Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Astory
•
ติดตาม
10 มิ.ย. 2020 เวลา 14:14 • ธุรกิจ
วันละเรื่อง ตอน Fake Ads ในวงการเกมมือถือ
น่าหงุดหงิดที่สุดตอนที่เจอโฆษณาเกมมือถือไม่ตรงปก บอกว่าเราสามารถเลือกเส้นทางที่จะก้าวขึ้นจากสามัญชนไปเป็นจักรพรรดินีบ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเกมเป็นแบบ Resource management และยุทธศาสตร์ (เก็บข้าว สร้างกำลังพล) ไม่ใช่เกมเน้น simulation แบบที่โฆษณา
เปรียบเทียบโฆษณากับเกมเพลย์
หรือแม้กระทั่งเกมเพชร (ที่ต้องเรียงเพชรหน้าตาเหมือนกันอย่างน้อย 3 อัน) กลับโฆษณาชูการแก้ไขปัญหาหนีออกจากถ้ำหรือแม้กระทั่งโฆษณาด้วยเนื้อเรื่องจีบหญิงเลี้ยงแมว
แล้วเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะเคยมีถึงขั้นเกือบเกิดการฟ้องร้องในสหรัฐเมื่อปี 2017 มาแล้ว เพราะมีการออกโฆษณาเกมด้วยลักษณะยิงปืนบู๊แหลกโดยมีตัวละครหน้าตาเหมือนอาร์โนลด์ ชวาเซอเนเกอร์ แสดงนำและยังโฆษณาในช่วงวันกีฬาแห่งชาติอเมริกันแบบซูเปอร์โบลว์เลยทีเดียว
เกมนั้นชื่อ Mobile Strike ซึ่งเอาเข้าจริงกลับเป็นเกมสร้างฐานทัพและอัพเกรดกองทัพออกไปต่อกรกับศัตรู (ชมวิดีโอได้ที่นี่
https://twitter.com/MobileStrike/status/804012717346619392?s=20
)
เกมเพลย์จริงๆ ของ Mobile Strike
ทำไมเกมมือถือต้องโฆษณากันด้วยเกมเพลย์ปลอมๆ ด้วย
ข้อที่หนึ่งเป็นเพราะการมาถึงของยุค Target Marketing หรือการโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายโดยมีอัลกอลึธึมเป็นคนพาเราไปถึงกลุ่มนั้นๆ บนโซเชียลมีเดีย...หรือแม้กระทั่งโฆษณาที่ให้เรารับชมระหว่างเล่นเกม
Jonathan Fishman ผู้นำฝ่ายการตลาดของบริษัท Storemaven ที่ทำหน้าที่รับช่วยนักพัฒนาแอปพลิเคชันได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า หากเกมเพชรแบบ Homescape และ Gardenscape โฆษณาโดยใช้เนื้อหาเกี่ยวกับเกมเพลย์เรียงเพชร (match-3) ก็จะเจาะกลุ่มเป้าหมายได้แค่คนที่เล่มเกมเพชรเช่นผู้เล่น Candy Crush
เกมเพลย์ที่ควรจะเหมือน Candy Crush
แต่เกมของ Homescape แม้จะมีการเรียงเพชรเป็นเกมเพลย์หลัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีองค์ประกอบอื่น
Homescape เป็นเกมเนื้อเรื่องได้ด้วยเช่นกัน เพราะตัวเอกในเกมที่ชื่อ “ออสติน” เคยเป็นพ่อบ้านมาก่อน กลับมารับสืบทอดบ้านหลังเก่าของพ่อแม่ และต้องรีโนเวทบ้านขนานใหญ่ ซึ่งการจะรีโนเวทบ้านแต่ละจุด จะต้องผ่านการเล่นเกมเรียงเพชรไปก่อน จึงถือว่า Homescape สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ชอบเกมเนื้อเรื่องเช่นกัน
เพื่อ “หลอก” อัลกอริธึมของเฟซบุ๊ก (ที่ไม่มีใครรู้ว่าทำงานยังไง) เลยต้องทำเนื้อหาโฆษณาให้กลายเป็นเกมเนื้อเรื่อง และเพื่อขยายฐานลูกค้าไปจับกลุ่มลูกค้าที่ชอบเกมอื่นๆ เช่น Puzzle เกมสไตล์แก้ปัญหา จึงมีการโฆษณาเป็นเกมแนวนั้นขึ้นมา
สาเหตุที่ทำให้เกมมือถือต้องใช้โฆษณาไม่ตรงปกอีกข้อหนึ่งคือ การมาถึงของ Freemium หรือเล่นฟรี จะจ่ายซื้อของในเกมก็จ่ายแล้วแต่ถนัด ซึ่งเป็นช่องทางการหารายได้ของผู้พัฒนาเกมมือถือในปัจจุบันเลยทีเดียว
แต่ยังมีอีกช่องทางหนึ่งที่ทำรายได้ให้ผู้พัฒนาเกมมือถือ นั่นคือ โฆษณาในเกม
การดูโฆษณาในเกมมือถือจะกลายมาเป็นรายได้ให้กับเกมนั้นๆ และดูเหมือนรายได้ก้อนนี้จะมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากชาร์ตด้านล่าง สีเขียวคือซื้อของในเกม สีฟ้าคือรายได้จากการดูโฆษณา
ก้อนรายได้จากการดูโฆษณาเริ่มใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง (source: Appsflyer)
การโฆษณาในลักษณะที่ไม่ตรงปกนี้นี้ อย่างไรก็ตามมาด้วยเสียงติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งกดให้ดาวเดียวเมื่อรีวิว
ที่ค่ายเกมมือถือต้องทำแบบนั้นเพราะ Product life cycle หรือช่วงอายุของสินค้านั้นสั้นมากๆ จากการรวบรวมข้อมูลของ Adobe พบว่ามีคนลบเกมสูงที่สุดในบรรดาแอปฯที่คนลบทิ้งออกจากเครื่อง
เกมมือถือมีโอกาสถูกถอดออกจากเครื่องสูงกว่าประเภทอื่นๆ
Product Life Cycle ประกอบด้วย 4 ขั้น ขั้นแรกคือ Introduction ผลิตภัณฑ์เพิ่งเข้าสู่ตลาด ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ตามมาด้วย Growth stage หรือขั้นที่แอปฯเป็นที่รู้จักและมีจำนวนคนดาวน์โหลด ใช้ และจ่ายเงินให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยขั้นที่ 3 คือ Maturity Stage หรือช่วงที่ผลิตภัณฑ์กำลังเริ่มมีการเติบโตลดลงก่อนจะเข้าสู่ช่วงที่ 4 Decline Stage หรือช่วงขาลง
จากผลสำรวจของ App Annie ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์พบว่าเกมมือถือใช้เวลาแค่ 17 สัปดาห์ก็เข้า Maturity Stage หรือช่วงที่การเติบโตจะเริ่มลดลงแล้ว และเป็นช่วงก่อนจะถึงขาลงอย่างเป็นทางการ
เท่ากับว่าช่วงเวลาที่ค่ายเกมมือถือจะสามารถดึงดูดผู้ใช้จึงน้อยลงตามไปด้วย จึงไม่แปลกที่ค่ายเกมมือถือจึงใช้วิธีการโฆษณาปลอมๆ เพื่อเรียกแขกเข้ามา อย่างน้อยคนเหล่านั้นก็เข้ามาช่วยดูโฆษณาและอาจจะกลายเป็นผู้เล่นที่เปย์จริงๆ ก็ได้
ระยะยาวยังต้องดูกันต่อไปค่ะ
อ้างอิง
รายงานเรื่อง Mobile Strike กับความพยายามรวมตัวกันฟ้องร้อง:
https://www.vice.com/en_us/article/nz9z5g/why-mobile-game-ads-look-nothing-like-the-game
ผลลัพธ์ที่เกิดจากการโฆษณาปลอมบนมือถือ:
https://www.storemaven.com/why-do-mobile-gaming-companies-use-fake-ads/
รายได้จากการดูโฆษณาและการซื้อของภายในแอปพลิเคชัน:
https://www.appsflyer.com/state-of-gaming-2018/
รายงานเรื่อง Mobile games lose their luster faster than ever:
https://venturebeat.com/2017/02/11/mobile-games-lose-their-luster-faster-than-ever/
สไลด์ตัวเลขของ Adobe เกี่ยวกับอุตสาหกรรมมือถือ แท็บเล็ต และแอปพลิเคชัน:
https://www.slideshare.net/adobe/2016-mobile-benchmark-report
1 บันทึก
3
1
4
1
3
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย