14 มิ.ย. 2020 เวลา 12:30 • ธุรกิจ
ส่องมูลค่าตลาด 'ซีรีส์วาย' เรื่องรัก 'ชายชาย' ที่ได้ใจคนดูทุกเพศ
ตลาดคอนเทนต์ "ซีรีส์วาย" หรือซีรีส์ความรักแบบ "ชายชาย" กำลังจะกลายเป็นตลาดแมสที่สังคมไทยให้การตอบรับมากขึ้น และกำลังจะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญในยุคที่สื่อดิจิทัลแข่งขันกันสูง
รู้หรือไม่? คำว่า "วาย" มีที่มาจากคำว่า “Yaoi” ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงเรื่องรักโรแมนติกระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย (Boy’s Love) มีตั้งแต่ระดับกุ๊กกิ๊ก จับมือใสๆ อบอุ่น ไปจนถึงระดับสมจริง
หากย้อนกลับไปดูความนิยมคอนเทนต์ “ซีรีส์วาย” พบว่ามีจุดเริ่มต้นมาจาก “ประเทศญี่ปุ่น” ก่อนจะขยายไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในไทยเองคอนเทนต์ประเภทความรักสายวายเป็นกระแสที่มีมานานไม่ต่ำกว่า 10 ปี จากการปรากฏขึ้นของศิลปินดาราหรือตัวละครชายในท่าทางใกล้ชิดสนิทสนมกัน ทั้งในละคร ภาพยนตร์ หรือแม้แต่รายการประกวดร้องเพลง จนเกิดเป็นคำว่า “คู่จิ้น” ขึ้นมา
2
พูดได้ว่าตลาดคอนเทนต์ “ซีรีส์วาย” หรือวงการ Boy’s Love กำลังจะกลายเป็นตลาดแมสที่คนไทยทุกเพศทุกวัยเปิดใจตอบรับมากขึ้น และกำลังจะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญในยุคที่สื่อดิจิทัลแข่งขันกันสูง
บทความโดย ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ส่องมูลค่าตลาด 'ซีรีส์วาย' เรื่องรัก 'ชายชาย' ที่ได้ใจคนดูทุกเพศ
นิยาย Boy's Love วงการตั้งต้นของ "สาววาย"
เมื่อกลับมาย้อนดูตลาดตั้งต้นของกลุ่มวายนั้น ต้องบอกว่าแต่เดิมคอนเทนต์วายจะเริ่มจาก นิยายหรือการ์ตูน และดัดแปลงเนื้อเรื่องไปเป็นซีรีส์หรือหนังเป็นลำดับต่อไป สาวกวายเกิน 60% ก็จุดประกายความชอบคอนเทนต์วายมาจากหนังสือและนิยายเช่นเดียวกัน
นิยายวายมีตัวตนในสายตานักอ่านชาวไทยตั้งแต่ 10 ปีก่อน แต่กระแสความมาแรงต้องยกให้ 3-4 ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหนังสือหันมาสนใจนิยายวายกันเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันร้านหนังสือชั้นนำ เช่น ซีเอ็ดบุ๊ค, B2S ก็มีการแบ่งโซนชั้นวางสำหรับหนังสือวายอย่างชัดเจน ส่วนร้านนายอินทร์พบว่ามีหนังสือกลุ่มวายขายรวมกันมากว่า 1,533 เรื่อง
ซีรีส์ ‘วาย’ ความปังที่ฉุดไม่อยู่
ซีรีส์เพศทางเลือกโดยเฉพาะ ‘วงการวาย’ ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปในปี 2020 โดยเฉพาะการกำเนิดคู่จิ้น #หยิ่น-วอร์ #วิน-ไบร์ท ที่ดังไกลในต่างประเทศ และสามารถเจาะกลุ่มชาวจีนได้อย่างอยู่หมัด
สำหรับคนที่ไม่เคยรับชมซีรีส์วาย อาจจะต้องเริ่มทำความเข้าใจก่อนว่าสิ่งนี้คืออะไร? จริงๆ แล้ว ซีรีส์วายก็เป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์รูปแบบหนึ่ง มีการดำเนินเรื่องที่ชวนติดตาม ทำให้ผู้ชมร่วมลุ้นไปกับตัวละคร เช่นเดียวกันกับหนังหรือละครทั่วๆ ไป
มีอะไนในตลาดคอนเทนต์ 'วาย'
ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ค่ายหนังต่างๆ ในประเทศไทยได้ผลิตซีรีส์ Boy's Love stroy ออกมาจำนวนมากถึง 40 เรื่อง โดยมียอดการชมซีรีส์วายในแอพพลิเคชั่น LINE TV ที่สูงเกินกว่า 600 ล้านวิว ซึ่งสวนทางกับละครกระแสหลักที่เรตติ้งน้อยลงกว่า 40% อีกทั้งสามารถต่อยอดธุรกิจอื่นๆ ของไลน์ให้มูลค่าสูงขึ้น เช่น ซีรีส์วายบางเรื่องเมื่อเปิดตัวเพียงช่วงแรก ก็สามารถทำให้ยอดขายสติกเกอร์ไลน์คาแรกเตอร์ตัวละครโตทะลุ 1,000% สูงสุดในรอบ 1 ปี และยอดขายเมโลดี้ในหมวดเพลงจากซีรีส์สูงขึ้น 400% เป็นต้น
ข้อมูลการวิเคราะห์ผู้ชมของ LINE TV ยังบอกอีกว่าในปี 2020 นี้ มีฐานคนดูซีรีส์วายเพิ่มขึ้นถึง 328% และกลุ่มที่มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นอยู่ที่อายุ 65 ปี นั่นหมายความว่ากลุ่มคนผู้สูงอายุก็เริ่มหันมาสนใจซีรีส์วายกันมากขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ
ตลาดคอนเทนต์วาย กลายเป็นตลาดที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น กูรูการตลาดระดับโลกอย่าง Seth Godin เคยกล่าวไว้บนเวที TED ว่า นักการตลาดต้องตามหากลุ่ม Geek หรือคนที่หลงใหลคลั่งไคล้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วสื่อสารกับพวกเขา ถ้ามัน engage กับพวกเขาได้ ก็เท่ากับเข้าถึงกลุ่ม Early adopter ได้ และมันจะถูกบอกต่ออย่างกระตือรือร้นโดยที่แบรนด์ไม่ต้องหว่านเงินเพื่อจับตลาดแมสตั้งแต่แรก สำหรับกลุ่มเกย์ นี่คือผู้บริโภคที่นักการตลาดพยายามเข้าถึงมาโดยตลอด เพราะเป็นกลุ่มที่มี Double income สามารถใช้จ่ายกับตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่มีครอบครัว และหนังวายก็เป็นคอนเทนต์อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้อย่างตรงไปตรงมา
อ่านเรื่องราวของตลาดวายเพิ่มเติมที่
1
โฆษณา