10 มิ.ย. 2020 เวลา 13:39 • สิ่งแวดล้อม
มาแล้วค่าา... dive in deep blue sea รึว่า โลกใต้ทะเลของหนอนน้อยซ์
กลับมาตามคำเรียกร้องแล้วค่ะ 🥰🏖
( จริงอ้ะ?!? ใครเหรออ?! ที่เรียกที่ร้อง? คิดเองป้ะ?? ) อิอิ 💗 🌊 🏝
คืองี้ค่ะ จากวันก่อนที่เล่าเรื่องน้องหมึกน้อยในถ้วยพลาสติก
โดยถิ่นที่เหตุเกิด คือช่องแคบเลมเบห์ ปท.อินโดฯ
ก็เลยนึกอยากจะเล่าถึงภูมิประเทศ ในเขตทะเลพิกัดอินโดนีเซีย เมื่อเทียบกับทะเลบ้านเรากันบ้างดีกว่าค่ะ
จากที่ง่ายๆเลย เริ่มจากเรื่องสีของเม็ดทรายก่อนค่ะ จะสังเกตได้ชัดถนัดตาว่า ทรายเมืองอิเหนาเค้าจะมีสีเทาๆอมดำ
ยิ่งที่บาหลีนี่ ทรายดำสนิทปิ๊ดๆปี๋ กันตั้งหลายหาดเลยค่ะ โดยเฉพาะหาดที่มีตำแหน่งตามแถบภูเขาไฟ
เป็นเพราะทรายสีดำที่เห็นนี้ เกิดจากสีของหินลาวาแต่ดั้งเดิม ที่สลายตัวเป็นผืนทรายริมชายทะเล
ซึ่งก็ดูสวยเก๋แปลกตาไปอีกแบบค่ะ เมื่อได้ชื่นชมคู่กันกับสีของปะการัง ด้วยทรายสีดำสนิทนั้น จะช่วยขับให้สีของทั้งปะการัง และsea fan ยิ่งเข้มข้นโดดเด่นเป็นพิเศษเลยค่ะ 🌺🏵🌹
แต่ถ้าให้เลือกจริงๆ ดิชั้นก็ยังปักใจรักทรายขาวละเอียดเป็นแป้งเด็ก ของทะเลไทยอยู่ดีล่ะค่ะ 🏖🌊
อ้าาาววว...!! แล้วจะกะแดะไปทำไมล่ะ ทะเลอินโดฯน่ะ ฮึ?!? ( อันนี้ถามแทนผู้อ่านบางท่าน ที่อาจจะถามอยู่ในใจด้วยความสงสัยจริงๆ ) แฮ่ๆ 🤩😅 คืองี้ค่ะ
ภูมิประเทศที่มีภูเขาไฟเป็นตัวกำหนดลักษณะหลักทางภูมิศาสตร์อย่างอินโดนีเซีย หลายเกาะแก่ง จึงเป็นเกาะที่มีความเฉพาะตัวที่เรียกว่า atoll
 
ซึ่งคือ เกาะขนาดเล็ก ที่รายล้อมด้วยวงแหวนของแนวปะการัง และที่สำคัญเนื่องจากเป็นเกาะที่ก่อตัวจากภูเขาไฟมาแต่เดิม
แนวปะการังจึงมีแนวลาดเพียงช่วงสั้นๆ จากนั้นก็เป็นไหล่ทะเลลึกลงไปเลย แบบว่า จากหาดปะการังอยู่ดีๆ จู่ๆก็วูบลงสู่เขตมหาสมุทรแนวทะเลลึก จากในระยะแค่ไม่กี่เมตรของแนวหาด
เพื่อประกอบความเข้าใจให้ง่ายขึ้น ดิชั้นขอนำลิ้งค์แสดงลักษณะการเกิดatoll มาให้ชมดังนี้ค่ะ ⛰🧭🌋
ซึ่งถ้าคิดจะเดินเล่นชายหาด บนเกาะที่เป็น atoll นี่ ต้องระวังมากๆเลยนะคะ เดินๆไปอาจจะไถลดิ่งลงที่ลึกปุบปับกันได้ แบบแทบไม่รู้ตัวเลยล่ะค่ะ
ที่แถวใกล้ๆบ้านเราหน่อย ก็คือ เกาะสิปาดัน ในเขตมาเลเซีย
แต่.. เอ..! เหมือนดิชั้นจะยังไม่ได้ตอบคำถามเลย ว่าทำไมต้องถ่อแท้งค์ดำน้ำไปกันถึงอินโดฯเลย อิอิ
เม้าส์เพลินไปหน่อย 😄🏝💕
ภูมิประเทศเขตatoll เป็นน่านน้ำลึก จึงมักจะมีสัตว์ใต้ทะเลหายาก อย่างเช่น' sunfish ' คือ น้องปลาร่างประหลาด ที่มีแค่หัวกับตัวกุดๆกลมๆสมกะชื่อ
รวมทั้งปูปลาและสัตว์ใต้ทะเล ที่อยู่ในกลุ่มfantastic beastทั้งหลาย และยังจะมีฝูงปลาขนาดใหญ่ เช่น ฝูงวาฬ ก็พบได้โดยง่ายที่อินโดนีเซีย รึเขตน่านน้ำลึกของมหาสมุทร 🐳🐬🏖
sunfish ; Cr. wikipedia
เพราะอย่างงี้ไงคะ หากเปิด U-tube ว่าด้วยชีวิตสัตว์ใต้ทะเล location การถ่ายทำที่มักจะเห็นบ่อย คือถ้ารองจาก แหล่งดำน้ำอันโด่งดังคือ great barrier reef พิกัดออสเตรเลียแล้ว 🌊💝🏝
ก็ อินโดนีเซียนี้ล่ะค่ะ ที่ฮ้อตฮิตมิแพ้กัน
นอกจากเรื่องความต่างในสีของทรายแล้ว อุณหภูมิน้ำทะเลก็ต่างจากบ้านเรามากเลยค่ะ บ้านเราเป็นเขตน้ำอุ่น ( ถึงอุ่นจัดจนถึงร้อน และร้อนมากๆๆๆตามฤดูกาล )
😊🌋😅
แต่น่านทะเลตั้งแต่ทะเลจีนใต้ ถึงอาณาบริเวณโดยรอบ จัดเป็นเขตน้ำเย็นสำหรับนักดำน้ำ คืออุณหภูมิ ตั้งแต่ ๒๗ เซลเซียสลงไป
คือ น้ำมันเย้นนน.. เย็นจริงๆค่ะ ขอบอก แค่ลดต่ำลงสัก ๒๕ องศานี่ ก็คางสั่นกึ้กๆเลย ตัวนี่ก็สั่นงั่กๆสุดๆด้วยค่ะ
ดังนั้นการดำน้ำในเขตทะเลแถบนี้ต้องมี wet suit แบบหนา รึว่าใช้วัสดุที่ตัดเย็บ wet suit ชนิดเก็บความอุ่นของอุณหภูมิตัวให้หมุนเวียนภายใน รวมทั้งมี hood สวมใส่ที่คอและศีรษะด้วยค่ะ
อันนี้ ดิชั้นขอแค่แนะพอเบาๆ น้ำจิ้มๆก่อนค่ะ มากไปประเดี๋ยวบทความเบาๆ ( รึเปล่า?? ) จะแปลงร่างเป็นเล้คเชอร์วิชาการใต้ทะเลไปซะก่อน 🥰🧭💗
ส่วนคลิปที่ว่าไว้ตอนต้น เรื่องน้องหมึกมะพร้าวน้อยๆตัวต้นเรื่อง จะแปะต่อให้ชมอีกทีก็แล้วกันค่ะ
ค่อยกลับมาเล่าเม้าส์มอยเรื่องใต้ทะเลใหม่ หวังใจให้เพื่อนๆ ได้รับ vit. Sea กันเต็มๆในเร็ววันนะเออ 🌊🏖💕
สวัสดีสีใบไม้ค่ะ ทุกๆท่าน
☘🍁🍀

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา