Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สมองจ๋า
•
ติดตาม
14 มิ.ย. 2020 เวลา 13:22 • การศึกษา
มาทำความรู้จักตัวตนของคุณผ่านทฤษฎีจิตวิทยา "Defense Mechanisms"
ทฤษฎีที่ใช้ศึกษามนุษย์ของนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์!!!
ท่ามกลางปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่เข้ามาใส่ใครหลายคนอย่างถาโถม จนบางครั้งมันเหมือนกับว่า เราไม่ไหวแล้ว เราไม่สามารถรับมือกับปัญหานั้นได้อีกต่อไปแล้ว
อย่างบางคนอาจผิดหวังกับชีวิต เพราะมีชีวิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง บางคนอกหักผิดหวังในความรัก บางคนเครียดจากสังคมรอบข้าง บางคนกดดันกับการทำงาน รวมไปถึงปัญหาจิปาถะอีกสารพัด ที่มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจนล้วนต้องพบเจอ
แต่อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนถูกออกแบบมาให้สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ท่ามกลางปัญหาในชีวิตประจำวันได้
โดยหนึ่งในการปรับตัวตามธรรมชาติของมนุษย์ คือ กลไกลสำหรับการจัดการความกังวล ความคับข้องใจ ความเครียด ซึ่งมันเกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว สิ่งนี้นักจิตวิทยาเรียกว่า " กลไกป้องกันตนเอง" หรือ Defense Mechanisms
ฟังดูแล้วอาจยังไม่เห็นภาพ งั้นลองนึกถึงตนเองดูนะครับว่าเวลาที่คุณเครียด กังวล หรือกำลังพบเจอปัญหาอะไรที่มันหนักๆ สิ่งแรกเลย คุณมักจะทำอย่างไรกับตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณมีปัญหาผิดใจกับเพื่อน คุณจะเก็บมันไว้ ไม่พูด หรือเลือกที่จะระบายไปกับอย่างอื่น หรือหาเหตุผลมาเข้าข้างตนเอง หรือหลีกหนี ไม่เข้าไปยุ่ง หรือทำเป็นแสดงว่ามันไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือโทษคนอื่นว่าไม่ใช่ความผิดของเรา หรือจะเปิดใจเผชิญปัญหามันไปซึ่งๆ หน้าเลย
1
ทั้งหมดนี้ คุณใช้แบบไหนมากที่สุด ?
คำตอบของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจใช้หลายอย่างปนกัน บางคนอาจใช้บ่อยๆ เพียงแค่แบบเดียว แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม ที่แน่ๆเลยคือ พฤติกรรมดังกล่าวมันจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว
พูดง่ายๆว่า มันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมได้ในตอนแรก
ทีนี้ คำถามต่อมาคือ แล้วกลไกป้องกันตนเองดังกล่าว มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมแต่ละคนถึงมีไม่เหมือนกัน?
เรื่องนี้ขอตอบแบบง่ายๆ สั้นๆ แล้วกันนะครับว่า มันเกิดมาจากประสบการณ์ของมนุษย์ที่ประสบพบเจอมาตั้งแต่เด็ก และสะสมจนกลายเป็นกลไกทางธรรมชาติของเรานั่นเอง
โดยกลไกลป้องกันตนเอง จริงๆ แล้ว มีหลายรูปแบบมาก ต่อไปนี้เราจะมาลองมาดูกันแบบละเอียดยาวๆ เลยนะครับว่า ที่ผ่านมาในชีวิตนี้ คุณเคยใช้รูปแบบไหนมาบ้างแล้ว
- เริ่มจากแบบแรก "การเก็บกด" (Repression) วิธีนี้นักจิตวิทยาบอกว่า มันเป็นกลไกพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เลย คือเมื่อเกิดปัญหาเราจะเก็บไว้ แล้วพยายามเปลี่่ยนเป็นการลืม แต่แท้จริงแล้วปัญหายังคงอยู่และถูกเก็บไว้ในจิตใต้สำนึก
1
ซึ่งแน่นอนว่าในระยะยาว หากปล่อยไว้มากๆ จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ เช่น เครียดจากการทะเลาะแต่เก็บไว้ ไม่ระบายออกมา แบบนี้ถือว่าเป็นการเก็บกดครับ อาจส่งผลให้เกิดสภาวะซึมเศร้าในอนาคตได้
2
- แบบที่สอง การปฏิเสธความจริง (Denial) ข้อนี้สั้นๆ ตรงตัวเลย คือพอเจอปัญหาแล้ว ก็ไม่ยอมรับ หลีกหนีความเป็นจริงนั้น ดังที่หลายคนเห็นข่าวเวลามีกลุ่มเด็กเยาวชนกระทำความผิดแล้วถูกจับ แต่พ่อแม่กลับบอกว่า "ลูกฉันเป็นคนดี" แบบนี้คือเกิดจากกลไกการปฏิเสธความจริง ซึ่งมันเกิดขึ้นได้ทุกคนเลย ในทางจิตวิทยาถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์มากๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
- แบบที่สาม การแสดงพฤติกรรมถอยหลัง (Regression) อันนี้จะเป็นประมาณว่าเมื่อตกอยู่ในสภาวะคับข้องใจ อึดอัด ก็จะแสดงพฤติกรรมแบบเด็กๆ ซึ่งมันเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยที่คนๆนั้นไม่รู้ตัวเลย เช่น เด็กที่พ่อแม่มีน้องใหม่ พอเห็นพ่อแม่เอาใจใส่น้องมากกว่า เด็กคนนั้นก็จะแสดงอาการกลับไปเป็นเด็กเล็กหรือแบบเด็กทารกอีกครั้ง เพื่อให้พ่อแม่หันมาสนใจ
หรือถ้าเป็นผู้ใหญ่ อาจเกิดในสถานการณ์ที่ไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง หรือถูกขัดใจ ก็จะแสดงอาการฉุนเฉียว น้อยใจ งอน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจ หากใครมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยเข้า อาจส่งผลต่อบุคคลิกภาพ ดีไม่ดีอาจถูกคนมองว่าเป็นคนไม่รู้จักโตก็ได้
1
- แบบที่สี่ การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) รูปแบบนี้หลายคนน่าจะเคยใช้บ่อย วิธีการของมันคือ ยกเหตุผลนู้นนี่มาอ้าง เรียกได้ว่ายกแม่น้ำทั้งห้ามาสู้เข้าไว้
1
โดยรูปแบบนี้ นักจิตวิทยาแบ่งไว้เป็น 2 ประเภท คือ แบบองุ่นเปรี้ยว ใช้สำหรับอ้างในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ปรารถนา แต่หาเหตุผลมายกว่า จริงๆ มันก็ดีนะ เช่น อยากได้แหวนเพชรแต่แฟนไม่มีตังค์ จึงไปซื้อแหวนทองมาให้แทน พอเป็นอย่างงี้เลยปลอบใจตัวเองว่า จริงๆ แหวนทองก็ดีเหมือนกัน ขายง่ายได้ราคากว่าแหวนเพชรอีก
หรือบางคนอยากเข้าชมรมฟุตบอล แต่เข้าไม่ได้ แต่ไปติดชมรมตะกร้อแทน ก็เลยหาเหตุผลเข้าข้างตนเองว่า ได้อยู่ชมรมตะกร้อก็ดีเหมือนกัน จะได้กระโดดเตะเก่งๆ
เหล่านี้ล่ะครับ ที่เขาเรียกว่าพวกองุ่นเปรี้ยว
1
อีกประเภทคือ มะนาวหวาน กลุ่มนี้จะคล้ายๆ กับข้างบนเลย แต่ต่างกันตรงที่แบบองุ่นเปรี้ยวจะเป็นสถานการณ์พลาดในสิ่งที่ตนเองต้องการ แบบอยากได้สิ่งหนึ่ง แต่ดันมาได้อีกสิ่งหนึ่งแทน
ส่วนกลุ่มมะนาวหวานคือ ต้องเจอในสิ่งที่ไม่อยากได้ ชนิดว่าที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น บางคนแต่งงานมีภรรยาแล้ว แต่อยู่ไปอยู่มาหลังแต่งงาน ภรรยาปล่อยเนื้อปล่อยตัวเปลี่ยนยังกับคนละคน จะเลิกก็ไม่ได้ เลยปลอบใจตัวเองว่า อย่างน้อยเธอก็เป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีนะ
อย่างนี้ถือว่าเข้าตำรากลุ่มมะนาวหวานครับ
- แบบที่ห้า คือ การทำปฏิกริยาตรงข้ามกับความจริง (Reaction Formation) หรือการแกล้งแสดงออกมา ทั้งๆที่ความจริงแล้วไม่ได้รู้สึกแบบนั้น เช่น ทำเป็นไม่สนใจแฟนเก่า แต่ใจจริงอยากจะกลับไปคืนดี หรือทำเป็นแสดงความยินดีกับเพื่อนร่วมงานที่ได้ตำแหน่งใหม่ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้รู้สึกแบบนัั้น แต่ทำไปเพราะไม่อยากโดนด่าโดนตำหนิ
ซึ่งกลไกแบบนี้นะครับ หากใช้มากๆ อาจทำให้บุคคลนั้น กลายเป็นคนมีนิสัยไม่จริงใจไปเลยก็ได้
- แบบที่หก การระบายไปที่อื่น (Displacement) วิธีนี้เป็นการหาสิ่งของหรือคนมาระบายอารมณ์เมื่อเจอสภาวะที่ไม่พอใจ เช่น บางคนทะเลาะกับพ่อแม่แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เลยระบายอารมณ์ด้วยการไปเตะหมาแทน หรือบางคนโดนด่าก็ระบายอารมณ์ด้วยการหาอะไรมาขว้างปา เป็นต้น
- แบบที่เจ็ด การโทษผู้อื่น (Projection) อันนี้ก็ง่ายๆ เลยครับ พอเกิดเรื่องอะไรที่ไม่ดีขึ้น ก็จะสร้างความปลอดภัยทางจิตใจให้กับตนเอง โดยการไปโทษคนอื่นว่าเป็นความผิดของคนนั้น คนนี้ อย่างสุภาษิตที่ว่า รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง นั่นแหละครับ
- แบบที่แปด การชดเชย (Compensation) รูปแบบนี้มักเกิดกับคนที่มีปมด้อยบางอย่าง โดยบุคคลนั้นต้องการลบปมด้อยของตนเอง จึงไปหาอะไรมาชดเชยแทน เช่น เป็นคนเรียนไม่เก่ง เลยไปเอาดีด้านกีฬา
ซึ่งในบรรดากลไกป้องกันตนเองทั้งหมด อันนี้ถือว่าเข้าท่ามากๆ เรียกได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่ตนเอง
- แบบที่เก้า (Withdrawal) การถอยหนี กลไกนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อลดความวิตกกังวล หรือความหวาดกลัว ด้วยการหลีกหนีสถานการณ์ที่ตนเองไม่ต้องการ เพราะไม่อยากเผชิญหน้ากับความกดดัน เช่น เวลาทำงานแล้วถึงตอนพรีเซนต์ แต่ว่าตนเองไม่กล้าพูดต่อหน้าคนเยอะๆ จึงมักหลีกหนีโดยให้เพื่อนพรีเซนต์แทน
2
หรือบางคนทำงานร่วมกับคนอื่น แต่เมื่อถึงเวลาสำคัญกลับไม่กล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง ต้องให้คนอื่นมาช่วยตัดสินใจแทน แบบนี้ก็ถือว่าเข้าข่ายการถอยหนีปัญหาครับ
ซึ่งวิธีนี้ใครที่เป็นบ่อยอาจส่งผลให้เป็นคนที่ไม่กล้าเข้าสังคม ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หากเป็นมากๆ อาจกลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเองไปเลย
1
และทั้งหมดนี้ก็เป็นกลไกป้องกันตัวเอง หรือ Defense Mechanisms ในแบบต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้บ่อยสุดๆ ซึ่งความจริงแล้วยังมีกลไกอื่นๆ อีกเยอะเลยนะครับ แต่ว่ามันค่อนข้างจะซับซ้อนและเราไม่ค่อยได้เห็นเท่าไหร่
อย่างไรก็ตาม กลไกดังกล่าวถือเป็นเรื่องธรรมชาติชองมนุษย์ ดังนั้นหากใครเป็นแบบไหน ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกตินะครับ เพียงแต่ว่าอย่าใช้มันจนบ่อยเกินไป
1
อย่างการปฏิเสธความจริง ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อย บางครั้งมันก็ช่วยให้เราอุ่นใจขึ้นได้ ถือเป็นการปลอบใจตัวเอง แต่ถ้าหากเราปฏิเสธความจริงบ่อยๆ เข้า เดี๋ยวจะได้เป็นผู้ป่วยจิตเวชกันพอดี ดังนั้นควรใช้กลไกบางอย่างแค่เพียงพอดี
และหากเป็นไปได้ การยอมรับความจริงหรือเผชิญหน้าปัญหามันไปตรงๆเลยเนี่ยแหละครับ คือวิธีที่จะทำให้เราเข้มแข็งที่สุด ถึงแม้ว่าช่วงแรกๆ มันอาจเจ็บปวด แต่ในระยะยาวคุณจะรู้สึกสบายใจขึ้นมาจริงๆ
1
มาถึงตรงนี้ใครมีความคิดเห็นอย่างไร สามารถแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างอิสระเลยนะครับ
facebook.com
Đăng nhập hoặc đăng ký để xem
Xem bài viết, ảnh và nội dung khác trên Facebook.
เยี่ยมชม
References
https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_10/pdf/aw16.pdf
34 บันทึก
70
13
57
34
70
13
57
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย