10 มิ.ย. 2020 เวลา 05:04 • การศึกษา
การอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบมีทศนิยม
ปกติมิเตอร์ไฟฟ้าแรงต่ำ ( KWH Meter ) ที่ติดตั้งในที่อยู่อาศัย อาคาร สำนักงาน ก็จะมีมิเตอร์อยู่ 2 แบบ คือ มิเตอร์ระบบ 3 เฟส และระบบ 1 เฟส ครับ ซึ่งมิเตอร์ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส ก็จะแยกเป็นมิเตอร์แบบมีทศนิยมและไม่มีทศนิยมครับ เนื้อหาในบทความนี้ผมก็จะขอแนะนำการอ่านค่ามิเตอร์แบบมีทศนิยมครับ
ภาพแสดง เลขหลักที่มิเตอร์แบบมีทศนิยม
โดยมิเตอร์ไฟฟ้าในบางยี่ห้อผู้ผลิตก็จะแสดงเลขหลักตำแหน่งมาให้ ซึ่งจะช่วยให้เราทราบค่าตัวเลขในแต่ละหลักและช่วยให้เราอ่านเลขมิเตอร์ได้ง่ายขึ้นครับ
ภาพแสดง จุดทศนิยมระหว่างเลขหลักหน่วยกับหลักทศนิยม
อีกจุดนึงที่ใช้สังเกตก็คือ มิเตอร์นี้จะมีจุดทศนิยมเป็นจุดเล็กๆอยู่ครับ โดยตัวเลขในช่องด้านขวาสุด คือหลักทศนิยมครับ ถัดมาทางด้านซ้ายอีก 1 ช่องก็จะเป็นช่องหลักหน่วย ถัดมาทางด้านซ้ายอีก 1 ช่องก็จะเป็นช่องหลักสิบ หลักร้อย และหลักพัน ตามลำดับครับ
ภาพแสดง ตำแหน่งเลขหลักที่มิเตอร์ไฟฟ้า
แล้วถ้ามิเตอร์ในบางยี่ห้อผู้ผลิตไม่ได้ระบุแถบตัวเลขหลักมาให้ อีกข้อสังเกตง่ายๆอีกจุดนึงนะครับ ก็คือแถบสีครับ โดยมิเตอร์ในบางยี่ห้อจะแยกแถบสีอย่างชัดเจนระหว่างเลขหลักหน่วยถึงหลักพัน กับ หลักทศนิยมครับ
ภาพแสดง แถบสีระหว่างหลักทศนิยมกับหลักหน่วยถึงหลักพัน
เพื่อนๆ ลองดูตัวอย่างการอ่านค่าของมิเตอร์แบบมีทศนิยมกันสักเล็กน้อยก่อนนะครับ จากรูปตัวอย่างมิเตอร์นี้ไม่มีการกำหนดเลขหลักมาให้ครับ แต่จะมีแถบสีแยกระหว่างหลักทศนิยม กับหลักหน่วยถึงหลักพันมาให้ครับ หรือเพื่อนๆจะสังเกตุได้ว่ามีจุดทศนิยมแสดงอยู่ระว่างเลขหลักหน่วยและหลักทศนิยมครับ
จากรูปตัวอย่างนะครับ ในหลักทศนิยม คือเลข 1 ครับ ถัดมาในหลักหน่วย คือ เลข 8 ในหลักสิบ คือ เลข 2 หลักร้อย คือ เลข 1 และหลักพันคือเลข 2 ครับ ดังนั้นอ่านค่ามิเตอร์นี่ได้ 2128.1 ครับ ( สองพันหนึ่งร้อยยี่สิบแปดจุดหนึ่งหน่วย )
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ เพื่อนๆลองอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบมีทศนิยมนี้แล้วช่วยบอกผมในช่อง Comment หน่อยนะครับ ว่าเพื่อนๆ อ่านค่าได้กี่หน่วยครับ
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจเนื้อหาในการอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้านี้ก็สามารถดูเพิ่อมเติมได้จาก Link VDO นี้ได้ครับ https://youtu.be/uTT6rZNTjqc
โฆษณา