11 มิ.ย. 2020 เวลา 09:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ว่าด้วยเรื่องอากาศเย็นและฮีตเตอร์ สิ่งที่จำเป็นในฤดูหนาวของรัสเซีย
ทุกท่านคงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าประเทศรัสเซียมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งทวีปเอเชียและทวีปยุโรปโดยมีเทือกเขาอูราลเป็นพรมแดนกั้นอาณาบริเวณของทั้งสองทวีป และตั้งอยู่ไม่ไกลจากแถบเส้นวงรอบอาร์คติก จึงทำให้รัสเซียมีภูมิอากาศหนาวเย็นที่ยาวนานและช่วงฤดูร้อนที่สั้น แม้แต่เมืองที่ตั้งอยู่ในแถบทะเลดำ เช่น คราสนาดาร์ (Krasnodar = Краснода́р) ก็มีอากาศที่ค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูหนาวเช่นกัน
ฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่ ธ.ค. ถึง ก.พ. ของทุกปี (จริงๆปลายๆพ.ย.ก็เริ่มหนาวแล้ว ใบไม้ร่วงหมด ส่วนต.ค. หิมะก็เริ่มตก) ทางเทศบาลเมืองนั้นก็จะเปิดฮีตเตอร์ทำความร้อนส่วนกลางในทุกๆตึก ซึ่ง ก็มักไม่อุ่นพอ ดังนั้นฮีตเตอร์
หรือเครื่องทำความร้อนแบบเสียบปลั๊กจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เครื่องทำความร้อนที่ราคาถูกที่นศ.อย่างเราสามารถซื้อได้ก็คือเครื่องทำความร้อนชนิดขดลวด
หรือลวดความร้อน
ส่วนใหญ่โลหะที่นำมาทำเป็นขดลวด หรือแผงทำความร้อนจะเป็นโลหะผสมหรือเรียกว่าอัลลอย ระหว่างทองแดง (ภาษารัสเซียเรียกว่า Медь อ่านว่า เมียด) กับนิกเกิล ทั้งสองตัวนี้เป็นโลหะทรานซิชันมีคุณสมบัตินำความร้อน
ได้ดี (ทวนอีกครั้ง การส่งผ่านความร้อนมี 3 แบบ การนำ การพา การแผ่รังสี)
เมื่อเราเสียบปลั๊กให้กระแสไฟฟ้ากับลวดตัวนำ จะเกิดการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อนเกิดขึ้น ในช่วงแรกที่เสียบปลั๊กขดลวดยังไม่ร้อนมากพอ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการแปลงพลังงาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปโลหะนั้นๆ
ได้รับพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เกิดการถ่ายเทพลังงานระหว่างอะตอมภายในของโลหะ มีผลให้อุณหภูมิของโลหะสูงขี้นมากพอ โลหะนั้นๆจึงร้อนขึ้น จึงปรากฏเป็นสีแดงหรือมีความ “ร้อนแดง” นั่นเอง
โลหะเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากพอจะ "ร้อนแดง"
มีคำถามที่น่าสนใจว่า เราสามารถใช้โลหะอื่นแทนทองแดงได้หรือไม่ คำตอบคือ “ได้” แต่ต้องพิจารณาสภาพนำความร้อนของโลหะนั้นๆที่นำมาใช้ด้วยว่าควรจะต้องมีสภาพนำความร้อนที่มากกว่าทองแดงถึงจะทำให้มัน
“ร้อนเร็ว” กว่าทองแดง นั่นเองค่ะ
ผลลัพธ์ต่อมาจากการที่ฮีตเตอร์ร้อนขึ้น อากาศรอบๆฮีตเตอร์ก็มีอุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของอากาศบริเวณนั้นๆก็เคลื่อนที่เร็วมากขึ้นตามไปด้วย มีผลให้มันมีพลังงานจลน์มากขึ้นตามไปด้วย เมื่อมันมีพลังงงานจลน์มากขึ้น มันก็
ต้องถ่ายเทพลังงานจลน์ส่วนเกินนี้โดยการไปกระแทกโมเลกุลข้างเคียง ทำให้อากาศอุ่นขึ้นเป็นวงกว้าง นี่เราเรียกว่าเป็น “การพาความร้อน” เป็นหนึ่งในการส่งผ่านความร้อนชนิดหนึ่ง ความร้อนนี้ส่งผ่านมายังเรา เราจึงรู้สึกอุ่นขึ้นนั่นเอง
1
การส่งผ่านความร้อนชนิดต่างๆ
นอกจากนี้ เรายังพบว่า ถ้าเรานั่งบนพื้นห้อง (ที่ไม่ได้ปูพรม) จะรู้สึกเย็นกว่านั่งบนเก้าอี้ หรือบนโต๊ะที่อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพื้นห้อง ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า โมเลกุลของอากาศที่อุ่นกว่าจากฮีตเตอร์ขยายตัว มีปริมาตรมากขึ้น ทำให้
ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนั้นลดลง มันจึงลอยขึ้นสู่ด้านบน ในขณะที่โมเลกุลของอากาศที่เย็นกว่ามีการขยายตัวน้อยกว่า ปริมาตรน้อยกว่า มีผลให้ความหนาแน่นของอากาศเย็นมากกว่า อากาศเย็นจึงอยู่ที่พื้นห้อง จึงทำ
ให้เรารู้สึกเย็นนั่นเอง
2
ส่วนหน้าร้อนของรัสเซียจะอยู่ในช่วง มิ.ย.ถึง ส.ค. ของทุกปี ทางเทศบาลก็จะปิดฮีตเตอร์และน้ำอุ่นส่วนกลางค่ะ ปิดฮีตเตอร์ยังพอทนได้ค่ะ แต่ปิดน้ำอุ่นนี่คือทรมานมากเลย เพราะอุณหภูมิน้ำปกติในฤดูร้อนคือประมาณ 4-5
องศาเซลเซียส ซึ่ง ถ้าจะสระผมต้องไปต้มน้ำอาบเท่านั้นค่ะ ส่วนถ้าอยากล้างตัว ส่วนตัวเราเคยอาบสดบ่อยๆ ค่ะ ฮา ตัวแดงเลยทีเดียว สดชื่นไปอีกแบบนะคะ
โฆษณา