14 มิ.ย. 2020 เวลา 15:02 • ประวัติศาสตร์
ประวัติการฟ้อนรำภูไทสกลนคร
เริ่มมีมาตั้งเเต่สมัยที่เริ่มสร้างองค์พระธาตุเชิงชุม
ซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครทุก
ชนเผ่า มีดังต่อไปนี้
6 ชนเผ่าในสกลนคร
1. ชนเผ่าไทญ้อ
2. ชนเผ่าภูไท
3. ชนเผ่าไทโย้ย
4. ชนเผ่าไทกะโส้
5. ชนเผ่าไทกะเลิง
6. ชนเผ่าไทลาว
ส่วนตัวผมเองครับเจเป็นลูกครึ่งไทญ้อและไทลาวครับถือโอกาสแนะนำตัวเองไปด้วย..ขอบคุณครับ
คำขวัญประจำจังหวัดสกลนคร
พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง
งามลือเลื่องหนองหาน แลตระการปราสาทผึ้ง
สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
ขอบคุณภาพจาก Google
แต่เดิมเป็นการฟ้อนรำของผู้ชายเพื่อบูชาพระธาตุ
ในเทศกาลสักการะองค์พระธาตุ แต่ภายหลังก็ได้เปลี่ยนผู้ฟ้อนรำมาเป็นผู้หญิงทั้งหมด
ขอบคุณภาพจาก Google
ที่มาของคำว่าสวยสุดซึ้งสาวภูไท
ขอบคุณภาพจาก Google
ขอบคุณภาพจาก Google
ขอบคุณภาพจาก Google
เพราะท่วงท่าและลีลาการฟ้อนรำจะดูสวยงามและอ่อนหวานมากกว่า และการแต่งกายของผู้ฟ้อนจะแต่งกายแบบสตรีชาวภูไท สกลนคร
ขอบคุณภาพจาก Google
ในปัจจุบันการฟ้อนภูไทนอกจากเป็นการฟ้อนเพื่อ
บูชาพระธาตุเชิงชุมแล้ว หรือบ้างก็นำมาฟ้อนบูชา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่ชาวสกลนครเคารพและบูชา
ขอบคุณภาพจาก Google
เช่น พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหศักดิ์ ของชาววาริชภูมิก็ได้นำมาใช้ในการฟ้อนต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและในงานเทศกาลต่างๆอีกด้วยครับ
ขอบคุณภาพจาก Pinterest
ขอบคุณภาพจาก Pinterest
ขอจบรายงานแต่เพียงเท่านี้น่ะครับตามจริงข้อมูล
และประวัติยังมีอีกมากมาย แต่ผมไม่ค่อยถนัดใน
การเขียนด้านนี้สักเท่าไหร่ครับแต่ก็ตั้งใจเขียนทุก
บทความด้วยใจจริงที่สุดแล้ว.. ขอบคุณครับ
จาก เจ หนุ่มสกลคนอิสระ
โฆษณา