13 มิ.ย. 2020 เวลา 06:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมความเครียดทำให้อ้วน ?
Credit: https://www.thaihealth.or.th/Content
เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ความเครียด เช่น ต้องทำงานตอนดึกๆ หรือตอนอ่านหนังสอบ ฯ หลายท่านอาจจะรู้สึกอยากกินอาหารที่มีรสเค็มๆ มันๆ หรือหวานๆ อยากกินจุบจิบอยู่ตลอดเวลาหรือบางท่านอาจรู้สึกไม่อยากกินอะไรเลย
ร่างกายเราเกิดกระบวนการแบบนี้ได้อย่างไร ?
เรามาดูกระบวนการการทำงานในร่างกายเมื่อเกิดความเครียดกัน เมื่อเราเกิดความเครียดฮอร์โมน CRH (corticotropin releasing hormone) จากไฮโปธาลามัสจะไปกระตุ้นต่อมพิทูอิทารีให้หลั่งฮอร์โมน ACTH (adrenocortico trophic hormone ) ออกมา และเจ้า ACTH นี้จะไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนเครียดออกมาซึ่งนั่นก็คือ cortisol และ glucocorticoid
ฮอร์โมน CRH จากไฮโปธาลามัสนอกจากจะไปกระตุ้นการหลั่ง ACTH แล้วยังไปกระตุ้นสมองอีกส่วนทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร เมื่อ ACTH ไหลตามเลือดลงไปถึงต่อมหมวกไตมันจะกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน glucocorticoid ซึ่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งคือ ทำให้หิวอาหารพวกแป้ง น้ำตาล หรืออาหารมันๆ
Credit: https://thailandonlinehospital.com/th/diagnostic/view
หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมฮอร์โมนทำงานตรงกันข้ามกัน ตัวนึงทำให้ไม่หิวส่วนอีกตัวนึงทำให้หิว การทำงานของมันจะไม่ขัดกันหรอ ?
เราจะมาดูกันอย่างละเอียดอีกรอบ การหลั่งของ CRH กับ glucocorticoid จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ซึ่ง CRH จากต่อมไฮโปธาลามัสจะหลั่งก่อนและอีกสักพัก glucocorticoid จะหลั่งออกมาเพราะการกระตุ้นจะเกิดขึ้นทีละขั้นโดยจะเกิดขึ้นที่ hypothalamus > pituitary gland > Adrenal gland ตามลำดับ ซึ่งกว่า CRH จะหลั่งมาถึง glucocorticoid ก็ต้องใช้เวลา
และจุดสังเกตอีกจุดคือเมื่อมีการหลั่ง CRH ออกมาเจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะอยู่ได้สักพักก็จะสลายไป และเจ้า glucocorticoid นั้นจะใช้เวลานานกว่าเป็นชั่วโมงกว่าจะหมดไปจากเลือด
ดังนั้นเราจะเห็นว่าช่วงแรกๆของความเครียดหรือช่วงที่เกิดความเครียดสูงเราจะรู้สึกไม่อยากกินอะไรเป็นเวลาสั้นๆ แต่ต่อมาเมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านพ้นไปเราจะรู้สึกหิวขึ้นมาเพราะสมองเราเข้าใจว่าเราสูญเสียพลังงานไปมาก ดังนั้นจึงต้องกินเพื่อทดแทนพลังงานส่วนที่สูญเสียไป
Credit: https://www.girlsallaround.com/dangerous-eating/2-overweight-woman-eating-fast-food-it-is-the-worst-food/
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เครียดแล้วอยากกินนู่นนี่นั่น มีบางคนเมื่อเครียดจะไม่อยากกินอะไรเลยเพราะอะไรกัน ?
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนหลั่ง glucocorticoid มาก บางคนหลัง CRH มาก ซึ่งการตอบสนองต่อฮอร์โมนของแต่ละคนนั้นก็ไม่เท่ากัน บางคน CRH หลั่งออกมานิดเดียวก็ทำให้ไม่อยากกินอะไรเลย
ย้อนกลับไปดูที่เราคุยกันไปบ้างแล้วว่าร่างกายจะมีการเติมพลังงานกลับเข้าไปทดแทนเพราะคิดว่ามีการสูญเสียพลังงานไปมาก จุดสนใจของการเติมพลังงานจุดหนึ่งคือการเติมพลังงานกลับเข้าไปในรูปไขมัน ซึ่งร่างกายของเราจะเติมกลับไขมันในส่วนต่างๆไม่เท่ากัน แต่ไขมันที่พุงจะมีการสะสมมากเป็นพิเศษเพราะมันตอบสนองต่อฮอร์โมน glucocorticoid มากกว่าไขมันบริเวณอื่นๆส่งผลให้มีไขมันไปสะสมที่พุงมาก
บางท่านอาจสงสัยว่าสรุปแล้วการทำงานของ glucocorticoid มันสลายไขมันหรือเก็บสะสมไขมันกันแน่ ตกลงมันทำหน้าที่อะไร ?
glucocorticoid มันจะเก็บหรือสลายไขมันนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของ insulin กล่าวคือเมื่อ insulin สูง glucocorticoid จะทำหน้าที่เก็บไขมันกลับเข้าไปที่พุง แต่ถ้า insulin ต่ำ (กำลังเครียด) glucocorticoid จะทำหน้าที่สลายไขมันที่พุงออกมาใช้
Reference: ชัชพล เกียรติขจรธาดา. (2560). ความเครียดกับความอ้วน , เรื่องเล่าจากร่างกาย (180-184). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
โฆษณา