Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wissarut Srirungruang
•
ติดตาม
11 มิ.ย. 2020 เวลา 06:09
ผ่านไป 1 เดือนได้ .... กับความทรงจำชีวิต
ลูกผู้ชายที่ต้องตอบแทนพระคุณพ่อ-แม่
" ภารกิจการบวชเป็น #พระป่า "
..... มันไม่ใช่เรื่องบวชธรรมดาที่เราเจอ
แต่ ... นี่คือ "พระรุ่นโควิท" รุ่นนี้พิเศษจริงๆ
ก่อนอื่น ..... ที่จะ #บวชพระ นั้นผมคิดมาหลายปีแล้วว่า " #บวช เมื่อไร .... ดี" มาหลายปี แต่ด้วยการทำงานที่ยากจะปลีกตัวมาจริงๆ (อันนี้เราบอกว่าขอบคุณอุปสรรคที่ทำให้เรามาสิ่งดีๆในวันนี้) แต่มาถึงช่วงจังหวะชีวิตที่ทำให้ผมก็ตัดสินใจ "ออกจากงาน" เพื่อมาเริ่มต้นใหม่ทั้งชีวิต .... ภารกิจบวชก็อยู่ในแผนของการเปลี่ยนแปลงนี้
ก่อนจะไปอยู่วัด อย่างแรก รือการขอขมาผู้มีพระคุณ ญาติผู้ใหญ่ อันนี้เราเองก็ตระเวนไปหา กราบไหว้ กลิบผมใส่พานพอเป็นพิธี .... และให้จบผ้าไตรด้วย
วัดที่ไปบวชก็คือ " #วัดป่ามณีกาญจน์ " ไม่ไกลจากบ้านและเป็นวัดที่มีความสงบเป็นป่าร่มรื่น ... แนววัดแบบนี้จะไม่เหมือนบ้านบ้าน เป็นวัดที่บวชแล้วสบายใจสุดๆ
ก้าวแรกของการอยู่วัดนั้นคือ การบวชเป็นผ้าขาว! พระที่ผมบวชนั้นเป็น "พระป่า" จะมีความแตกต่างจากพระบ้าน คือ ก่อนจะเป็นพระป่าได้ต้องมาบวชเป็นผ้าขาวก่อน จากศีล 5 ข้อก็มาเป็นศีล 8 ข้อ (สำหรับพระที่เป็นสายวัดบ้านจะมีอีกแบบนึง)
การบวชผ้าขาวนั้น เพื่อให้เราได้ปรับสภาพตัวเราให้เข้ากับการเป็นพระ และฝึกซ้อมขานนาคในวันบวชจะใช้ "เอสาหัง" ...... แต่เนื่องจากช่วงที่บวชเป็นช่วงฤดูร้อนมีสามเณรทำให้การบวชครั้งนี้เราบวชพร้อมเณร
ช่วงที่จะบวชนั้นเกิดสถานการ์ณโรคระบาด "โรคโควิท-19" ช่วงที่เป็าผ้าขาวก็ลุ้นกันแทบสุดๆจะได้ลุ้นว่าได้บวชหรือไม่ เพราะรัฐบาลสั่งปิดสถานที่ ออกมาตราการต่างๆ ..... ตอนนั้นผมคิดหนัก พระที่จะบวชนั้นจะเรียกรุ่น "ปี/เดือน" เช่นรุ่นที่ผมบวชก็ 63/3 แต่ ... มันพิเศษกับเหตุการ์ณนี้เลยเรียกว่า "รุ่นโควิท"
ไม่มีอะไรจะมาหยุดกับความตั้งใจของพวกเราได้ 21 มีนาคม 2563 .... วันบวชพระมาถึง ญาติมากันเยอะ แต่ ..... รอบนี้บนศาลาจะมีแต่พระกับนาคเท่านั้น เนื่องจากมาตราการเข้มงวดป้องกันโรคโควิท ..... ทำให้ญาติพี่น้องได้เห็นเราแค่ตอนเป็นนาคในวันนั้น
จากนั้น .... เข้าสู่พิธีก็ขาน "เอสาหัง ภัณเต ... " จนถึง " เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ .... " จากนั้นก็ผลัดผ้าขาวมาห่มจีวร เราก็ได้มาเป็นพระป่าโดยสมบูรณ์ .... เป็นเรียบร้อย สิ่งที่พ่อแม่ ญาติพี่น้องได้เห็นเราบวชก็มาถึงโดยสมบูรณ์ .... ฉายาเราที่ได้นั้นคือ "ธมฺมวโร" (ธรรมมะวโร) แปลว่า ผู้มีธรรมอันประเสริฐ
สิ่งนึงที่พระป่าต่างจากพระบ้านคือ สีจีวรพระ จะเป็น "สีแก่นขนุน" ที่มาคือมาจากการใช้สีจากแก่นขนุนย้อมจีวร .... พระวัดบ้านสีจะเหลืองส้ม
แต่ละวันที่เราเป็นพระ ตื่นเช้าตี 3-4 มาเพื่อเตรียมจัดกระโถน น้ำล้างมือ อาสนะนั่งตอนเช้า ทำวัตรเช้า .... และออกบิณฑบาตร ช่วงของการบวชนั้นมีทั้งโรคโควิท-19 ที่ระวังโดยการใส่หน้ากาก และเราเองก็อยู่เดินไปกับสามเณรรอบวัดแทน ... นับว่าเป็นความโชคดีของเรานะที่เดินแค่ในนี้
แต่ช่วงเช้าจะมีการจัดเวรรับประเคน + เฝ้าศาลา ถ้าวันไหนตรงกับของเราก็ต้องมารับประเคนอาหารด้วย ....
การจัดอาหารสำหรับสายพระป่า จะแตกต่างจากพระวัดบ้านคือ ฉันอาหารในบาตรแล้วใช้มือหยิบฉัน ต่างจากวัดบ้านอย่างสิ้นเชิง !!! และที่สำคัญคือ "ฉันอาหารมื้อเดียว" มื้อต่อไปก็ "วันรุ่งขึ้น" ระหว่างวันก็น้ำปานะ (น้ำผลไม้ลูกเล็กๆ น้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำอัดลมไม่เกิน 7 วัน)
ช่วงสายและเที่ยงก็พักผ่อนอ่านหนังสือธรรมะ ... พอตกช่วงบ่าย 3 ก็ออกมากวาดลานทำความสะอาดพื้นที่วัด
วันไหนอยากแจมมาช่วยพระสายงานก่อสร้างก็ช่วยเท่าที่ได้ และได้มาดูวิชาการก่อสร้างในตัว บางทีก็อาจจะไปทำอย่างอื่นเช่น เช็คกระจก
กุฏิพระป่า ... จะอยู่เป็นหลัง อาศัยคนเดียวอันนี้เป็นการฝึกการอยู่เดี่ยว มรรคน้อย สันโดษ มีทางเดินสำหรับเดินจงกลม ตอนแรกคิดว่าต้องอยู่กับพระพี่เลี้ยง แต่จริงๆก็ต้องอยู่คนเดียว ก็ .... ดีตรงที่เราได้ทำอะไรส่วนตัวได้ทั้งนั่งสมาธิ นั่งอ่านหนังสือ
ตอนค่ำก็สวดวัตรเย็น ..... ในแต่ละวันจะมีพระสวดชุมนุมเทวดา โดยผลัดกันสวดตามลำดับไป บทสวดวัตรเย็นก็มีเปิดอ่าน ... แต่หลังๆบางบทก็ไม่ต้องเปิด ถ้าจะเปิดก็ดูพิจารณาคำแปลไปด้วย
วันไหนที่ตรงกับ "วันปาฏิโมกข์" ก็ต้องตื่นแต่เช้ากว่าเดิมเพราะต้องมาปลงอาบัติ และนั่งฟังปาฏิโมกข์
บทสวด "ปาฏิโมกข์" เล่มนี้ ... ผมมีอยู่เช่นกัน แต่ความยากคือภาษาบาลีและมีเยอะหลายข้อ (น่าจะศีลพระทั้งหมด) .... จำได้นิดๆหน่อยเอง
ช่วงการบวชฤดูร้อน .... นอกจากสามเณรแล้วยังมีช่วงทำบุญอัฐิผู้ล่วงลับ และ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในที่นี้ก็คือพระอาจารย์
สามเณรที่บวชครั้งนี้ เป็นรุ่นพิเศษไม่แพ้กัน .... แต่รอบนี้ไม่มีใครป่วยเลย พระก็เช่นกัน ทุกปีจะมีป่วยบ้างอะไรบ้าง แต่รุ่นโควิทแข็งแกร่งจริงๆ
มาถึงช่วงสำคัญของการบวช .... วันวิสาขบูชา มีทั้ง ปาฏิโมกข์ วันพระใหญ่ เวียนเทียน ถ้าใครเวรรับประเคน + เฝ้าศาลาจะโชคดีบุญใหญ่ของท่าน ..... วันนั้นไม่ใช่ใครก็เราเองแหละ เหนื่อยที่สุดก็ได้บุญที่สุดในวันนั้น
บวชเป็นพระป่าจนมาถึงวันที่ต้องกล่าวว่า สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ : ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า "เป็นคฤหัสถ์" นั่นคือ ลาสิกขา หรือสึก ......
จากพระถือศีล 227 ข้อมาสู่ผ้าขาวศีล 8 อีกครั้งก่อนจะจบภารกิจบวชพระป่า ..... ช่วงนั้นจิตใจสะอาด ละกิเลส ปล่อยวางไปได้หมดแล้ว
เมื่อภารกิจการบวชเสร็จสิ้น จบไปด้วยดี ..... กลับมาที่บ้านเรายังได้ พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร มาบูชาที่บ้านเป็นของที่ระลึกด้วย ปกติพระที่บวชพรรษาหน้าฝนถึงจะได้ แต่สำหรับพระโควิทพระอาจารย์อำนวยจึงให้เป็นรุ่นกรณีพิเศษ
สุดท้ายเราก็กลับมาใช้ชีวิต "ฆราวาสยุค 5G"
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย