11 มิ.ย. 2020 เวลา 02:38 • สุขภาพ
สตรอว์เบอร์รี
รูปภาพสตรอว์เบอร์รีจากpixabay.com
(อังกฤษ: strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้ มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอว์เบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก
รูปภาพลักษณะของสตรอว์เบอร์รีจากsites.google.com
รูปลักษณะของสตรอว์เบอร์รี
สตรอว์เบอร์รี่จัดเป็นพืชหลายปี แต่โดยทั่วไปจะปลูกปีเดียวแล้วจะมีการปลูกใหม่ในปีถัดไป ลักษณะการเจริญเติบโตจะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย สูงจากพื้นดิน 6 – 8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8 -12 นิ้ว ระบบรากส่วนใหญ่อยู่ระดับลึกประมาณ 12 นิ้วจากผิวดิน ลำต้นปกติยาว 1 นิ้ว ความยาวของก้านใบขึ้นกับพันธุ์ ขอบใบหยัก ใบส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ใบย่อย ตาที่โคนของก้านใบจะพัฒนาเป็นตาดอก ลำต้นสาขา ไหล หรือพักตัว โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรองดอกสีเขียว กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองและเกสรตัวเมียเรียงอยู่บนฐานรองดอก ซึ่งฐานรองดอกนี้จะพัฒนาเป็นเนื้อของผล ส่วนเมล็ดอยู่ติดกับผิวนอกของผล ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาว ทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขี้นอยู่กับพันธุ์ ผลจะมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พื้นที่ที่มีระดับความจากน้ำทะเล800เมตร
พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
ฤดูกาล
เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป
พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย
ยกเอามาให้ดู 5 สายพันธุ์
รูปภาพสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 50 จากsistacafe.com
พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
รูปภาพสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 60 จากsites.google.com
พันธุ์พระราชทาน 60 สตรอว์เบอร์รี่ลูกผสมสายพันธุ์แรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยกรมวิชาการเกษตรได้ออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2549 ลักษณะคือมีผลขนาดใหญ่ รูปทรงกรวยคล้ายหัวใจถึงทรงกลมปลายแหลม รสชาติหวาน เนื้อในผลสีแดงสด ผิวแดงจัดเป็นมันเงา กลิ่นหอม มีผลผลิตต่อต้นค่อนข้างสูง เป็นพันธุ์พระราชทานในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2549
รูปภาพสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 70 จากsistacafe.com
พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
รูปภาพเครื่องวัดBrixจากgrendelschildren.com
Brix คืออะไร
องศาบริกซ์ (° Brix) ตั้งชื่อตามนักเคมีชาวเยอรมัน “Adolf Brix” เป็นตัวชี้วัดความสัมพันธ์ของปริมาณของน้ำตาลซูโครสในสารละลาย โดยทั่วไป 1 °Brix เทียบเท่ากับสารละลายน้ำที่ใช้น้ำตาลซูโครส 1% โดยน้ำหนัก ในการประยุกต์ใช้จริงในอุตสาหกรรมอาหาร การวัดที่เป็นจริงประมาณ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นน้ำผลไม้มีประเภทที่แตกต่างกันของน้ำตาลและสารอาหารที่ยังละลายเพิ่มเติมนอกเหนือจากน้ำตาลดังนั้นในการประยุกต์ใช้ประจำตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องน้อยอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ปริมาณน้ำตาลที่เกิดขึ้นจริงโดย น้ำหนัก. มันอาจจะยังจึงจะเรียกว่าเป็นของแข็งที่ละลายน้ำได้ตั้งแต่วิธีการทั่วไปของการวัด จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างของส่วนประกอบเหล่านี้ละลาย พฤติกรรมการจัดแสดงส่วนประกอบน้ำตาลอื่น ๆ ในวงกว้างคล้ายกับน้ำตาลซูโครสดังนั้นขนาด Brix อาจจะยังใช้กับระดับที่เหมาะสมของความถูกต้องให้เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ที่หนึ่งไม่ได้เป็นเพียงการวัดเนื้อหาซูโครสละลาย กรดทำทำงานแตกต่างกันเพื่อให้น้ำตาลและมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ผลไม้มากที่สุด; พิจารณาไม่ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับผลกระทบของกรดในการวัดและนี้จะกล่าวถึงในรายละเอียดด้านล่าง สารอาหารที่ละลายอื่น ๆ ที่มีอยู่ในการแก้ปัญหา แต่ในปริมาณต่ำกว่าน้ำตาลและกรดดังนั้นผลกระทบที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาในระดับของความถูกต้องที่จำเป็นต้องใช้โดยทั่วไปในสถานการณ์ที่นำไปใช้
รูปภาพสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 72 จากsistacafe.com
พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
รูปภาพสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 จากsistacafe.com
พันธุ์พระราชทาน 80 ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ครั้งแรกปี พ.ศ.2545 โดยการนำเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเพาะและทดลองปลูกที่สถานีวิจัยดอยปุย และสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ถือเป็นพันธุ์ที่ได้รับความสนใจมาก เนื่องจากใช้เวลาทำการวิจัยยาวนานถึง 6 ปีเต็ม จุดเด่นอยู่ที่ลำต้นใหญ่ แข็งแรงให้ผลดก มีขนาดใหญ่ รูปร่างของผลสวยงาม เนื้อแดงสดใส รสชาติดีมาก หวานและมีกลิ่นหอม ส่วนที่มาของชื่อพันธุ์ก็เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
สารอาหาร
วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี
มีกรดโฟลิก (Folic acid)
มีเส้นใยอาหาร (Fiber)
อาการแพ้
ผู้คนบางรายมีประสบการณ์ในการมีอาการแอนาฟิแล็กซิสจากการรับประทานสตรอว์เบอร์รี
แอนาฟิแล็กซิส หรือปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงเป็นภาวะ ภูมิแพ้ อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้[1] ส่วนใหญ่ทำให้มีอาการ เช่น ผื่นคัน ปากคอบวม และ ความดันเลือดต่ำ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แมลงกัดต่อย อาหาร และยา
10 ประโยชน์ของสตรอว์เบอร์รี
1. ช่วยบูสต์ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
สตรอว์เบอร์รีเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง โดยข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า สตรอว์เบอร์รี 9 ผล จะให้วิตามินซีมากถึง 112 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณวิตามินซีที่มากพอกับขนาดที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ดังนั้นการกินสตรอว์เบอร์รีจึงสามารถช่วยเสริมกำลังของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้
อีกทั้งผลการศึกษาจาก UCLA เมื่อปี 2010 ยังแสดงให้เห็นว่า วิตามินซีที่มีในสตรอว์เบอร์รียังจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อระบบไหลเวียนของหลอดเลือดเราด้วยนะคะ
2. ช่วยควบคุมความดันเลือดและชะลอการอุดตันของหลอดเลือด
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า นอกจากสตรอว์เบอร์รีจะเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงแล้ว ในสตรอว์เบอร์รียังมีใยอาหารค่อนข้างสูง และมีส่วนประกอบของน้ำค่อนข้างมาก แถมยังมีสารที่ช่วยควบคุมความดันเลือดและชะลอการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจได้อีกต่างหาก
3. ช่วยลดคอเลสเตอรอล ดีต่อใจ
ซูเปอร์ไฟเบอร์เพกตินในสตรอว์เบอร์รีมีคุณสมบัติช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้วิตามินซีและไฟเบอร์ของสตรอว์เบอร์รียังมีส่วนในการลดจำนวนคอเลสเตอรอลที่เกาะตามผนังหลอดเลือดได้ด้วย
ขณะที่การศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังพบว่า สารแอนโทไซยานินในสีแดงสดของผลสตรอว์เบอร์รีก็มีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เพราะจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกาย และช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงได้อีกทาง
4. ลดความดันโลหิต
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The American Journal of Clinical Nutrition พบว่า สารฟลาโวนอยด์ในผลไม้ตระกูลเบอร์รีทุกชนิดสามารถช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ เนื่องจากสตรอว์เบอร์รีก็มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตของเราให้อยู่ในจุดสมดุลนั่นเอง
5. บำรุงและดูแลสุขภาพตา
สารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีในสตรอว์เบอร์รีมีส่วนช่วยป้องกันโรคต้อ และชะลอความเสื่อมของดวงตาจากการถูกรังสียูวีทำลายได้ นอกจากนี้วิตามินซียังเป็นสารอาหารสำคัญของการบำรุงดูแลเลนส์ตาและกระจกตาของเราให้สมบูรณ์แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อโรคและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาของเรา
6. ช่วยลดน้ำหนัก
สตรอว์เบอร์รีมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนอะดิโปเนกติน (Adiponectin) และฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งระบบการเผาผลาญ จัดการไขมันสะสมในร่างกายได้อยู่หมัด ฉะนั้นสาว ๆ ที่อยากลดน้ำหนักให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ไม่ควรพลาดสตรอว์เบอร์รีด้วยประการทั้งปวง
7. บำรุงผิวให้เปล่งปลั่ง ดูอ่อนกว่าวัย
ผลการศึกษาจาก American Journal of Clinical Nutrition เผยว่า วิตามินซีที่มีอยู่เยอะในสตรอว์เบอร์รีก็มีส่วนช่วยลดริ้วรอย ความหย่อนคล้อย และความแห้งกร้านของผิวพรรณที่เกิดจากความเสื่อมตามอายุได้ด้วยนะจ๊ะสาว ๆ
8. แก้ท้องผูก
สตรอว์เบอร์รีเพียง 9 ผล ก็มีไฟเบอร์ราว ๆ 3.4 กรัมแล้วนะคะ ซึ่งไม่เพียงเท่านั้น เพราะในสตรอว์เบอร์รีก็ยังมีกรดโฟลิก กรดที่ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย จึงช่วยแก้ปัญหาท้องผูกให้กับเราได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรกินผัก-ผลไม้อื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้ร่างกายได้รับใยอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะคนที่มีอาการท้องผูกหนักมาก ๆ
9. เป็นผลไม้ต้านมะเร็ง
American Cancer Society เผยประโยชน์ของสตรอว์เบอร์รีมาว่า ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) หรือสารพฤกษเคมี บวกกับวิตามินซี และแร่ธาตุดี ๆ อีกหลายชนิดในสตรอว์เบอร์รี ก็มีส่วนสำคัญในการต้านเซลล์มะเร็ง และมีสรรพคุณบำบัดโรค โดยเฉพาะคุณสมบัติป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของคุณสาว ๆ
10. ลดการอักเสบในร่างกาย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยผลการศึกษามาว่า ผู้หญิงที่กินสตรอว์เบอร์รีสัปดาห์ละ 16 ผลขึ้นไป จะมีแนวโน้มเสี่ยงต่ออาการอักเสบลดลง โดยเฉพาะอาการข้อต่ออักเสบ โรคเกาต์ หรือโรคข้อเสื่อม เนื่องจากสตรอว์เบอร์รีมีสารต้านอนมูลอิสระค่อนข้างสูง และยังมีสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติล้างกรดยูริกอันเป็นกรดที่กระตุ้นให้เกิดโรคข้อต่าง ๆ ได้
เนื้อหาจาก
รูปภาพจาก
สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 60
สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 50
สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 70
สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 72
สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80
รูปลักษณะของสตรอว์เบอร์รี
สตรอว์เบอร์รี
โฆษณา