Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก้าวเข้ามาเล่า
•
ติดตาม
10 มิ.ย. 2020 เวลา 23:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มนุษย์ล่องหน!!
จะเป็นไปได้หรือไม่หากวันนึงเราสามารถล่องหนหายตัวไปมาได้ราวกับมีเวทมนต์ ? หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อมีแค่ในหนังเท่านั้น แต่ก็มีหลายท่านเช่นกันที่คิดว่ามันอาจเป็นไปได้ แล้วถ้าเป็นไปได้จริง ๆ เราสามารถล่องหนได้อย่างไรกัน ?
Credit: GETTY IMAGES
เมื่อไม่นานมานี้ทีมนักวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical engineers) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ (UCI) ของสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการทำให้เซลล์ไตของมนุษย์ควบคุมการส่องผ่านและการกระเจิงของแสงได้
ซึ่งจะทำให้สามารถเปลี่ยนสภาพของเซลล์จากทึบแสงไปเป็นโปร่งใส และเปลี่ยนกลับมาสู่สภาพทึบแสงได้อีกครั้ง
แล้วความสามารถนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ความสามารถในการควบคุมแสงเช่นนี้มาจากการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม ทำให้เซลล์มนุษย์เกิดการแสดงออกของยีนที่เป็นตัวการผลิตโปรตีน "รีเฟล็กติน" (Reflectin) ออกมา โดยโปรตีนชนิดนี้เดิมมีอยู่ในเซลล์พิเศษของหมึกกล้วย ซึ่งช่วยให้พวกมันควบคุมการส่องผ่าน หักเห หรือสะท้อนแสงเพื่ออำพรางตัวด้วยการเปลี่ยนสีหรือทำตัวโปร่งใสในธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
Credit: © Zac / stock.adobe.com
รายงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ระบุว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ UCI ทำให้เซลล์ไตของมนุษย์ที่เลี้ยงในจานทดลอง สามารถผลิตโปรตีนรีเฟล็กตินออกมาได้ โดยจะอยู่ในรูปทรงกลมที่จับกันเป็นก้อนอย่างไม่มีระเบียบ และลอยอยู่ในไซโทพลาซึม (Cytoplasm) ซึ่งเป็นของเหลวที่ล้อมรอบนิวเคลียสของเซลล์
เมื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ พบว่าเซลล์ของมนุษย์ซึ่งผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว สามารถผลิตโปรตีนรีเฟล็กตินที่มีคุณสมบัติและกลไกการทำงานเหมือนกับที่พบในหมึกกล้วยอย่างไม่ผิดเพี้ยน โดยทำให้แสงที่ส่องผ่านเซลล์เกิดการกระเจิงในรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมจนดูโปร่งใสขึ้น
กระบวนการดังกล่าวสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้อย่างไร ?
กระบวนการดังกล่าวยังสามารถควบคุมให้เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาได้ โดยใช้ความเข้มข้นของเกลือเป็นปัจจัยกำหนด ยิ่งภายในเซลล์มีเกลือ
มากขึ้น โมเลกุลของโปรตีนรีเฟล็กตินก็จะขยายใหญ่ขึ้น เพิ่มการกระเจิงของแสงจนทำให้เซลล์ดูขุ่นและทึบแสงขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากภายในเซลล์มีเกลือ
น้อยลงก็จะยิ่งโปร่งแสงขึ้นจนดูใสเหมือนล่องหนไปในที่สุด
แม้เทคนิคนี้อาจนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมนุษย์ล่องหนที่หายไปทั้งตัวได้ในวันหนึ่ง แต่ทีมผู้วิจัยและนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเตือนว่ายังไม่ใช่เรื่อง
ง่ายนัก และยังมีข้อจำกัดอีกหลายประการ
ดังนั้นเป้าหมายในการประยุกต์ใช้ที่พอเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้ ก็คือการถ่ายภาพขยายของเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตหรือโครงสร้างย่อยของวัสดุที่ชัดเจนไม่มีอะไรบดบัง ซึ่งจะช่วยในการศึกษาวิจัยด้านวิศวกรรมชีวภาพและวัสดุศาสตร์ต่อไป
อ่านเพิ่มเติมที่ :
https://www.sciencedaily.com/releases/2020/06/200602183419.htm
Reference :
https://www.bbc.com/thai/features-52943293
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_4264314
3 บันทึก
12
8
5
3
12
8
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย