10 มิ.ย. 2020 เวลา 14:00 • ท่องเที่ยว
สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช จากข้อมูล ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
3
วันนี้ทางการรถไฟได้แชร์ภาพสไลด์รายละเอียดทั้งหมดของโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช
ซึ่งอาจจมีรายละเอียดไม่มากเท่าไหร่ เลยขออนุญาตเอาภาพมาอธิบายในจุดสำคัญอีกทีครับ
ใครอยากอ่านรายละเอียดต้นฉบับดูจากลิ้งค์นี้ครับ
เรามาเริ่มต้นที่การอนุมัติโครงการ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2560
ซึ่งทางรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณไว้ 179,421 ล้านบาท ในเฟสที่ 1 กรุงเทพ-โคราช
จากแผนเต็ม กรุงเทพ-หนองคาย เชื่อมต่อกับทางรถไฟของลาว ที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวใหม่(รถไฟ)โดยจะอยู่ห่างจากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ประมาณ 50-30 เมตร
รายละเอียดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวใหม่(รถไฟ)
ขบวนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช
จะใช้ขบวนรถไฟ Series Fuxing hao รุ่น CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน)
ใครยังไม่ได้อ่านเรื่องการพัฒนา Fuxing hao ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
รูปแบบทางวิ่งโครงการ
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
รายละเอียดสถานี
- สถานีสระบุรี
รายละเอียดสถานี
- สถานีปากช่อง
รายละเอียดสถานี
- สถานีนครราชสีมา (โคราช)
มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ และบำรุงทาง ทั้งหมด 3 แห่งคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ควบคุม เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง สระบุรี และ โคสะอาด
รูปแบบการเดินรถไฟ ค่าโดยสาร และการคาดการณ์ประมาณผู้โดยสาร
รูปแบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรก (ปีที่เปิดให้บริการ) จะเดินรถไฟฟ้าที่ความถี่ 90 นาที/ขบวน (1:30 ชั่วโมง)
ค่าโดยสารในโครงการ
จะคิดตามระยะทาง 1.8 บาท/กิโลเมตร และมีค่าแรกเข้าระบบ 80 บาท
จากต้นทางกรุงเทพ ไปยังสถานีต่างๆดังนี้ครับ
- ดอนเมือง 105 บาท
- อยุธยา 195 บาท
- สระบุรี 278 บาท
- ปากช่อง 393 บาท
- นครราชสีมา 536 บาท
ในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ 5,315 คน/วัน จากผู้โดยสาร กรุงเทพ-โคราช วันละ 20,000 คน/วัน
รูปแบบสัญญาก่อสร้าง
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. งานโยธา ฝั่งไทยรับผิดชอบเองทั้งหมด ประมูลตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของไทย แบ่งเป็น 14 สัญญา
เริ่มก่อสร้างไปแล้ว 2 สัญญา คือ
- กลางดง-ปางอโศก กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้าง เพื่อเทียบมาตรฐานการก่อสร้าง และทำวิธีการก่อสร้างทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง รายละเอียดตามนี้
และคลิปความคืบหน้า ตามลิ้งค์นี้ครับ
- สีคิ้ว-กุดจิก 11 กิโลเมตร
รายละเอียดและความคืบหน้า(เดิม) ตามลิ้งค์นี้
งานก่อสร้างอีก 12 สัญญา อยู่ระหว่างการรออนุมัติ EIA เพื่อเซ็นสัญญา ซึ่งมีบางประเด็นที่คณะกรรมการ EIA ยังไม่อนุมัติ เช่นรูปแบบสถานีอยุธยา ซึ่งโครงสร้างใหญ่ อาจะมีผลกระทบทรรศนะวิสัย ของเมืองอยุธยา ซึ่งเป็นมรดกโลก
และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ คือระบบราง อาณัติสัญญาณ และตัวรถไฟฟ้า ซึ่งเราเจรจาจ้างจีนโดยตรง ในสัญญาที่ 2.3
โดยล่าสุด รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้เจรจากับจีน ซึ่งรอสรุปรายละเอียด ค่าเงินที่กู้จากจีน ในสัญญานี้
ตามลิ้งค์ที่รัฐมนตรีออกมาแถลงข่าว
และดราม่าก่อนหน้านี้
ตอนนี้ โครงการยังติดที่ EIA แต่คงเคลียร์เสร็จพร้อมเซ็นสัญญาทุกสัญญา ภายในปีนี้ จะได้เริ่มเต็มที่ซักที่
เราคงจะได้นั้นรถไฟความเร็วสูงสายนี้ ในปี 2568
ใครสงในประเด็นไหนก็คอมเม้นกันมาครับ
โฆษณา