Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รีวิวทุกอย่างที่นึกออกสไตล์โน้ตอินดี้
•
ติดตาม
13 มิ.ย. 2020 เวลา 10:53 • การศึกษา
ทำไมเมื่อมีการสอบ PISA คะเเนนวิชาวิทยาศาสตร์ของไทยถึงได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD
หลายคนที่ไม่ได้อยู่วงการศึกษาอาจจะไม่รู้จักว่าPISA คืออะไร
ผมขออธิบายสักนิดก่อนจะเข้าเรื่องนะครับ PISA (Programme for International Student Assessment) คือ การสอบของนักเรียนนานาชาติเป็นการสอบเพื่อใช้วัดระดับการเรียนรู้ของนักเรียนอายุ15ปีทั่วโลกโดยมีการสอบใน 3 รายวิชาคือ 1. คณิตศาสตร์ 2. วิทยาศาสตร์ 3. การอ่าน โดยจัดสอบทุก 3 ปี เเละดำเนินการต่อเนื่องมา 15 ปีเเล้ว ขึ้นชื่อว่าเป็นข้อสอบที่มีมาตรฐานสูงเเละมักถูกนำไปเปรียบเทียบระดับการเรียนรู้ของนักเรียนเเต่บประเทศ
ทีนี้เรามาดูคะเเเนนPISA ปี 2018 ของทั้ง 3 วิชา ผมขอยกตัวอย่างเพียงปีเดียวให้เห็นว่าคะเเนนทั้ง 3 วิชาเป็นอย่างไร
เเหล่งอ้างอิง : pisathailand.ipst.ac.th
เนื่องจากเเต่ละปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน. ยังไม่มีความเเตกต่างมากนักสำหรับวิชาคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์ เเต่มีเเนวโน้มลดลงคือวิชาการอ่านนะครับ จากภาพจะพบว่าคะเเนนของไทยทั้ง 3 วิชาอยู่ต่ำกว่าคะเเนนเฉลี่ยมาตรฐานจุดสีชมผู OECD ( Organisation for Economic Co-operation and Development ) ซึ่งถูกกำหนดไว้ 493 คะเเนน ถ้าสังเกตดูดีๆประเทศที่ระยะหลังมาเเรงมากคว้าอันดับ 1 มาหลายปีเเล้วจีนสี่มณฑล หากเป็นเเบบนี้ต่อไปในระยะยาวจีนจะมีบุคลากรที่มีความมสามารถทางด้านคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์ในระดับสูงเป็นจำนวนซึ่งจะเป็นผลดีต่อการผลิตนวัตกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับจีนได้เเน่นอน
หลังจากที่ผมได้อธิบายความเป็นมาของการสอบ PISA เเละเเนวโน้มคะเเนนวิชาวิทยาศาสตร์ของไทยไปแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าคนไทยเรียนวิทยาศาสตร์ไม่เก่งหรือเปล่า
ตรงนี้ผมมีข้อมูลอ้างอิงให้ดูนะครับว่าไม่ใช่. ดูจากรูปด้านล่างนี้ได้เลย
เเหล่งอ้างอิง : สรุปผลการวิจัย PISA 2015 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
เราจะพบว่ากลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศเเละเน้นวิทย์( โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เเละโรงเรียนบางเเห่งที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี ) มีคะเเนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าคะเเนนมาตรฐาน OECD ผมจะชี้ให้เห็นว่าเรามีคนเก่งด้านวิทยาศาสตร์อยู่นะครับ เเต่โรงเรียนต่างๆทั่วประเทศส่วนใหญ่มีคะเเนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของOECD ทั้งหมด ทีนี้ผมจะขอเข้าข้อสังเกตของผม. ข้อเเรกเลยนะครับที่ส่งผลให้คะเเนนวิทยาศาสตร์ไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเเละจะค่อยอธิบายไปทีละข้อจนสรุปอีกทีในตอนท้าย
1. ความเหลื่อมหล้ำทางการศึกษาของไทยนั้นสูงมากครับ หากใครเคยไปสอนโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมทุกด้านกับโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีความพร้อมเลย จะพบว่านักเรียนของโรงเรียนทั้งสองขนาดนั้นจริงๆไม่ได้ต่างกันมากในศักยภาพในการเรียนรู้ เเต่ความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน อินเตอร์ความเร็วสูงที่เข้าถึงนักเรียนทุกคนได้ จำนวนครูที่ครบชั้นเรียนเเละครบทุกวิชาเอก เพราะฉะนั้นจึงไม่เเปลกเเน่นอนที่คะเเนนเฉลี่ยของวิชาวิทยาศาสตร์จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเพราะโรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไม่มีห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์เเละเครื่องมือในการทดลองวิทยาศาสตร์ยังขาดเเคลนอยู่เลย
2. สื่อวิทยาศาสตร์ พิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เเละรายการทางด้านวิทยาศาสตร์ของไทยเรานั้นมีน้อยครับ เราจะพบว่ารายการโทรทัศน์บ้านเราส่วนใหญ่หารายการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เเละสารคดีวิทยาศาสตร์ให้เด็กดูได้น้อยมากไม่ใช่ไม่มีเลยนะครับ เเละเราไม่ได้มีพิพิทธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ทุกจังหวัดให้นักเรียนได้ไปเรียนรู้อย่างสะดวกเเละใกล้บ้าน ตรงนี้เรายังขาดสภาพเเวดล้อมที้เอื้อต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ส่งผลต่อคะเเนนวิชาวิทยาศาสตร์ไปด้วยในทางอ้อมด้วย
3. การผลักดันให้เกิดการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังยังไม่เกิดขึ้น เคยมีคนกล่าวไว้ว่างานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ญี่ปุ่นทำ 4-5 ปี หากให้ไทยเราทำอาจจะต้องใช้เวลาถึง 20 ปี หากเราไม่ส่งเสริมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อเนื่องเเละจริงจังดังที่กล่าวมาข้างต้นองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เราจะขาดช่วง ไม่มีบุคลากรทางด้านวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากพอที่จะทำสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเช่คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเเละชิปประมวลผลต่างๆ เเละเเน่นอนนะครับ นักเรียนก็ไม่คิดที่ตั้งใจเรียนวิชาวิทยาศาสตร์จริงจังไม่มีงานวิจัยเเละนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในประเทศไทยมากนัก ไม่รู้จะตั้งใจเรียนไปทำไม
4. ครูวิทยาศาสตร์ต้องเปลี่ยนเเละปรับการเรียนการสอนให้มีการคิดวิเคราะห์มากขึ้นกว่าการสอนเเบบบรรยาย จะทำอย่างไรให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ต้องคิดวิเคราะห์อยู่ตลอด หากครูวิทยาศาสตร์ทำตรงนี้ได้ ผมว่าคะเเนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศสาตร์จะต้องเพิ่มขึ้นเเน่นอน
หลายคนคงสงสัยว่าทำไมผมต้องอธิบายเรื่องนี้ซะยาวเเละละเอียด ผมต้องย้ำนะครับว่าวิชาวิทยาศาสตร์สำคัญอย่างยิ่งในโลกอนาคต เเต่ไม่ได้บอกว่าสำคัญเเค่วิชานี้วิชาเดียวนะครับวิชาอื่นก็สำคัญเเละส่งเสริมกันไปได้ ต่อไปประเทศที่มีคนเก่งวิทยาศาสตร์มากจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ประเทศที่ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นของตัวเองได้จะเสียเปรียบเป็นอย่างยิ่งในอนาคต ต้องซื้อนวัตกรรมจากประเทศอื่นตลอดเวลา พูดง่ายๆยืมจมูกคนอื่นหายใจตลอดเวลานั้นละครับ ผมก็ได้ชี้ให้เห็นปัญหาในมุมมองของผมไปแล้วก็ได้เเต่หวังว่าจะมีคนนำมุมมองของผมไปเเก้ปัญหาเเละหวังว่าการสอบ PISA ครั้งต่อๆไปคะเเนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์ของไทยมากกว่าคะเเนนเฉลี่ย OECD สักที
#วิทยาศาสตร์สไตล์ครูโน้ตอินดี้
บันทึก
9
9
10
9
9
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย