่อท้อ และตั้งใจอย่างยิ่งเพื่ออธิบายวงจรให้อ่านเข้าใจง่ายโดยใช้รูปภาพประกอบ ถ้าผู้อ่านพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย
บทความในตอนนี้ ผู้เขียนจะขอแนะนำการใช้งานรีเลย์อีก 1 วงจร ซึ่งมีชื่อว่า "วงจรติดค้างตัวเอง" หรือ "self-holding"
รูปแบบการต่อวงจร self-holding
อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจร self-holding นี้ ได้แก่
(1) แหล่งจ่ายไฟ (V1) เป็นตัวให้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในวงจร
(2) รีเลย์จำนวน 2 ตัว คือ RL1 และ RL2
(3) ปุ่มกดติด-ปล่อยดับ (B1) คือ เมื่อเอานิ้วกดปุ่ม ทำให้สะพานเชื่อมกัน กระแสไฟสามารถไหลผ่านได้ และเมื่อเอานิ้วออก ปุ่มจะกระเด้งออกเองด้วยแรงสปริง ทำให้สะพานขาดออกจากกัน กระแสไฟจึงไม่สามารถไหลได้ ปุ่มนี้จึงทำหน้าที่เป็นปุ่ม Start
(4) ปุ่มกดดับ-ปล่อยติด (B2) คือ จะทำงานตรงข้ามกับปุ่มกดติด-ปล่อยดับ หมายความว่า เมื่อเอานิ้วกดปุ่ม ทำให้สะพานขาดออกจากกัน กระแสไฟจะไม่สามารถไหลได้ และเมื่อเอานิ้วออก ปุ่มนี้จะกระเด้งออกเองด้วยแรงสปริง ทำให้สะพานเชื่อมถึงกัน กระแสไฟจึงสามารถไหลผ่านได้ ปุ่มนี้จึงทำหน้าที่เป็นปุ่ม Stop
(5) หลอดไฟ (L1) เป็นตัวใช้พลังงานไฟฟ้าของวงจรนี้
เมื่อเริ่มกดปุ่ม B1
แม้ว่าการทำงานภายในวงจรจะเกิดขึ้นเร็วมากจนเรามองไม่ทัน แต่ผู้เขียนจะขออธิบายเป็นขั้นตอนอย่างช้าๆ ซึ่งมีลำดับดังนี้
1) เริ่มกดปุ่ม Start (B1)
2) เกิดกระแสไฟไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ RL2
3) หน้าสัมผัสของรีเลย์ RL2 กระเด้งมาเชื่อมกับวงจร
4) เกิดกระแสไฟไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ RL1, ปุ่ม B2 และหลอดไฟ L1 ทำให้หลอดไฟติดสว่าง
5) หน้าสัมผัสของรีเลย์ RL1 กระเด้งมาเชื่อมกับวงจร
6) เกิดกระแสไฟไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ RL2
เมื่อปล่อยปุ่ม B1 ออก
เมื่อเราปล่อยปุ่ม Start (B1) ออก ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) ถึงแม้สะพานของปุ่ม B1 จะขาดออก แต่หน้าสัมผัสของรีเลย์ RL1 ยังเชื่อมกับวงจร ทำให้ยังคงมีกระแสไหลผ่านหน้าสัมผัสของรีเลย์ RL1
2) กระแสไฟไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ RL2
3) หน้าสัมผัสของรีเลย์ RL2 ยังเชื่อมกับวงจร
4) กระแสไฟไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ RL1
5) กระแสไฟไหลผ่านปุ่ม B2 และหลอดไฟ L1 ทำให้หลอดไฟยังคงติดสว่าง
เนื่องด้วยที่ไม่ต้องกดปุ่ม B1 ค้างไว้ แต่หลอดไฟยังติดสว่างปกติ วงจรนี้จึงมีชื่อว่า "วงจรติดค้างตัวเอง"
เมื่อกดปุ่ม B2
เมื่อเรากดปุ่ม Stop (B2) จะทำให้เกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1) สะพานที่เชื่อมปุ่ม B2 ขาดออกจากกัน
2) กระแสไฟไม่สามารถไหลผ่านหลอดไฟ L1 และขดลวดของรีเลย์ RL1 ทำให้หลอดไฟดับ
3) หน้าสัมผัสของรีเลย์ RL1 และของรีเลย์ RL2 จะกระเด้งกลับไป ทำให้วงจรขาดออกจากกัน
4) กระแสไฟไม่สามารถไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ RL2
วงจร self-holding จึงมีประโยชน์ คือ ใช้เริ่มต้นการทำงานโดยการกดปุ่ม start แค่ครั้งเดียว และหากเกิดกรณีฉุกเฉิน เราสามารถหยุดการทำงานโดยการกดปุ่ม stop แค่ครั้งเดียวเช่นกัน
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ หากมีข้อสงสัยหรือคำติชมใดๆ ก็เขียนแสดงความคิดเห็นเข้ามากันได้ ผู้เขียนคนนี้จะขอน้อมรับทุกความคิดเห็นของท่านมาพัฒนาการเขียนบทความต่อไป
ขอบคุณฮะ
2 บันทึก
5
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รีเลย์และการประยุกต์ใช้งาน
2
5
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย