Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
11 มิ.ย. 2020 เวลา 16:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เบื่อ SpaceX?? งั้นเรามาดูคู่แข่งเจ้าอื่นอุตสาหกรรมการบินและอวกาศกันบ้างดีกว่า 😉🚀
วันนี้เรามาดู Rocket Lab อีกหนึ่งบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านอวกาศจากนิวซีแลนด์กัน
Rocket Lab กับจรวด ELECTRON
ตามแผนแล้วในวันนี้ Rocket Lab มีแผนจะส่งจรวด ELECTRON ขึ้นสู่อวกาศอีกครา ในภารกิจการส่งดาวเทียมให้ NASA, National Reconnaissance Office (NRO) และของมหาวิทยาลัย New South Wales (UNSW) ขึ้นสู่วงโคจร
แต่เนื่องจากสภาพลมแรง กำหนดการปล่อยตัวจึงต้องถูกเลื่อนออกไป
1
รอเวลาทะยานออกจากฐานปล่อยที่ Mahia, New Zealand
ด้วยคอนเซป ประหยัดและรักษ์โลก Rocket Lab นำเสนอบริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรด้วยราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งเป็น 10 เท่า (150 ล้านบาทต่อเที่ยวเมื่อเทียบกับราคาปกติที่อยู่ประมาณ 1,500 ล้านบาท)
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดดาวเทียมของคุณด้วย เพราะจรวด ELECTRON ที่มีขนาดสูง 17 เมตร หนัก 13 ตันลำนี้สามารถบรรทุกสัมภาระขึ้นไปได้สูงสุดไม่เกิน 225 กิโลกรัม
ส่วนประกอบของ First Stage
การที่ต้นทุนของ Rocket Lab ต่ำนั้นเริ่มต้นด้วยเทคนิคการผลิตเครื่องยนต์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
โดยวิธีที่เรียกว่า Electron-beam additive manufacturing หรือ EBM เป็นการฉีดผงโลหะไล่เรียงเป็นชั้นก่อนใช้เลเซอร์ยิงให้ความร้อนจนผงโลหะละลายเกาะเป็นชั้น ๆ ไป
งานเนียนและผลิตได้เร็ว 1 เครื่องต่อ 1 วัน
รวมถึงการใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่สำหรับปั๊มเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ Rutherford engines ทั้ง 9 ตัวในจรวดท่อนบูสเตอร์
ซึ่งช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงและลดน้ำหนักตัวจรวดได้ รวมถึงตัวถังของจรวดที่ทำจากวัสดุ carbon composite ที่แข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา
สำหรับการนำจรวดท่อนบูสเตอร์นำกลับมาใช้ใหม่นั้น ตอนนี้ทาง Rocket Lab ยังไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ก็มีแผนการนำกลับมาใช้ใหม่ในเที่ยวถัดไป
youtube.com
Rocket Lab | Mid-Air Recovery Demo
In early 2020 Rocket Lab successfully completed a mid-air recovery demonstration of an Electron test article.
โดยเทคนิคที่ใช้นั้นแสนเรียบง่ายคือ ปล่อยร่มชูชีพชะลอความเร็วการตกของจรวดท่อนบูสเตอร์ ก่อนที่จะใช้เฮลิคอปเตอร์บินไปเกี่ยวเก็บกลับมา
ภาพขณะทำการทดสอบการบินเก็บจรวดท่อนบูสเตอร์
ฟังดูเรียบง่ายไม่โลดโผนเหมือนการลงจอดแนวดิ่งแบบตอกตะปูอย่างของจรวด Falcon แต่มันก็ดูง่าย ต้นทุนต่ำและความเสี่ยงน้อยกว่า ผมชอบนะ 😃👍
แม้ว่าจังหวะอาจจะต้องเป๊ะและฝีมือนักบินเฮลิคอปเตอร์ต้องเก่งพอตัวเลยทีเดียว
ที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งของจรวด ELECTRON ก็คือส่วน Pay load ซึ่งมีความพิเศษตรง Kick Stage ที่ใช้นำส่งดาวเทียมเข้าตำแหน่งอย่างแม่นยำ และไม่ทิ้งขยะอวกาศใด ๆ ไว้ในวงโคจร
youtube.com
Rocket Lab Kick Stage - Responsible orbital deployment
The Kick Stage will take your satellite exactly where it needs to go, even when flying on rideshare missions. Powered by the Curie engine, named after the ph...
เพราะเมื่อทำหน้าที่ส่งดาวเทียมสู่เป้าหมายสำเร็จ ส่วน Kick Stage ก็จะบินกลับสู่โลก นั่นทำให้จรวด ELECTRON นี้ไม่ทิ้งขยะอวกาศไว้ในวงโคจรแม้แต่ชิ้นเดียว
เพราะมีเครื่องยนต์ในตัวเองจึงควบคุมตำแหน่งการปล่อยดาวเทียมได้อย่างแม่นยำ และบังคับให้ตกกลับสู่โลกได้
จรวด ELECTRON นี้สามารถนำส่งดาวเทียมขึ้นไปได้ถึงระดับความสูง 300 ถึง 700 กิโลเมตรจากพื้นโลก
กว่าที่ Rocket Lab จะประสบความสำเร็จในการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศก็ต้องเจอกับความล้มเหลวกว่า 4 ครั้ง
และหลังจากเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2017 ก็ได้ทำภารกิจส่งดาวเทียมสำเร็จไปแล้วกว่า 10 เที่ยวบิน
ธุรกิจด้านอวกาศเริ่มเปิดกว้างมีผู้เล่นเข้ามามากมาย อีกหน่อยก็คงไม่ต่างจากอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน 😉🚀✈️
Source:
https://interestingengineering.com/rocket-labs-queen-inspired-mission-will-be-burnin-through-the-sky-tomorrow
https://interestingengineering.com/new-zealand-just-sent-battery-powered-3d-printed-rocket-space
https://www.rocketlabusa.com/electron
http://www.spaceref.com/news/viewsr.html?pid=53759
เพิ่มช่องทางให้ติดตามกันได้ในเพจ FB นะครับ
โดยใน BD จะเน้นบทความ ส่วน FB จะเน้นเป็น Update ข่าวสารและ Pic of the day 😉
https://www.facebook.com/Antfield-Blog-BD-100765311679223
14 บันทึก
113
31
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beyond Earth & Space Technology
14
113
31
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย