14 มิ.ย. 2020 เวลา 13:22 • ธุรกิจ
Jeff Bezos มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก กำลังเจอกับความท้าทายครั้งใหม่ หลังหน่วยงานของสหภาพยุโรปยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อ Amazon
Jeff Bezos CEOและผู้ก่อตั้ง Amazon
Jeff Bezos ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon ผู้อยู่จุดสูงสุดในความมั่งคั่งในปัจจุบัน กำลังเจอความท้าทายครั้งใหม่ หลังหน่วยงานควบคุมการต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรปวางแผนที่จะยื่นเรื่องร้องเรียนอย่างเป็นทางการกับ Amazon ในเรื่องที่ปฏิบัติต่อผู้ขายบุคคลที่สาม
The Wall Street Journal รายงานเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาว่า เจ้าหน้าที่ควบคุมการต่อต้านการผูกขาดทั่วโลก วางแผนที่จะยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อ Amazon
พื้นที่ E-commerce ทั่วโลก
อธิบายโมเดลของ Amazon พอสังเขป
Amazon มีโมเดลใหญ่ในธุรกิจ E-commerce 2แบบ
แบบแรก จำหน่ายผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ในฐานะผู้ค้าปลีก
แบบสอง เป็นตลาดกลางที่ผู้ขายอิสระสามารถขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง
โดยเมื่อ Amazon ให้ตลาดแก่ผู้ขายอิสระ
Amazon จะมีการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งาน
เกี่ยวกับกิจกรรมการใช้งานบนแพลตฟอร์ม
ดูว่าผู้ใช้งานจะค้นหาและชื่นชอบอะไร
จากการตรวจสอบของหน่วยงานในสหภาพยุโรปพบว่า
Amazon กำลังใช้ข้อได้เปรียบตรงนี้มาทำการผูกขาดในยุโรป ดูเหมือนว่า Amazon จะใช้ข้อได้เปรียบตรงนี้มาแข่งขันกันเองกับผู้ขายอิสระในตลาด
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เมื่อในตลาดอิสระมีการขายกางเกงยีนส์แบรนด์A เมื่อของแบรนด์Aหมด ของก็ขาดตลาด ทำให้ Amazon ใช้ข้อได้เปรียบตรงนี้มาผลิตสิ่งที่เหมือน
แบรด์ Aกำลังจะทำ และมาแข่งขันกับแบรด์A
นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Amazon ถูกกล่าวหาที่ใช้ตำแหน่งในฐานะผู้ประกอบการตลาดเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเอง
เมื่อต้นปีมีรายงานว่าพนักงานของ Amazon จะใช้ข้อมูลการขายจากผู้ขายอิสระในตลาดเพื่อช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Amazon นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแม้ บริษัท จะมีกฎเกณฑ์ที่เป็นข้อห้ามก็ตาม
Margrethe Vestager
หัวหน้ากรรมการการต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป Margrethe Vestager กล่าวว่า
“ผู้บริโภคชาวยุโรปกำลังช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น
E-commerce ได้กระตุ้นการแข่งขันค้าปลีกและนำเสนอทางเลือกมากขึ้นและราคาที่ดีขึ้นเราต้องมั่นใจว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่จะไม่ขจัดผลประโยชน์เหล่านี้ พฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันดังนั้นฉันจึงตัดสินใจที่จะมองอย่างใกล้ชิดถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของ Amazon และบทบาทที่สองในฐานะตลาดและผู้ค้าปลีกเพื่อประเมินการปฏิบัติตามกฎการแข่งขันของสหภาพยุโรป”
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการในปีหน้า
ว่า Amazon ทำผิดหรือไม่ ถึงแม้ว่า Amazon จะต่อสู้ในชั้นศาลแต่ในที่สุดก็จะถูกปรับได้มากถึง 10%ของรายได้ต่อปี
ประมาณ 3หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 9 แสนล้านบาท
ดูเหมือนว่าจะคล้ายๆกับข่าวฉาวของ Facebook ในปี 2018
ที่เอาข้อมูลของผู้ใช้งานมาหาประโยชน์ให้กับตัวเอง
เรื่องนี้คงจะทำให้ภาพลักษณ์ของ Amazon เสียหายลงเล็กน้อย แต่ผมมองว่าความท้าทายครั้งนี้ ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับความมั่งคั่งของ Bezos เลย
คงไม่ต้องแปลกใจที่บริษัทใหญ่ๆ จะรู้ใจผู้บริโภคก็เพราะเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานมากนั้นเอง
หากผู้อ่านชื่นชอบบทความ อย่าลืม กด like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจดีๆสำหรับผู้เขียนด้วยนะครับ สามารถ Comments แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เลย
References
โฆษณา