13 มิ.ย. 2020 เวลา 05:27 • การศึกษา
ครอบครองปรปักษ์ คืออะไรต้องอ่าน!!
-การครอบครองปรปักษ์ นั้นได้มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ห้าปี ไซร้ ท่านว่า บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
กล่าวคือ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ถึงจะครอบครองปรปักษ์ได้
1) มีการครอบครอง คือ เข้าไปยึดถือที่ดินของผู้อื่นไว้เป็นของตนเอง(ครอบครองปกปักษ์ของตนเองไม่ได้นะ) ซึ่งอาจทำโดยเข้าไปครอบครองเอง หรือให้ผู้อื่นครอบครองไว้แทนก็ได้
2) ที่ดินของผู้อื่น คือ ต้องเป็นที่ดินมีเจ้าของ ไม่ใช่ที่สาธารณะ หรือที่ดินของรัฐ (ของหลวงไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิดีกว่าผู้มาทีหลัง) และที่ดินนั้น เจ้าของจะต้องมีกรรมสิทธิ์ คือ เป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินด้วย ถ้าเป็นที่ดินไม่มีโฉนด แต่มีแค่ใบไต่สวน, น.ส.3ก หรือ ส.ค.1 จะมีการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ (ว่าด้วยสิทธิครอบครอง ใช้เวลาเพียงปีเดียว)
3) โดยความสงบ คือ ครอบครองโดยไม่ถูกกำจัดให้ออกไป หรือไม่ถูกฟ้องคดี
4) โดยความเปิดเผย โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นเจ้าของไม่ใช่แอบๆ ซ่อนๆ
5) ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ครอบครองแทนผู้อื่น หรือครอบครองในฐานะผู้เช่า หรือผู้อาศัย
6) สังหาริมทรัพย์ 5 ปี และอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 10 ปี ติดต่อกันเป็นอย่างน้อย ถ้าต่ำกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ แต่ระยะเวลาครอบครองนี้ อาจโอนให้กันได้ และสามารถนำระยะเวลาของผู้โอนมารวมกับระยะเวลาครอบครองของผู้รับโอนได้
-โดนผู้อื่นมาครอบครองปรปักษ์ ละเราต้องทำยังไง?
ตามมาตรา 1382 สามารถฟ้องคดีเพื่อเอาคืนที่ดินซึ่งการครอบครองนั้นได้ แต่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 1376 กล่าวคือ “ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่า ซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้” โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมสามารถฟ้องคดีได้
แต่ต้องฟ้องภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับตั้งแต่เวลาที่ถูกแย่งครอบครองหรือวันที่ได้จดทะเบียนต่อศาลในการครอบครองปรปักษ์นั่นเอง
โดยกรณีนี้เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมจะยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อหรือโฉนดใหม่จากการครอบครองปรปักษ์นั้นเสีย ซึ่งในทางปฏิบัติตามแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาจะยอมรับให้มีการดำเนินการพิสูจน์ใหม่ และถ้าผู้ฟ้องแสดงสิทธิของตนได้ดีกว่า (หรือหมายความว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าจากข้อความข้างตน) ก็จะให้ผู้ฟ้องชนะคดีให้เพิกถอนโฉนดนั้น
ทั้งนี้โดยอาศัยหลักในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (2) ที่บัญญัติว่า คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า
นอกเหนือจากคดีพิพาทในกรณีตัวอย่างนี้ หากเจ้าของที่ดินไม่ได้เข้าไปดูแลที่ดิน เข้าไประวังแนวเขตที่ดิน หรือ มีการทำสัญญาให้เป็นลักษณะกับผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในฐานะผู้เช่า จนสามารถมีผู้ครอบครองปรปักษ์ตามเงื่อนไขของกฎหมายมาตรา 1382 ได้ โดยการใช้หลักฐานต่าง ๆ แจ้งต่อเจ้าพนักงาน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของตามข้อมูลด้านบน นับตั้งแต่มีการจดทะเบียน หากล่วงเลยระยะเวลาเกิน 1 ปี โดยไม่มีผู้มาฟ้องร้องแย่งกรรมสิทธิ์ หรือ ฟ้องร้องขับไล่ก็จะถือว่าที่ดินในส่วนนั้นถูกครอบครองปรปักษ์ทันที
ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของที่ดินต้องงทำเพื่อป้องกันคนหัวหมอมาหักหลังคุณก็คือตรวจเช็ดที่ดินในมืออย่างสม่ำเสมอ เสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมไปถึงเข้าไประวังเขตที่ดินทำรังวัดสัก 4 ปีครั้งก็ถือว่าช่วยป้องกันคนที่จะมารุกรานที่ดินของเราได้เช่นกัน
และใครที่ต้องการจะซื้อที่ดิน โปรดพึงระวังให้ดีกับคำว่า ''ครอบครองปรปักษ์'' เพราะคุณอาจเเพ้คดีเหมือนกับ''คดีถุงแขกพระพยอม''ได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา