12 มิ.ย. 2020 เวลา 18:42 • สุขภาพ
อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว: การกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง (acute exacerbation)
COPD - medications
รวมมิตรยารักษา COPD ในประเทศไทย
สัปดาห์นี้จะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับยาสูดพ่นทั้งหมดที่มีในประเทศไทย โดยแบ่งตามกลุ่ม ทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่
- Short acting bronchodilator
- LABA + ICS
- Long acting bronchodilator - mono, LAMA
- Long acting bronchodilator - dual, LAMA + LABA
- ICS + LAMA + LABA, triple therapy
.
.
💊Short acting bronchodilator
ยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์สั้น เนื่องจากออกฤทธิ์สั้น จึงใช้ในการบรรเทาอาการเวลาคนไข้มีอาการกำเริบ การใช้ยากลุ่มนี้บ่อยๆไม่ดี แต่จำเป็นต้องมีติดตัว ยาในกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็น short acting beta-2 agonist กับ short acting muscarinic antagonist
🔘Salbutamol หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า ventolin เป็นยาในกลุ่ม short acting beta-2 agonist มีทั้งที่อยู่ในรูปแบบของ nebulizer กับ MDI (metered dose inhaler)
🔘Fenoterol +Ipratropium bromide หรือที่รู้จักในนาม berodual เป็นยาในกลุ่ม dual short acting bronchodilator, short acting beta-2 agonist + short acting muscarinic antagonist มีทั้งที่อยู่ในรูปแบบของ nebulizer กับ MDI
📝ยาทั้งสองตัวเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
.
.
💊LABA + ICS (long acting beta-2 agonist + inhaled corticosteroid)
ยาขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว ร่วมกับยาสเตียรอยด์ เนื่องจากจะไม่มีการใช้สเตียรอยด์เดี่ยวๆในคนไข้ COPD
🔘Salmeterol + Fluticasone propionate หรือที่รู้จักในนาม seretide แต่ปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อ ที่ผลิตในประเทศ มีรูปแบบ MDI (evohaler ยี่ห้ออื่นๆอาจจะเรียกแบบอื่น) และ DPI (accuhaler, DPI = dry powder inhaler)
📝Seretide evohaler ในประเทศไทยมี 3 ขนาด (salmeterol/fluticasone propionate) 25/50, 25/125, 25/250
📝Seretide accuhaler ในประเทศไทยมี 3 ขนาด 50/100, 50/250, 50/500
🔘Formoterol + Budesonide หรือที่เรารู้จักในนาม symbicort ปัจจุบันก็มียี่ห้อที่ผลิดในประเทศ มีเฉพาะรูปแบบ DPI (turbuhaler, swinghaler) มี 2 ขนาด 160/4.5, 320/9 (forte) (ในบางประเทศจะระบุเป็นขนาด 200/6, 400/12 ซึ่งคือขนาดเดียวกับที่แอดบอกไป แต่ใช้วิธีระบุขนาดคนละวิธี ไว้จะเล่ารายละเอียดให้ฟังตอน asthma นะครับ)
📝หลักการใช้ยากลุ่มนี้ ก็เป็นไปตามหลักการใช้ยาในการรักษา COPD นั่นคือ ยาหลักเป็นยาขยายหลอดลม เพราะฉะนั้นยาขยายหลอดลมควรใช้ในขนาดสูงสุดของยาตัวนั้นนั้น ส่วนยาสเตียรอยด์เป็นยาเสริม ปัจจุบันเราไม่อยากใช้ยาสเตียรอยด์ในขนาดสูง มักจะใช้ในขนาดปานกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงของสเตียรอยด์ และยังได้ประโยชน์ของสเตียรอยด์อยู่
📝Seretide ต้องให้ได้ขนาดของ salmeterol ที่ 100 ไมโครกรัมต่อวัน และขนาดของ fluticasone propionate ไม่เกิน 500 ไมโครกรัมต่อวัน เช่น seretide accuhaler (50/250) 1 สูด วันละสองครั้ง, seretide evohaler (25/125) 2 puff วันละสองครั้ง
📝Symbicort ต้องให้ได้ขนาดของ formoterol ที่ 18 ไมโครกรัมต่อวัน และขนาดของ budesonide ไม่เกิน 800 ไมโครกรัมต่อวัน เช่น symbicort turbuhaler (160/4.5) 2 สูด วันละสองครั้ง
📝ยาทั้งสองตัวเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้อบ่งชี้ในการใช้แอดได้เล่าให้ฟังไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แอดทำลิงก์บทความไว้ให้ตรงนี้แล้วนะครับ
COPD - role of ICS
(ความจริงยังมีอีกสองตัวที่มีใช้ในประเทศไทย แต่เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ formoterol/beclomethasone (Foster), vilanterol/fluticasone furoate (Relvar elipta) อาจจะไม่ได้นำมาใช้มากนักในคนไข้ COPD ของประเทศไทย เนื่องจากปัญหาในการเข้าถึงยา แอดจะเอาไปเล่าในบทความ asthma นะครับ)
.
.
💊Long acting bronchodilator - mono
ยาขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์ยาวที่เป็นตัวเดี่ยวๆ บ้านเรามีกลุ่มเดียว คือ long acting muscarinic antagonist (LAMA) เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา COPD แนวทางการรักษาในปัจจุบัน (แต่ถ้ามาดู GOLD 2023 ก็ต้องบอกว่า LAMA อาจจะไม่ใช่ยาหลักในอนาคต)
🔘Tiotropium bromide หรือที่เรารู้จักในนาม spiriva ยากลุ่ม long acting bronchodilator ตัวเดียวในประเทศไทย มีสองรูปแบบ DPI (handihaler), SMI (respimat, SMI = soft mist inhaler)
📝วิธีใช้
Spiriva handihaler (18) 1 สูด วันละครั้ง
Spiriva respimat (2.5) 2 puff วันละครั้ง
📝Spiriva handihaler เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
📝Spiriva respimat เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
.
.
1
💊Long acting bronchodilator - dual, LAMA + LABA
ยาขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์ยาวที่มีสองกลุ่มรวมกันใน device เดียว เป็นยาที่มาแรงตามหลัก maximized bronchodialtor effect และท่าทางจะมาเป็นยาหลักในการรักษา COPD ในอนาคต แต่ปัจจุบันก็มีบทบาทในกรณีที่ใช้ LAMA แล้วยังมีอาการเหนื่อย หรือยังมีอาการกำเริบ
🔘Tiotropium bromide + Olodaterol (2.5/2.5) ชื่อการค้า spiolto มีรูปแบบเดียว SMI (respimat)
วิธีใช้ 2 สูดวันละครั้ง
🔘Umeclidinium + Vilanterol (62.5/25) ชื่อการค้า anoro มีรูปแบบเดียว DPI (elipta)
วิธีใช้ 1 สูดวันละครั้ง
📝ยาทั้งสองตัวเป็นยานอกบัญชี จึงทำให้ยังมีปัญหาในการเข้าถึงยาในปัจจุบัน
.
.
💊ICS + LAMA + LABA, triple therapy
ยาที่มียาทั้งสามชนิดที่กล่าวไปข้างต้นอยู่ใน device เดียวกัน หลักการในการใช้ยาตัวนี้เรียกว่า single inhaler triple therapy (SITT) คำแนะนำปัจจุบันแนะนำให้ใช้ SITT มากกว่า MITT (multiple inhaler triple therapy) ความโดดเด่นของยาในกลุ่มนี้คือมีหลักฐานในเชิงประจักษ์ว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ ถ้าเลือกใช้ในกลุ่มคนไข้ที่เหมาะสม (IMPACT trial, ETHOS trial)
🔘Fluticasone furoate/Umeclidinium/Vilanterol (100/62.5/25) ชื่อการค้าคือ Trelegy มีรูปแบบเดียวคือ DPI (elipta) ตัวนี้เพิ่งเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย
วิธีการใช้ 1 สูดวันละครั้ง
📝เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
(ในอนาคตอันไม่ใกล้เท่าไหร่นักอาจจะมีอีกหนึ่งตัวที่เข้ามาในประเทศไทยได้แก่ Budesonide/Glycopyrrolate/Formoterol ชื่อการค้า breztri อยู่ในรูปแบบของ MDI)
.
.
จะเห็นได้ว่ายากลุ่มใหม่ๆจะอยู่ในรูปของยาหลายกลุ่มใน device เดียว และออกฤทธิ์ยาวนานขึ้น (วันละครั้ง) เพื่อความสะดวกในการใช้งานของคนไข้ ึคนไข้ใช้ยาได้สม่ำเสมอมากขึ้น และส่งผลให้การรักษาโรคดีขึ้นในท้ายที่สุด
.
.
2020.06.12
UPDATED 2022.12.18
โฆษณา