หรือ”วัตถุนิยม”คือเรื่องแต่ง?
.
.
"การใช้เปลวไฟจากอเวจีนรก...เผาผลาญวิญญาณบนน้ำแข็งที่หนาวเย็น...เพื่อให้ทุกข์ทรมานจากหนี้สินและภาระที่พวกมันสร้างไว้....จากความไม่รู้จักพอ"
นี่เป็นส่วนหนึ่งของโพสต์ของท่าน”ทวีสุข ธรรมศักดิ์” นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศ
ซึ่งเป็นโพสต์ที่ท่านได้เขียนบทความไว้ ใจความสำคัญส่วนหนึ่งคือการพูดถึง”ผู้สร้างระบบ”ผมได้อ่านบทความของท่าน ผมก็มีความรู้สึกว่า”ดูมันจะใช่ทุกอย่างเลยนะ หรือนี่จะเป็นเรื่องจริง?”
.
.
อันด้วยระบบการเงินของโลกในปัจจุบันนั้น”เครดิต”หรือ”หนี้”มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งในระดับ”มหภาค”และ”จุลภาค”
แต่ทั้งนี้ผมจะขอยกเพียงระดับ”จุลภาค”มาใช้แสดงความเห็นเท่านั้นนะครับ
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความ”โลภ”และรักการ”เปรียบเทียบ”มาตั้งแต่ใหนแต่ไร ถ้าจะว่ากันตามตรงมันแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในยีนส์ของเราเลยทีเดียว เรามัก”อยากได้ใคร่มี”มากกว่าสิ่งที่เรามีอยู่เสมอๆ แต่ ในอดีตนั้นเราอาจจะไม่ได้มีสิ่งล่อตาล่อใจเพื่อเป็นวัตถุในการ”เปรียบเทียบ”มากนัก อย่างมากก็เพียงแค่ พละกำลัง อำนาจ ภายในฝูง ภายในหมู่บ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์ก็มีกันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ดังนั้น มนุษย์ในยุคโบราณจึงมักที่จะให้ความสำคัญกับการ”ดำรงอยู่”มากกว่ากันมานั่งเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน แถมนอกจากนี้”ทรัพยากร”ตามธรรมชาติก็มีอย่างเพียงพอแล้ว สำหรับการยังชีพ
ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบในยุคดึกดำบรรพ์จริงๆการกู้”หนี้” หรือ “เครดิต” แทบจะเป็นสิ่งที่ไร้ความจำเป็นโดยสิ้นเชิง
.
.
แต่แล้ว...เมื่อถึงยุคสมัยหนึ่ง ก็มีกลุ่มผู้เฉลียวฉลาดเกิดขึ้น กลุ่มเหล่านี้ผมของแทนว่า”นายทุนและนักธุรกิจ”
โดยคนเหล่านี้ มีหลายแบบ มีทั้งที่เต็มไปด้วยคุณธรรม ซื่อสัตย์ และมีจริยธรรม มักมอบสิ่งของที่แลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งที่”ดี”และมี”คุณภาพ”เสมอ ซึ่งจะทำให้”ผู้บริโภค”มีชีวิตที่ดีขึ้นและตนเองก็ได้รับ”กำไร”หรือ”ผลตอบแทนกลับไป”จะว่าไปเรื่องทั้งหมดก็ดูจะออกมาดีถูกไหมครับ
แต่ปัญหาคือกลุ่มนี้ไม่ใช่เพียงกลุ่มเดียวน่ะสิครับ โลกแห่งทุนนิยมยังเต็มไปด้วย”นายทุนและนักธุรกิจ”ที่เต็มไปด้วย ความโลภ โหดร้าย เจ้าเล่ห์ และกลอุบาย พร้อมที่จะฉกและช่วงชิงทรัพยากรของเหยื่ออย่างไม่เป็นธรรม โดย ไม่สนใจว่าเหยื่อจะลำบาก อดตาย หรือ ชีวิตล่มสลาย แต่อย่างใด เพียงแค่ได้”ทรัพยากร”ที่แสนมีค่าของเหยื่อมาเติมเต็มคลังของตนเองก็เพียงพอแล้ว
.
.
แต่ ด้วยในขณะนั้นเองมีปัญหาอยู่2อย่าง คือ
1.ความโลภของมนุษย์ยังไม่ได้ถูกปลุกขึ้นมาอย่างเต็มที่
2. ระบบการเงินยังไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่ ตอนนี้ทุกคนยังใช้”ทรัพยากร”ของตนเองที่มีอยู่จริงๆในการแลกเปลี่ยนกัน
ถ้าคิดจากข้อจำกัด2ประการนี้ก็เห็นที่ว่า”ความร่ำรวย”อย่างไม่จำกัด ของ”นักธุรกิจและนายทุนสายดาร์ค”คงต้องพับแผนไปทันควัน
.
.
แต่....มันไม่ได้ง่ายแบบนั้นน่ะสิครับ
หลังจากนั้น”นักธุรกิจและนายทุน”ก็เริ่มคิดกลวิธี โดย มีด้วยกัน2ประการ
1.การตลาด
การตลาดนี้มองเข้าจริงๆเป็นทั้งคุณและเป็นทั้งโทษ หาก”การตลาด”นี้ ตกไปอยู่ในมือของนักธุรกิจและนายทุนที่มีคุณธรรมแล้วล่ะก็ การตลาดจะเป็น”คุณ”ต่อมวลมนุษย์ชาติมากๆ เพราะ เมื่อมีสินค้าดีๆมีคุณภาพ และ ทำให้ชีวิตของผู้ใช้ดีขึ้น สินค้าดีๆเหล่านี้ จะถูกกระจายต่อไปยังมือผู้บริโภคทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคมีชีวิตที่ดีขึ้น
.
.
แต่.....
ก็อย่างที่บอกไปว่ามันยังมี”นักธุรกิจและนายทุนสายดาร์ค”ที่พร้อมจะใช้ศาสตร์นี้ ในการเป็นตัว”บุกทะลวง”และปลุก”ความโลภที่เกินความจำเป็น”ของมนุษย์ขึ้นมา ไม่ต้องอะไรมากยกตัวอย่างเช่น Produce statygy ซึ่งเป็นศาสตร์พื้นฐานแขนงหนึ่งของการตลาด ที่จะคอยมองหาความต้องการของลูกค้า เรียนรู้มัน และ สร้างมาเป็นสินค้าออกจำหน่าย ยกตัวอย่างเช่น สินค้ากลุ่มอาหาร ถ้าถามกันจริงๆมันก็มีสินค้าที่ไม่ดีอยู่ทั่วโลกเลยนะครับ
-เราคิดว่าเนื้อในแฮมเบอร์เกอร์ที่เรากินๆกันอยู่มาจากเนื้อส่วนที่มีคุณภาพงั้นหรือ?
-เราคิดว่าสิ่งที่ใส่อยู่ในน้ำอัดลมมันจะมีอะไรไปมากกว่า”น้ำตาล”งั้นหรือ?
-เราคิดว่าขนมซองที่เรากินเข้าไปมาจากวัตถุดิบ จะทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้นงั้นหรือ?
-เราคิดว่าเครื่องดื่มหลายๆชนิดที่อ้างว่า”เพื่อสุขภาพ”มันจะทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้นจริงๆงั้นหรือ?
เรามาดูอุตสาหกรรมอื่นกันบ้างดีกว่า
-เราคิดว่าโทรศัพท์มือถือที่ออกใหม่ทุกครึ่งปี มันสมควรแก่เวลาที่จะต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ1ปีจริงๆงั้นหรือ?”
-เราคิดว่ารถยนต์คันเก่าของเราที่ยังผ่อนไม่หมดจะเสื่อมสภาพทันทีเมื่อรุ่นใหม่ออกมางั้นหรือ?
-บ้านเป็นสิ่งที่ต้องถูกขยายใหญ่ขึ้น หรูมากขึ้น ทุกครั้งที่ได้รับการขึ้นเงินเดือนงั้นหรือ?
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเพียงน้อยนิดของอำนาจการตลาดที่อาจจะทำให้เรามองอะไรผิดพลาดไป
ถ้าหากเรามองไปถึง”แก่น”แห่ง”คุณค่า” เราจะสามารถตอบคำถามที่มนุษยชาติทั่วโลกพบเจอพร้อมๆกันได้อย่างไม่ยากเย็นเลย
.
.
แต่ทำไมมันถึงสำเร็จล่ะ???
เราต้องเข้าใจว่า”การตลาด”นั้น มีเครื่องมือมากมายเลยครับที่ใช้ในการ”เรียนรู้”และ”กระตุ้น”ความต้องการของผู้บริโภค
พวกเราเราจะตกใจไหมครับว่า....
-การวิจัยจะค้นพบว่าร่างกายของเรานั้นชอบรส หวาน มัน เค็ม แล้วการคนขายเอาสิ่งเหล่านี้ไปสร้างเป็นสินค้าเพื่อขายให้คนเสพติด? และ กระตุ้นให้อยากอยู่เสมอๆผ่าน การยิงโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆ
-การวิจัยพบว่า”น้ำตาล”เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคไม่ติดต่อ4โรคที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดในโลก คือ เบาหวาน ความดัน มะเร็ง และ โรคหัวใจ แต่ คนขายทราบว่าสิ่งเหล่านี้เป็น”สารเสพติด”ที่รุนแรงกว่า”ผงขาว”อีก จึงเอามาใช้ผลิตขนมขายออกไปทั่วโลก? และ ใช้การตลาดกระตุ้นผ่านช่องทางต่างๆว่า ต้องลอง!!!!
.
.
(เสริมนิดนึงอ้าว!!!อันตรายขนาดนี้ ทำไมไม่ถูกแบนล่ะ?
แหม มันจะต่างอะไรกับ ลอตเตอรี่ บุหรี่ กับ สุรา ล่ะครับ เรารู้ทั้งรู้นี่นาว่าเป็นสิ่งเสพติดและการพนัน แค่ รัฐ ไม่ผลิต ไม่นำเข้า ไม่อนุญาตผลิต ทุกอย่างก็จบแล้ว
ทำไมกันล่ะ? อ้อ คำตอบนั้นง่ายนิดเดียว ผลประโยชน์และรายได้ทางภาษีไงล่ะ ”นักธุรกิจและนายทุนสายดาร์ค”พวกนี้ นอกจะมีอำนาจทางการตลาดแล้ว พวกเขายังมีอำนาจทางการเมืองด้วยนะ และ มันมากพอที่จะทำให้ผู้มีอำนาจหลับหู
หลับตา ไม่เห็นว่า คุณกำลังทำลายสุขภาพของประชาชนอยู่แม้คนๆนั้น จะเป็นเด็ก5 ขวบก็ตาม)
-รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ และ บ้าน ที่เกินจำเป็น มันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงๆ หรือ เรานึกไปเองกันนะ? และ อะไรที่ทำให้เรานึกแบบนั้นล่ะ อ้อ คลิปโฆษณาโทรศัพท์รุ่นใหม่ล่าสุดเมื่อกี้นี่เอง!!!
.
.
จะสังเกตว่าเครื่องมือทาง”การตลาด”มีอำนาจมากพอที่จะเปลี่ยนสิ่งที่”ไม่จำเป็นและเป็นโทษ”ให้เป็นสิ่งที่”จำเป็นและเป็นคุณ”ได้ไม่ยากเลย สิ่งเหล่านี้เมื่อโดนมากๆเข้า ล้างสมองบ่อยๆเข้า ก็จะกลายเป็น”วัตถุนิยม”ไปโดยอัตโนมัติ
.
.
อ้าวแล้ว “วัตถุนิยม”เข้ามาสู่ชีวิตเราได้อย่างไรล่ะ?
จริงๆแล้วการเข้ามาครั้งรุนแรงที่สุดของนิยายเรื่อง”วัตถุนิยม”เรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่ ความเชื่อเกี่ยวกับ”American dream”ถือกำเนิดขึ้น
”American dream”โดย ความหมายของมันนั้นตามwikipediaส่วนนึงความว่า”ความมั่งคั่งของบุคคลขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและการทำงานหนัก ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างระดับชั้นที่ตายตัวของสังคม”
.
.