10 มิ.ย. 2020 เวลา 10:09 • ความคิดเห็น
เคยไหมครับ ที่คุณคิดว่า ถ้าย้อนกลับไปได้ เราเลือกที่จะทำแบบนั้นก็ดีน้า มันจะเป็นยังไงน้า
มีการทดลองอันหนึ่ง ให้อาสาสมัครเลือกชิมเยลลี่รสชาติต่างๆได้เพียง 1 รส
เมื่อพวกเขาเลือกแล้ว ก็จะถูกถามว่าพอใจกับสิ่งที่เลือกไหม
แต่เยลลี่ที่ให้เลือกแบ่งเป็นสองแบบ
แบบที่ 1 : “แอปเปิล” กับ “มะนาว”
แบบที่ 2 : “มาร์ชเมโลว” “วนิลา” “สตอเบอรี” “สัปะรด” “มะนาว” “ชอกโกแลต” “เชอรี” “บลูเบอรี” “แอปเปิล” “ส้ม” และรสอื่นๆอีก 10 ชนิด
ถ้าเป็นแบบที่ 1 ผมจะเลือกมะนาว เพราะผมชอบรสเปรี้ยว
ถ้าเป็นแบบที่ 2 ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรดี
คุณอาจจะเลือกได้แล้ว
หรืออาจจะยัง แต่เรามาดูผลการทดลองกันดีกว่า
ผลการทดลองพบว่า เมื่อให้เลือกระหว่างสองรส อาสาสมัครมักจะตอบว่า พวกเขาพอใจกับสิ่งที่พวกเขาเลือก
แต่เมื่อให้เลือกระหว่าง 20 รส อาสาสมัครก็มักจะมีตัวเลือกอื่นอยู่ในใจที่ยังเสียดายที่ไม่ได้เลือกอยู่
เมื่อเราต้องเลือกระหว่างตัวเลือกหลายๆตัว และเราไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ชัดเจน เรามักจะมีความลังเลเลือกไม่ได้
มีการทดลองอีกอันหนึ่งพบว่า หากในซุปเปอร์มาเก็ตมีแยมเพียงสามรสชาติ จะทำให้แยมนั้นขายดีกว่าเมื่อมีแยม 30 รสชาติให้เลือก เพราะเมื่อเราไม่สามารถตัดสินได้ว่ารสไหนที่เราชอบ เราก็จะเลือกหนทางสุดท้าย คือไม่เลือกมันซะเลย
เมื่อได้ฟังเรื่องพวกนี้ทำให้ผมนึกถึงสมัยที่ผมเป็นเด็กนักเรียน และโรงเรียนจะจัดอาหารกลางวันให้กินทุกวัน
ในแต่ละวันผมสามารถเลือกได้ ว่าผมจะ กินถาดหลุมหรือจะ ไม่กินถาดหลุม แต่หากเลือกจะกินแล้ว ก็ไม่มีอาหารอะไรให้เลือก มีอะไรก็ต้องกิน
และนึกถึงชีวิตทุกวันนี้ของผม ที่นั่งคิดกับแฟนทุกวันว่าวันนี้เราจะกินอะไรดี เหมือนมันเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญของชีวิตแต่ละวัน
แต่อาหารโรงเรียน กับอาหารที่กินทุกวันนี้มันก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันเท่าไหร่ นอกจากความปวดหัวเวลาเราคิดไม่ออกว่าจะกินอะไร
.
.
.
ใครที่สนใจเรื่องนี้สามารถกูเกิลคำว่า analysis palalysis
โฆษณา