Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เสพสาระ
•
ติดตาม
13 มิ.ย. 2020 เวลา 13:39 • สุขภาพ
ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?
สวัสดีทุกคนครับ ทุกคนเคยท้องเสียกันมั้ย แน่นอนว่าต้องเคยกันใช่มั้ยละคงจะทรมานกันน่าดู แล้วทำยังไงให้อาการท้องเสียบรรเทาลง ขอเดานะ ก็คงทั้งกินยา กินเกลือแร่ หรือหยุดกินทุกอย่างก่อน แล้วเคยกินยา
"คาร์บอน" สำหรับแก้ท้องเสียกันไหม? ถ้ายังหรือเคยแล้วลองมาทำความรู้จักกับยาชนิดนี้กันหน่อยดีกว่า
ยาคาร์บอน
>> ผมยา "คาร์บอน" ครับ << (ผม = ยาคาร์บอนนะ)
ผมเป็นตัวยาที่มีส่วนประกอบของ “ผงถ่าน” (activated charcoal) มีฤทธิ์ในการดูดซับสารพิษ ดูดซับสารเคมีไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย หรือนำไปบรรเทาอาการอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ก็ได้ หรือจะผสมกับยาตัวอื่นเพื่อการ
รักษาอาการบางอย่างโดยเฉพาะก็ยังได้นะ
แต่ว่าผมก็มีข้อจำกัดอยู่ ผมจะใช้ไม่ค่อยได้ผลในการดูดซึมสารบางชนิด เช่น
สารที่ทำให้เกิดการผุกร่อน (Corrosive Agents)
สารประเภทกรดและด่างอย่างกรดบอริก , ลิเทียม , เหล็ก
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือแอลกอฮอล์
>> แล้วตัวผมรักษาอะไรได้บ้าง? <<
1. ถ่ายเหลวหรือท้องเสียจากภาวะอาหารเป็นพิษ
2. ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
3. มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก จนทำให้ปวดท้อง
4. ได้รับสารเคมี หรือสารพิษ
1
>> ตัวผมกับเรื่องเข้าใจผิด <<
ยาคาร์บอน ไม่ใช่ “ยาหยุดถ่าย” แต่เป็นเพียงยาที่เข้าไปช่วยดูดซับสารเคมี สารพิษ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษออกมาผ่านอุจจาระ อาจช่วยลดอาการถ่ายท้องในรายที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้
หากเป็นอาการท้องเสียที่ไม่ได้มีการติดเชื้อ (ถ่ายเหลว แต่ไม่ได้ปวดบิด อาเจียน หรือมีไข้ร่วมด้วย) ร่างกายจะค่อยๆ หยุดถ่ายไปได้เอง อาจไม่จำเป็นต้องกินยาคาร์บอน แต่ควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไปจาก
การถ่าย เพื่อป้องกันอาการช็อกจากการขาดน้ำกะทันหันแทน (หากถ่ายเกิน 10 ครั้งแล้วอ่อนเพลียมาก ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการถ่ายเหลวในครั้งนั้นๆ จะดีกว่า)
>> วิธีกินผม (ยาคาร์บอน) อย่างถูกวิธี <<
- กินตอนท้องว่าง โดยกินก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- กินยาตามขนาด และความถี่ที่ระบุไว้บนฉลาก (เพราะยาแต่ละชื่อการค้าอาจมีปริมาณตัวยาที่แตกต่าง)
- โดยทั่วไปอาจกินยาคาร์บอนได้ครั้งละ 3-4 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่จริงๆ แล้วตัวยาคาร์บอนมีหลายชนิด และแต่ละชนิดมีส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน ควรอ่านฉลากให้ดีก่อนกิน หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนกินทุกครั้ง
>> ข้อควรระวังของยาคาร์บอน <<
- กินยานี้แล้ว ----> อุจจาระอาจมีสีดำ ไม่ต้องตกใจนะเพราะยาคาร์บอนไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่เข้าไปจับสารพิษ และแบคทีเรียในลำไส้ แล้วขับออกมาพร้อมอุจจาระ
- ห้าม!!! ใช้ยานี้เป็นประจำ (เตือนแล้วนะ อย่าหาทำ) แต่หากมียาอื่นที่ต้องกินร่วมด้วย ให้กินยาอื่นๆ ห่างจากยานี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- หากต้องการกินนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ให้กินห่างจากยานี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่กินยานี้ เพราะแอลกอฮอล์จะไปทำปฏิกิริยากับยาได้ (จริงๆตอนไหนก็ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เนอะ)
- หญิงมีครรภ์ กำลังวางแผนจะมีบุตร หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้าก่อนการใช้ยา
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตัน มีแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ อยู่ในภาวะขาดน้ำ เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดบริเวณช่องท้อง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร
>> คำแนะนำหลังมีอาการท้องเสีย <<
- งดกินอาหารที่อาจทำให้ถ่ายง่าย เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว นม อาหารรสจัด
- กินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น แกงจืด ข้ามต้ม โจ๊ก
- เมื่อหายท้องเสียสนิทดีแล้ว กินอาหารที่มีโปรไบโอติคเพื่อช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีให้กับร่างกาย เช่น โยเกิร์ต
- เลือกกินอาหารปรุงสุกใหม่ อุ่นอาหารให้ร้อนก่อนกิน หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมงโดยไม่มีการอุ่นก่อนที่จะกิน
2
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ง่าย
สุดท้าย!!!! อย่าลืมล้างมือก่อนกินอาหาร และทุกครั้งหลังใช้ห้องน้ำนะค้าบบ
ลืมบอกๆ ผมมีหลายชื่อนะเวลาไปซื้อ บอกเภสัชกรว่าซื้อยาผงถ่านกัมมันต์ ยาคาร์บอน หรือถ่านชาร์โคล ชื่อไหนก็ได้ ได้ผมไปรักษาท้องเสียแน่ๆ
เป็นไงกันบ้างครับกับข้อมูลเรื่องยาคาร์บอน ผมพยายามจะเขียนและเรียบเรียงบทความเรื่องยาหรือสุขภาพที่ดูไม่น่าสนใจให้เรียบง่าย อ่านไว ภาษาง่ายๆ และต้องได้ข้อมูลเต็มๆ ถ้าชอบก็อย่าลืมกดถูกใจ กดติดตามเพจเป็นกำลังใจให้กันนะครับ แล้วอย่าลืมมาเสพสาระกับบทความต่อๆไปกันนะครับ
เรียบเรียงโดย : เพจเสพสาระ by biology forum
ที่มา : พบแพทย์ , มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา (วพย.) , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ขอบคุณครับ -
2 บันทึก
9
1
7
2
9
1
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย