11 มิ.ย. 2020 เวลา 16:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เบื่อ SpaceX?? งั้นเรามาดูคู่แข่งเจ้าอื่นอุตสาหกรรมการบินและอวกาศกันบ้างดีกว่า 😉🚀
วันนี้เรามาดู Rocket Lab อีกหนึ่งบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านอวกาศจากนิวซีแลนด์กัน
Rocket Lab กับจรวด ELECTRON
ตามแผนแล้วในวันนี้ Rocket Lab มีแผนจะส่งจรวด ELECTRON ขึ้นสู่อวกาศอีกครา ในภารกิจการส่งดาวเทียมให้ NASA, National Reconnaissance Office (NRO) และของมหาวิทยาลัย New South Wales (UNSW) ขึ้นสู่วงโคจร
แต่เนื่องจากสภาพลมแรง กำหนดการปล่อยตัวจึงต้องถูกเลื่อนออกไป
1
รอเวลาทะยานออกจากฐานปล่อยที่ Mahia, New Zealand
ด้วยคอนเซป ประหยัดและรักษ์โลก Rocket Lab นำเสนอบริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรด้วยราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งเป็น 10 เท่า (150 ล้านบาทต่อเที่ยวเมื่อเทียบกับราคาปกติที่อยู่ประมาณ 1,500 ล้านบาท)
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดดาวเทียมของคุณด้วย เพราะจรวด ELECTRON ที่มีขนาดสูง 17 เมตร หนัก 13 ตันลำนี้สามารถบรรทุกสัมภาระขึ้นไปได้สูงสุดไม่เกิน 225 กิโลกรัม
ส่วนประกอบของ First Stage
การที่ต้นทุนของ Rocket Lab ต่ำนั้นเริ่มต้นด้วยเทคนิคการผลิตเครื่องยนต์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
โดยวิธีที่เรียกว่า Electron-beam additive manufacturing หรือ EBM เป็นการฉีดผงโลหะไล่เรียงเป็นชั้นก่อนใช้เลเซอร์ยิงให้ความร้อนจนผงโลหะละลายเกาะเป็นชั้น ๆ ไป
งานเนียนและผลิตได้เร็ว 1 เครื่องต่อ 1 วัน
รวมถึงการใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่สำหรับปั๊มเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ Rutherford engines ทั้ง 9 ตัวในจรวดท่อนบูสเตอร์
ซึ่งช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงและลดน้ำหนักตัวจรวดได้ รวมถึงตัวถังของจรวดที่ทำจากวัสดุ carbon composite ที่แข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา
สำหรับการนำจรวดท่อนบูสเตอร์นำกลับมาใช้ใหม่นั้น ตอนนี้ทาง Rocket Lab ยังไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ก็มีแผนการนำกลับมาใช้ใหม่ในเที่ยวถัดไป
โดยเทคนิคที่ใช้นั้นแสนเรียบง่ายคือ ปล่อยร่มชูชีพชะลอความเร็วการตกของจรวดท่อนบูสเตอร์ ก่อนที่จะใช้เฮลิคอปเตอร์บินไปเกี่ยวเก็บกลับมา
ภาพขณะทำการทดสอบการบินเก็บจรวดท่อนบูสเตอร์
ฟังดูเรียบง่ายไม่โลดโผนเหมือนการลงจอดแนวดิ่งแบบตอกตะปูอย่างของจรวด Falcon แต่มันก็ดูง่าย ต้นทุนต่ำและความเสี่ยงน้อยกว่า ผมชอบนะ 😃👍
แม้ว่าจังหวะอาจจะต้องเป๊ะและฝีมือนักบินเฮลิคอปเตอร์ต้องเก่งพอตัวเลยทีเดียว
ที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งของจรวด ELECTRON ก็คือส่วน Pay load ซึ่งมีความพิเศษตรง Kick Stage ที่ใช้นำส่งดาวเทียมเข้าตำแหน่งอย่างแม่นยำ และไม่ทิ้งขยะอวกาศใด ๆ ไว้ในวงโคจร
เพราะเมื่อทำหน้าที่ส่งดาวเทียมสู่เป้าหมายสำเร็จ ส่วน Kick Stage ก็จะบินกลับสู่โลก นั่นทำให้จรวด ELECTRON นี้ไม่ทิ้งขยะอวกาศไว้ในวงโคจรแม้แต่ชิ้นเดียว
เพราะมีเครื่องยนต์ในตัวเองจึงควบคุมตำแหน่งการปล่อยดาวเทียมได้อย่างแม่นยำ และบังคับให้ตกกลับสู่โลกได้
จรวด ELECTRON นี้สามารถนำส่งดาวเทียมขึ้นไปได้ถึงระดับความสูง 300 ถึง 700 กิโลเมตรจากพื้นโลก
กว่าที่ Rocket Lab จะประสบความสำเร็จในการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศก็ต้องเจอกับความล้มเหลวกว่า 4 ครั้ง
และหลังจากเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2017 ก็ได้ทำภารกิจส่งดาวเทียมสำเร็จไปแล้วกว่า 10 เที่ยวบิน
ธุรกิจด้านอวกาศเริ่มเปิดกว้างมีผู้เล่นเข้ามามากมาย อีกหน่อยก็คงไม่ต่างจากอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน 😉🚀✈️
เพิ่มช่องทางให้ติดตามกันได้ในเพจ FB นะครับ
โดยใน BD จะเน้นบทความ ส่วน FB จะเน้นเป็น Update ข่าวสารและ Pic of the day 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา