นักวิจัยเผยภาพโดรนสุดอึ้ง เต่าตนุ 6 หมื่นตัวโผล่ริมเกาะในแนวปะการัง Great Barrier Reef รวมตัวที่แหล่งวางไข่ของเต่าตนุที่ใหญ่สุดในโลก
•
นักวิจัยบันทึกภาพเต่าตนุหลายหมื่นตัวที่บริเวณแนวปะการัง Great Barrier Reef ของออสเตรเลีย ในช่วงของฤดูวางไข่ของปลายปี 2019
•
นักวิทยาศาสตร์จากกรมสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ (DES) ใช้โดรนบันทึกภาพบรรดาเต่าตนุได้ที่บริเวณเกาะ Raine ซึ่งเป็นสถานที่มีเต่าตนุอาศัยอยู่มากที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังที่กินระยะทางประมาณ 620 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Cairns
•
ซึ่งผลพบว่าโดรนสามารถช่วยนับจำนวนได้อย่างแม่นยำกว่าการใช้สายตาของมนุษย์นับโดยตรงทางเรือ
•
เมื่อนักวิยาศาสตร์ใช้โดรนบินนับจำนวนเต่าที่ขึ้นมาวางไข่เหล่านี้ปรากฎว่ามันมีจำนวนมากถึง 64,000 ตัว ที่กำลังว่ายน้ำอยู่รอบ ๆ เกาะ เพื่อเตรียมขึ้นมาวางไข่บนชายหาด
•
“เราไม่คิดมาก่อนเลยว่าจำนวนของพวกมันจะมากขนาดนี้ จำนวนของพวกมันมากกว่า 1.73 เท่า เมื่อเปรียบเทียบจากการใช้ผู้สังเกตุการณ์นับโดยตรง” Dr Andrew Dunstan จาก DES กล่าว
•
นักวิจัยระบุว่าการใช้โดรนเป็นวิธีที่ดีและแม่นยำที่สุดสำหรับการบันทึกสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ ในอนาคตนักวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายที่จะใช้ระบบอัตโนมัติที่ชาญฉลาด เพื่อนับจำนวนเต่าโดยไม่ต้องใช้คน
•
เต่าตนุ หรือ Green Turtle ได้ชื่อนี้มาจากสีผิวหนังของมันใต้กระดอง เป็นเต่ากินหญ้าเป็นหลัก โดยส่วนมากแล้วเราสามารถพบเต่าตนุได้ในบริเวณเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พวกมันจะว่ายน้ำท่องโลกไปในระยะทางที่ไกลมาก ๆ และจะกลับมาวางไข่ยังชายหาดที่พวกมันฟักตัวออกมา ซึ่งการเดินทางของเต่าบางตัวก็กินระยะเวลาถึง 35 ปีเลยทีเดียว
•
เราสามารถพูดได้ว่า มันเป็นผู้สร้างความสมบูรณ์ให้กับแนวหญ้าทะเลและระบบนิเวศ
เพราะมันทำหน้าที่แทะก้านใบเก่าๆ เปิดโอกาสให้หญ้าทะเลแตกใบใหม่ ยิ่งเล็ม ยิ่งงอกงาม
•
เต่าตนุถูกจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดย IUCN เนื่องมาจากการล่าทั้งตัวเต่า ทั้งไข่ รวมถึงการสูญเสียชายหาดซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าตนุ รวมถึงปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อเต่าตนุอย่างมาก
•
ที่มาภาพ Great Barrier Reef Foundation
•
•
ที่มาข้อมูล
•
•
•
•
•
ร่มธรรม ขำนุรักษ์
เด็กหญิงแก้มยุ้ยเป็นมิตร
enviroman
•
ติดตามกันได้ที่