Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ระหว่างทาง
•
ติดตาม
9 มิ.ย. 2020 เวลา 16:59 • ท่องเที่ยว
เปิดความลับของ "องค์พระทรงเครื่อง" กรุงศรีอยุธยา
ครั้งแรกของแอดที่ไปเก็บภาพ ณ วัดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า
วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชการาม" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในตำนานกล่าวว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิปดีที่ 2 รัชการที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2046 ประทานนามว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” แต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกกันว่า “วัดหน้าพระเมรุ”
วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เจรจาสงบศึก เมื่อมี พ.ศ. 2106 และในอีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2303 พม่าได้เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดเมรุราชิการาม กับวัดหัสดาวาส (วัดช้าง) พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ได้แตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัสประชวนหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้นพม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง
ด้วยบุญญาธิการอันศักดิ์สิทธ์ แห่งหลวงพ่อพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระประธานในอุโบสถ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยารอดพ้นจากข้าศึกตลอดมา สมควรที่ประชาชนชาวไทยทั้งหลายมานมัสการ ชมพระบารมีซึ่งยังมีพระลักษณะคงสภาพเดิมอยู่ทุกส่วน ซึ่งเป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ด้วยเหตุนี้เอง วัดหน้าพระเมรุ จึงมีความสมบูรณ์ที่สุดเมื่อเทียบกับวัดอื่นๆในอยุธยา เมื่อครั้งเสียกรุงได้ถูกกองทัพพม่าเผาทำลายเหลือซากให้เราเห็น แต่วัดหน้าพระเมรุ ยังคงใว้ซึ่งความสง่างามจนปัจจุบัน
จิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระเมรุราชิการาม
ภาพจิตรกรรมภายในวัดหน้าพระเมรุราชิการาม เดิมเคยมีปรากฎที่ฝาผนังพระอุโบสถและพระวิหาร ปัจจุบันได้ลบเลือนไปแล้ว แต่ยังคงเหลือให้ศึกษาได้ที่พระวิหารพระสรรเพชญ์ ภาพจิตรกรรมในพระวิหารส่วนใหญ่ได้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นภาพที่เขียนขึ้นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องใด หากแต่ภาพส่วนที่เหลืออยู่นี้ก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม และวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน การแต่งกาย ตลอดจนถึงรูปแบบการตั้งขบวนทัพ และภาพขบวนฟ้อนรำต่างๆ
รูปแบบของงานจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระสรรเพชญ์ เป็นงานจิตรกรรมที่เขียนขึ้นประมาณรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ระหว่าง พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2411
ขอบคุณข้อมูล จาก TRAVEL FULL AUTO
จริงๆ แล้วแอดพอจะรู้ประวัติความเป็นมา มาพอประมาณ ไหนๆ ก็เก็บเรื่องรางระหว่างทางมา ก็เลยหยิบยกข้อมูลสำคัญจริงๆ ขึ้นมาซะเลย
ความลับที่ถูกซ้อนมาช้านาน นอกจากประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว หลายคนไม่มีใครทราบจริงๆ ว่าองค์พระทรงเครื่องนี้ เสมือนองค์ของพระมหาจักรพรรดิ
และสิ่งที่องค์พระทรงเครื่องมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องสวยกว่าองค์พระอื่น คือ ความประกายของแสงสีทองที่ผ่านไปกี่ร้อย พัน ปี ก็ไม่มีเปลี่ยนแปลง บางท่านอาจจะทราบเพียงประวัติศาสตร์ แต่แอดค้นหาสิ่งที่มองเห็นและสงสัย สมบัติของชาติที่เหลืออยู่ไว้ให้คงรักษาสืบทอด อันสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ระลึกถึงเสมอ แห่งนี้ "หลวงพ่อพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" ซึ่งสร้างมาจากทองคำแท้และสำริดทั้งองค์
#เรื่องเล่า ระหว่างทาง
#อย่าลืมติดตาม เรื่องเล่าระหว่างทางได้นะค่ะ
บันทึก
6
3
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย