14 มิ.ย. 2020 เวลา 08:32 • ประวัติศาสตร์
ประวัติธงชาติภูฏาน ดินแดนมังกรสายฟ้า
ธงภูฏานที่ใช้ปัจจุบัน
ธงชาติภูฏาน ?? มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวทแยงมุม จากมุมธงด้านปลายธงบนมายังมุมธงด้านต้นธงล่าง ครึ่งบนเป็นพื้นสีเหลือง ครึ่งล่างเป็นพื้นสีส้ม กลางธงระหว่างเส้นทแยงมุมมีรูปมังกรสายฟ้าสีขาวหรือดรุก หันหน้าไปทางด้านปลายธง ต้นแบบของธงนี้เริ่มใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นธงรูปแบบปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512
ธงภูฏานในอดีต ปีพ.ศ. 2492 – 2499
ความหมายของธงชาติของภูฏานคือ
สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง พระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเสื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
ธงภูฏานในปี พ.ศ. 2499 – 2512
...มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซองคา ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ แสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศนี้ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น สื่อถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
#Bhutan #ภูฏาน #ภูฏานพานพบสุข
เรียบเรียงโดย ภูฏานพานพบสุข
โฆษณา