10 มิ.ย. 2020 เวลา 11:42 • ท่องเที่ยว
ฮิโกเนะปราสาทอดีตที่ยาวนาน
ปราสาทฮิโกเนะถูกเริ่มการก่อสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1575 แล้วสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1622 โดยตระกูลนาโอกัตสึ และนำหินของปราสาทซาวายามะจนสร้างเสร็จสมบูรณ์ จนสมัยการปฏิรูปเมจิ มีปราสาทหลายแห่งถูกสั่งให้รื้อถอนและทำลายทิ้ง แต่ปราสาทฮิโกเนะได้ถูกรอดพ้นจากการทำลายทิ้ง และยังคงสภาพเก่าแก่ดั้งเดิมมาจนถึงทุกวันนี้ จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแห่งชาติญี่ปุ่น
ปัจจุบันปราสาทฮิโกเนะเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและต่างชาติต่างภาษา เพราะประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและศิลปะในยุคเอโดะ ซึ่งปัจจุบันคือโตเกียวเมื่อครั้งที่ตระกูลโทกูงาวะเป็นโชกุน
เมื่อเดินมาจากสถานีรถไฟฮิโกเนะ จะพบลานโล่งพร้อมกับมองเห็นปราสาทตั้งโดดเด่นสูงสง่างาม หลังคาที่สีเขียวเข้มตัดกับตัวปราสาทสีขาว เมื่อเดินต่อมาจะพบกับโครงสร้างด้านนอกที่จะมีคูเมือง และกำแพง ป้อมรักษาความปลอดภัย โดยมีประตูที่ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวปราสาท จากผลกระทบจากการถูกทำลายในยุคสมเด็จพระจักรพรรดิ
ด้านหน้าลานปราสาทจะมีตัวมาสคอตแต่ง ฮิโกเนียน ที่แต่งตัวทั้งซามูไรในยุคต่าง ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูป และมีร้านขายของที่ระลึก
ภายในยังจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ( Hikone Castle Museum ) ซึ่งจะเป็นบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ที่มีประตูหน้าต่างที่ทำจากกระดาษสาของญี่ปุ่น และการจัดบ้านแบบญี่ปุ่นแท้ ๆ บ้านแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ โชว์เกี่ยวกับปราสาทฮิโกะเนะสมบัติของตระกูล เช่น เครื่องดนตรี ชุดเกราะ ชุดกิโมโน อาวุธ และเอกสาเกี่ยวกับศักดินาของประเทศญี่ปุ่น ที่ผ่านมามากกว่า 400 ปี
ปราสาทฮิโกเนะเป็นปราสาทที่มีหอคอยที่ให้รอบเห็บวิวได้รอบ ๆ เมืองนี้ ที่มีภูเขาอิบูกิ และทะเลสาบบิวะที่สวยงาม และตัวปราสาทยังเป็นจุดชมใบไม้เปลี่ยนสีในช่วงเดือนพฤศจิกายนอีกด้วย
ในการเดินเข้าชมปราสาทเราจะต้องถอดรองเท้าใส่ถุงพลาสติกถือติดตัวไปด้วย ข้างในจะเป็นกำแพงไม้สีดำ บรรยากาศมืด ๆ จะเห็นคานไม้ขนาดใหญ่ค้ำตัวปราสาท ตามช่องไว้แอบยิงธนูยิงข้าศึก ซึ่งเราสามารถมองดูวิวของเมืองนี้ได้ โดยจะมีบันไดเดินขึ้นไปจนถึงหอคอยซึ่งมีความชันมาก ซึ่งบนยอดหอคอยจะมีร้านค้าขายเกี่ยวกับเครื่องรางของญี่ปุ่น
ปราสาทแห่งนี้มีเสน่ห์อีกแห่งหนึ่งของการเที่ยวประเทศญี่ปุ่น เราจะใช้เวลาเดินหลายชั่วโมง จนเมื่อยหลังจากนั้นก็ไปนั่งพักที่สวนญี่ปุ่น
อ่านต่อได้ : https://cities.trueid.net/post/163870
โฆษณา