13 มิ.ย. 2020 เวลา 06:15 • ปรัชญา
"สิทธารถะ" (Siddhartha)
นวนิยายโดย เฮอร์มานน์ เฮสเส (Hermann Hesse)
ถ้าพูดถึงการดำเนินชีวิตของคนแล้ว มีเรื่องมากมายที่ยากจะยกเหตุผลมาอธิบายพฤติกรรม หรือการกระทำตลอดจน ความนึกคิดของคน
แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิดของคนอย่างกว้างขวาง และก้าวหน้าไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่
แต่จริงๆแล้ว จิตใจของมนุษย์ ยังเป็นสิ่งที่ลึกสุดคะเน เช่นว่า...
คนๆหนึ่ง ทำงานที่ใครๆก็บอกว่ามั่นคง แต่อยู่ดีๆ กลับลาออก ปั่นจักรยานไปทั่วโลก ใช้ชีวิตแบบคนเร่ร่อน หรือชายคนหนึ่ง มีครอบครัว ลูก เมีย บ้าน รถ แต่วันหนึ่ง เขาลาออกจากงาน และก็บวชไม่สึก
เครดิตภาพ: https://www.sarakadee.com
นั่นเป็นตัวอย่างที่เฉพาะและห่างไกลเกินไป ลองมายกตัวอย่างใกล้ๆตัว ลองนึกถึง “ระดับความพอใจในชีวิต” ของตัวเราเองสักหน่อยจะเป็นไรไปล่ะ
มีบ้างมั้ย? ที่เราทบทวนว่า ถ้าย้อนกลับไปได้ เราจะเปลี่ยนวิถีการดำเนินการชีวิต เราจะไม่เลือกทำอาชีพนี้ เราจะไม่อยู่ที่นี่ แล้วมีบ้างมั้ย ที่เราอยากไปเสียจากที่นี่ หลบหนีไปสักที่หนึ่ง!
เคดิตภาพ: https://www.kiitdoo.com
"สิทธารถะ" เป็นหนังสือที่แต่งโดย เฮอร์มานน์ เฮสเส ออกจะเป็นหนังสือนิยายเชิงปรัชญา การดำเนินเรื่อง เป็นไปในแนวเดียวกับพุทธประวัติ
เฮสเส ใช้โครงสร้างเช่นนี้ เพื่อจะอธิบายถึงกลไกของการค้นพบตัวเอง ของ สิทธารถะ
เฮอร์มานน์ เอสเส (Hermann Hesse)
สิทธารถะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ มีชาติตระกูล มีความรู้ดี มีพ่อแม่ดี ได้รับการยกย่อง ให้มีเกียรติ มีหน้ามีตา
แต่แล้วสิทธารถะก็เกิดความไม่พอใจในตัวเอง ประมาณว่า เมื่อฟังเสียงในหัวใจแล้ว ก็พบว่า
สิ่งต่างรอบตัวนั้นยังไม่สามารถตอบความหมายของชีวิตได้ สิ่งที่ทำๆกันในชีวิตประจำวันของพราหมณ์นั้น ไม่ได้มีคุณค่าอะไรต่อชีวิตของเขาเลย
เมื่อทนไม่ไหวกับชีวิตพราหมณ์และเสียงเรียกร้องในหัวใจ เขาหนีไปกับสมณะ ไปฝึกสมาธิตามหลักของนักพรต อดอาหาร ทรมานกาย นานๆ จะกินอาหารที
และในที่สุดก็มีโอกาสพบกับพระพุทธเจ้า
สิทธารถะเขาเองมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อ "โควินทะ" ซึ่งตัดสินใจหนีออกมาแสวงหาด้วยกันมาตั้งแต่ต้น
3
พอเจอพระพุทธเจ้า โควินทะ ศรัทธาในแนวทางพุทธ จึงของบวช ส่วนสิทธารถะ ยังไม่พบคำตอบที่ต้องการ
เมื่อไม่ได้คำตอบที่ต้องการ สิทธารถะก็ออกเดินทางต่อไป
เฮอร์มานน์..ดำเนินเรื่องได้น่าสนใจจริงๆครับ
คือให้คุณสิทธาระตัวเอกของเรื่องได้พบกับชีวิตที่หลากหลาย
จนสุดท้ายจึงเข้าใจ วงเวียนชีวิต
กว่าจะได้บทสรุปของชีวิต สิทธารถะก็ผ่านวัยชราไปแล้ว
หนังสือเล่มนี้ความหนาเพียง 148 หน้า แต่ก็รู้สึกว่าต้องค่อยๆอ่าน เพราะเต็มไปด้วยประโยคที่ล้ำลึกแนวความคิดที่ลึกซึ้ง บางตอน พูดได้ว่าเป็นระดับอภิปรัชญา จริยศาสตร์ และแนวคิดทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง
หนังสือเล่มนี้มีแนวทาง คล้ายๆกับหนังเรื่อง Samsara หรือหนังสือนิยาย ตลิ่งสูง ซูงหนัก (นิคม รายยวา) คือ ให้ความคิด ให้มุมมองแก่ชีวิต แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกคนจะต้องดู หรือต้องอ่าน
ภาพยนต์เรื่อง Samsara: เคดิตภาพhttps://th.fehrplay.com
แต่ถ้าหากใครก็ตามที่สนใจ อยากค้นหาพัฒนาการแห่งการเข้าใจชีวิต ขอบอกว่า "ควรอ่าน"
แต่ถ้าหากยังสนุกกับวงเหล้า ยังตื่นตากับลีลาของโคโยตี้ พริตตี้ ดูยูทูป ออนเฟส แชทไลน์กันแบบยังมิรู้เบื่อ ก็อย่าเพิ่งรีบหาหนังสือแนวนี้มาอ่าน
เพราะจะทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันไร้รสชาติไปเสียเปล่าๆ
นี่พูดจริงๆ ไม่ไก่กา เพราะชีวิตของเราเป็นของเรา เราเลือกได้ และทุกคนที่มีสิทธิทำตามที่ตัวเองคิดว่า ชอบใจ ถูกใจกับจริตชองตนเอง
ไม่ควรอ่าน 'สิทธารถะ' ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นวรรณกรรมอิงพุทธประวัติหรืออิงพุทธศาสนาแต่อย่างใด
แต่ควรอ่านด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสวงความจริงหรือความหมายของการมีชีวิตอยู่ในเชิงปรัชญา เราจึงจะได้ประโยชน์จากนวนิยายเรื่องนี้
ผู้สนใจปรัชญาอัตถิภาวนิยม (existentialism) ไม่ควรพลาด
แปลไทยมีหลายจ้าว แต่ที่ผู้เขียนเคยอ่าน เป็นงานแปลของนามปากกา สีมน และ สดใส
ปล.หาซื้อเอาเองนะครับ
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา