13 มิ.ย. 2020 เวลา 08:43 • ประวัติศาสตร์
กองทัพอังกฤษในปาเลสไตน์
คราวนี้ขอนำเสนอบทความที่ไม่ใช่ของแปลกครับ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแย้งระหว่าง อาหรับ-อิสราเอล เหตุการณ์นี้คือช่วงสุดท้ายก่อนที่อังกฤษต้องสละอำนาจการปกครองดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติ เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างแขกกับยิว โดยที่อังกฤษต้องปวดหัวกับการรักษาความสงบภายในดินแดนแห่งนี้ก่อนที่ต้องสละอำนาจการปกครอง แม้จะสละอำนาจการปกครองไปแล้วปัญหาก็ไม่จบ ยังคงบันเทิงกันอยู่ถึงทุกวันนี้
บทความนี้แปลมาจาก National Army Museum เป็นส่วนหนึ่งในช่วงเวลาการล่มสลายของจักรวรรดินิยมเพราะสงครามเย็น และมันก็สำคัญจนแยกออกจากการศึกษาสงครามเย็นไม่ได้ครับ ถึงแม้มันจะไม่ใช่สงครามตัวแทนระหว่าง สหรัฐฯและสหภาพโซเวียต แต่มันก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับสงครามเย็น
เข้าสู่บทความ
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบสิ้นลง (1939-45) กองทัพอังกฤษต้องมาอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ขยายวงมากขึ้นระหว่างชาวอาหรับและชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ อันจะนำพานำพาให้เกิดสิ่งสำคัญขึ้นต่อไปในภายภาคหน้านั่นคือการก่อตั้งประเทศอิสราเอล
คำมั่นสัญญา
ในปี 1917 อังกฤษได้ออกข้อประกาศบัลฟอร์ด้วยการให้คำมั่นว่าจะสันบสนุนการตั้งประเทศของชาวยิวในเขตปกครองปาเลสไตน์ของออตโตมัน นี่คือความพยายามฝ่ายอังกฤาเพื่อเรียกคะแนนสนับสนุนจากชาวยิวในสงครามโลกครั้งแรก อังกฤษยังคงให้คำมั่นกับชาวอาหรับว่าจะรวบรวมชาวอาหรับเข้าด้วยกันเป็นประเทศหนึ่งเดียวโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตะวันออกกลาง โดยเมื่อพวกออตโตมันเติร์กต้องพ่ายแพ้ในสงคราม หลังสงครามสงบลง ไม่ได้มีการทำตามคำมั่นสัญญากับฝ่ายใดๆเลย
ดินแดนในอาณัติ
ในปี 1920 อังกฤษได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ ต่อมาในช่วงเวลากว่ายิบสิบปีจากนี้ไป จะมีชาวยิวมากกว่า 1 แสนคนอพยพเข้ามาที่นี่ กองทัพอังกฤษที่ปฏิบัติการในช่วงเวลาดังกล่าวนี้โดยมากจะพุ่งเป้าโดยตรงไปยังกลุ่มชาวอาหรับหัวรุนแรงที่ต่อต้านการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวยิว ความรุนแรงได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อชาวอาหรับได้ทำการก่อกบฏในปี 1936-39
ผืนแผ่นดินแห่งบรรพบุรุษของชาวยิว
การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ส่งผลกระทบโดยตรงอย่างมากต่อสถานการณ์ในปาเลสไตน์ ใรช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งถัดมา 1939-45 อังกฤษได้จำกัดการเข้าถึงปาเลสไตน์ของชาวยิวจากยุโรปที่อพยพหนีการกดขี่ข่มเหงจากนาซีเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์ ด้วยความวิตกกังวลที่มีอิยิปต์และประเทศรวยน้ำมันอย่างซาอุ อังกฤษจึงได้จำกัดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชาวยิว เลยทำให้เกิดการต่อต้านด้วยอาวุธจากชาวยิว และสุดท้ายก็มีการรวบรวมตัวกันเป็นหนึ่งขึ้นระหว่างกลุ่มที่มองไปยังอังกฤษให้ช่วยก่อตั้งประเทศของชาวยิว (ฮากานาห์) และกลุ่มที่ต้องการใช้วิธีการก่อการร้ายเพื่อผลักดันอังกฤษให้ออกไป
การก่อการร้าย
กลุ่มก่อการร้ายกลุ่มหลักๆคือเออร์กุน นำโดยนายกในอนาคตของประเทศอิสราเอล เมนาเฮม เบกิน และกลุ่มที่หัวรุนแรงมากกว่าคือกลุ่มเลหิ อังกฤษเรียกขานพวกเลหิว่า พวกแกงค์”สเติร์น” โดยมีที่มาหลังจากที่ผู้นำของกลุ่ม อับราฮัม สเติร์น ถูกวิสามัญเมื่อปะทะกับตำรวจปาเลสไตน์ในปี 1942 ในเดือนพฤษจิกายน 1944 เลหิได้ทำการสังหารรัฐมนตรีประจำตะวันออกกลาง ลอร์ด มอย
ผู้อพยพ
หลังสงครามโลกครั้งที่ผ่านมา ได้มีชาวยิวลี้ภัย 250 000 คน ผู้ซึ่งถูกจองจำในค่ายกักกันที่ยุโรป แม้ว่าต้องเผชิญกับแรงกดดันในเวทีโลก โดยเฉพาะการถูกร้องขอซ้ำๆจากประธานาธิบดีสหรัฐ แฮรี่ เอส ทรูแมน อังกฤษก็ยังปฏิเสธที่จะยกเลิกการห้ามรับผู้อพยพและการอนุญาตให้ชาวยิว 1 แสนคนเข้าสู่ปาเลสไตน์ กองกำลังใต้ดินชาวยิวขณะนี้ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่ง ฮากานาห์ที่ไม่เลือกโจมตีอังกฤษตราบใดที่อังกฤษยังคงสู้กับนาซีเยอรมัน ตอนนี้ได้หันมาจับมือกับเออร์กุนและทำการจู่โจมแบบฉาบฉวยแบบไม่ให้ตั้งตัวต่ออังกฤษ
ความขัดแย้งขยายวง
เพื่อตอบสนองแก่สถานการณ์จราจลเต็มรูปแบบในนครเยรูซาเล็มและเทลอาวีฟ และการวางระเบิดเส้นทางรถไฟ ทหารอังกฤษจากกองพลทหารราบที่ 1 และกองพลทหารพลร่มที่ 6 ถูกส่งมาสนับสนุนหน่วยงานตำรวจพลเรือน เมื่อกองพลทหารราบที่ 3 เดินทางมาถึงในปี 1947 ทำให้มีจำนวนทหารอังกฤษถึง 1 แสนคนที่ถูกส่งมาปาเลสไตน์ ส่วนมากจะเป็นทหารเกณฑ์
งานข่าวกรองที่ล้มเหลว
ด้วยยุทธวิธีการรบตามแบบที่ใช้ในยุโรป ทหารอังกฤษได้พบกับความยากลำบากในการรับมือการก่อความรุนแรงทั้งจากเออร์กุนและเลหิ ซึ่งในยุค 1930 ได้มีการใช้ยุทธวิธีการประกาศเคอร์ฟิว, การค้นหา, การคุ้มกันจุดสำคัญล่อแหลม, การสั่งห้ามออกจากที่พักอาศัย แต่สำหรับกลุ่มก่อการร้ายชาวยิวนั้นได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชากรชาวยิว ทำให้อังกฤษต้องพบกับความยากลำบากในการรวบรวมข่าวกรอง
ปฏิบัติการอากาธาร์
แม้ว่าทางข้าหลวงใหญ่ เซอร์ อลัน คันนิ่งแฮม ได้ตัดสอนใจใช้มาตราการกวาดล้างขนานใหญ่ต่อกลุ่มก่อความไม่สงบ วันที่ 28 มิถุนายน 1946 ทหารอังกฤษจำนวน 17000 คนได้เปิดปฏิบัติการอากาธาร์ในนครเยรูซาเล็ม สำนักงาน NGO ยิววิสต์เอเจนซี่และอาคารอื่นๆได้ถูกจู่โจมตรวจค้น และก็พบที่ซ่อนอาวุธจำนวนมาก ผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายชาวยิวได้ถูกจับกุม สำหรับปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายหน้าที่หลักๆเป็นของตำรวจปาเลสไตน์ โดยทหารทำหน้าที่สนับสนุน, ปิดล้อมหมู่บ้านหรือเขตพื้นที่เป็นส่วนๆในเมือง จากนั้นช่วยงานตำรวจทำการตรวจค้น
“มันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเลยทีเดียว ผมได้เดินทางไปยังกาซา บ่อยๆครั้งที่ผมและไปซ๊อปปิ้งและก็แวะที่สโมสรทหาร แต่แล้วมันก็เริ่มจะดูไม่เป็นมิตรมากขึ้น และเราก็ไปที่นั่นไม่ได้อีกแล้ว” - ส.ท. จอห์น มาริเอจ ประจำการที่ปาเลสไตน์ 1947-48
การหาข้อตกลงต่อกันไม่ได้
ในเดือนกันยายน 1946 อังกฤษเรียกประชุมทั้งผู้นำฝ่ายชาวอาหรับและผู้นำฝ่ายชาวยิว จัดขึ้นที่ลอนดอน เมื่อมันหาข้อตกลงกันไม่ได้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 1947 รัฐบาลประกาศว่าปัญหาเรื่องนี้ขอยกเข้าไปในสหประชาชาติ การก่อการร้ายยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องนำกฎอัยการศึกมาใช้ และการเคอร์ฟิวมีความเข้มงวดมากขึ้น
การลักพาตัวและการวางระเบิด
บ่อยๆครั้งที่หทารอังกฤษเป็นเป้าแห่งการโจมตีและการลักพาตัว และบ่อยครั้งที่มีการตอบโต้ด้วยการตัดสินโทษประหารชีวิตแก่สมาชิกเออร์กุนและเลหิ ได้มีการโจมตีด้วยการวางระเบิดสโมสรนายทหารอังกฤษที่ไฮฟาส่งผลให้มีผลบาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 30 คน, ต่อมาในวันที่ 26 กรกฏาคม 1946 เออร์กุนได้ทำการวางระเบิดพื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงแรมคิงส์ดาวิดในนครเยรูซาเล็ม ทำมห้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน ส่วนมากเป็นพลเรือน การโจมตีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ความสันพันธ์อันเปราะบางระหว่างเออร์กุนและฮากานาห์ได้ขาดสะบั้นลง
“มีคนสองคนถูกฆ่าตายที่นั่น พลฯ แคทฟอร์ด และเพื่อนสนิทของพวกเรา พลฯ เคนนี่ ยานพาหนะที่เขาโดยสารมาถูกระเบิดกระจุย คุณรู้ไหม ว่านี่กำลังเดินทางกลับนะ….ผมเชื่อเลยว่าเป็นฝีมือของพวกยิว ใช่ ผมมั่นใจเลยล่ะว่าเป็นพวกยิว เพราะว่าพวกนี้ชอบใช้ผู้หญิงที่อยู่ข้างทางเรียกให้คนของเราหยุด และเมื่อเราหยุดแล้วพวกนั้นจะโผล่ออกมาจากที่ซ่อนหลังก้อนหิน, หลังต้นไม้, หลังพุ่มไม้, หรือหลังสวน” - พลฯ แฟรงค์ เจนนิ่ง ประจำการที่ปาเลสไตน์ 1947-49
การโจมตียังคงมีอยู่ต่อไป
ในวันที่ 31 มีนาคม เออร์กุนได้ทำการเผาคลังน้ำมันที่ไฮฟา เปลวเพลิงจากการเผาลูกไหม้อย่างหนักต่อเนื่องกว่า 3 สัปดาห์ ในเดือนพฤษภาคม มีการโจมตีเรือนจำที่เมืองอาร์ค นักโทษจำนวนมากได้ถูกปล่อยตัว ในวันที่ 29 กรกฎาคม ได้มีการตอบโต้จากอังกฤษด้วยการลงโทษประหารชีวิตสมาชิกเออร์กุน 3 คน ทางกลุ่มเลหิได้ทำการลักพาตัวและแขวนคอจ่า ทบ. อังกฤษไป 2 นาย ที่ศพมีการติดตั้งกับดักเอาไว้ เมื่อฝ่ายบ้านเมืองมาปลดเอาศพลงมาจึงได้รับบาดเจ็บหนักไปด้วย
การถอนตัว
ในเดือนพฤศจิกายน 1947 ทางสหประชาชาติได้และนำให้ทำการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์และก่อตั้งรัฐอาหรับและรัฐยิวขึ้นมา ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 อังกฤษได้สละอำนาจการปกครอง ทหารอังกฤษได้ถอนตัวออกจากดินแดนปาเลสไตน์ปล่อยให้ชาวยิวกับชาวอาหรับสู้รบกันในสงครามที่ระเบิดขึ้นต่อจากนี้ ที่ปาเลสไตน์นี้คร่าชีวิตชาวอังกฤษไป 338 คน ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ในดินแดนปาเลสไตน์ 1945-48 ได้มีการมอบเหรียญ General Service Medal แก่เหล่าทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในดินแดนปาเลสไตน์ระหว่างวันที่ 27 กันยายน 1946 (วันเริ่มต้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน) จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 1948 (วันที่ทหารอังกฤษถอนกำลัง)
โฆษณา